admin

สรุปประเด็นงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

วันที่ 11 ตุลาคม 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) และ iLaw จัดงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน” โดยสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เผยแพร่คำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่มีประเด็นหลักพูดถึงความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของผู้พิพากษา การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยกฎหมายพิเศษด้วย

แถลงการณ์ ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลจังหวัดยะลา อ้างว่า ถูกแทรกแซงความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี  

ตามที่ปรากฏข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ว่า นายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลจังหวัดยะลา ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองในห้องพิจารณาคดี บัลลังก์ 4  ศาลจังหวัดยะลา ภายหลังจากที่อ่านคำพิพากษายกฟ้องคดีหนึ่ง ต่อมาปรากฏแถลงการณ์ในสำนวนคดีอาญาหมายเลขคดีดำที่ 3428/2561  ศาลจังหวัดยะลา

กรณีนายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องหมิ่นประมาท

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 2 คดี ณ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากการตรวจสอบและปกป้องพื้นที่สาธารณะ “ดอนคำพวง” และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนปากมูลที่เรื้อรังมานาน คดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,หมิ่นประมาท และคดีที่สองเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 99/2562 ในข้อหาหมิ่นประมาท

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีฆ่าน้องแอปเปิ้ล นายโม่ ซิน อ่าว และนายจอ โซ วินพ้นผิด

กรณีนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือ น้องแอปเปิ้ลถูกฆาตกรรม โดยแรงงานชาวเมียนมาร์ 4 คนถูกดำเนินคดี ตกเป็นผู้ต้องสงสัยฆ่าน้องแอปเปิ้ล โดยเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีดังกล่าว

โอบกอดมึนอร่วมใจส่งพอละจี

การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก การที่บิลลี่ แกนนำชาวบ้านที่เรียกร้องเพื่อสิทธิชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
ควบคุมตัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้แถลงความคืบหน้าคดีนายพอละจี รักจงเจริญ พบว่าเสียชีวิตแล้ว โดยพบชิ้นส่วนกระดูกถูกเผา และถ่วงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิต และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้

การฟ้องปิดปากทางอาญา สร้างทั้งภาระให้จำเลย และยังใช้ทรัพยากรของรัฐไปโดยสิ้นเปลือง

หากติดตามกรณีการใช้ กฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีต่อผู้ที่ใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมสาธารณะ โดยการเเสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์หรือร้องเรียน ฯลฯ จะพบว่าผู้ที่มักตกเป็นเป้าหมายของการถูกดำเนินคดีจะพบว่ามีทั้งกลุ่มที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรเเละการช่วยเหลือทางคดีได้ เช่น กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง นักพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน นักวิชาการ กับ กลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรค่อนข้างลำบาก เช่น กลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านโครงการพัฒนาต่างๆ กลุ่มผู้ถูกละเมิดหรือญาติที่เรียกร้องความเป็นธรรม เป็นต้น

เมื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะผ่านช่องทางรัฐมีปัญหา ประชาชนจึงออกมาร้องเรียนผ่านโลกออนไลน์

ปัจจุบันจะพบว่าพื้นที่สนทนาหลักของสังคมกลายเป็นการสื่อสารกันผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งในพื้นที่ออนไลน์นี้ไม่ได้เต็มไปด้วยข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการร้องเรียน กรณีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ หรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของเอกชนที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการสื่อสารเท่านั้นจริงหรือ?

ฝันสุดท้ายของปู่คออี้และบิลลี่คือการต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินเกิด : งานเสวนาฆาตกรรมอำพรางบิลลี่ ใครต้องรับผิดชอบ

จากวันที่ 17 เมษายน 2557 วันที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ภายหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลำขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น ควบคุมตัวเนื่องจากมีน้ำผึ้งป่า 6 ขวดไว้ในครอบครอง และอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วนั้น แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเจอหรือทราบชะตากรรมบิลลี่ตั้งแต่วันนั้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เหตุการณ์ของกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นกรณีการฆาตกรรมบิลลี่

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง 2 จำเลยแรงงานชาวเมียนมาไร้ความผิด ปมฆ่านางสาวอรวี สำเภอทอง หรือ น้องแอปเปิ้ล

คดีนี้สืบเนื่องจากกรณีแรงงานชาวเมียนมา 4 คนคือ นายโมซินอ่าว นายไซกะเดา นายจอโซวิน และนายซอเล ตกเป็นจำเลย ถูกอ้างว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือ น้องแอปเปิ้ล
กรณีนี้ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจากมีจำเลย 2 คนมีฐานะเป็นเยาวชนอยู่ โดยแบ่งเป็นคดีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 จำเลยคือ นายโมซินอ่าว และนายจอโซวิน และคดีศาลจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 115/2559 จำเลยคือนายเมาเซ้น หรือเซกะดอ และนายซอเล

เพราะการมองเห็นชีวิตผู้คนทำให้ทำคดีสิทธิ : ทนายแป๋ม (ทนายคดีบิลลี่)

เปิดบทสัมภาษณ์เส้นทางการทำงานในวงการสิทธิของทนายวราภรณ์ อุทัยรังษี หรือ ทนายแป๋ม เส้นทางและมุมมองกว่าจะมาเป็นทนายความที่ให้ความช่วยเหลือคดีการหายตัวไปของบิลลี่ รวมถึงคดีเผาไล่รื้อบ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่แก่งกระจาน

1 10 11 12 13 14 32