Uncategorized

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีฆ่าน้องแอปเปิ้ล นายโม่ ซิน อ่าว และนายจอ โซ วินพ้นผิด

กรณีนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือ น้องแอปเปิ้ลถูกฆาตกรรม โดยแรงงานชาวเมียนมาร์ 4 คนถูกดำเนินคดี ตกเป็นผู้ต้องสงสัยฆ่าน้องแอปเปิ้ล โดยเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีดังกล่าว

ประชาสัมพันธ์งาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย”

“คดี SLAPPs คือการดำเนินคดีที่มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุด ลงโทษ หรือการต่อต้านการใช้สิทธิทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการพูด การร้องเรียน เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ในการชุมนุม (freedom of assembly) และการสมาคม (freedom of association) เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้มุ่งเอาชนะ แต่มุ่งลดทอนทรัพยากร และข่มขู่ให้ผู้ถูกฟ้องยอมยุติบทบาท …” — ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย” ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-14.00 น. ณ สํานักกลางนักเรียนคริสเตียน #กำหนดการ 10.00-10.30 น. ลงทะเบียน 10.30-10.45 น. กล่าวเปิดงาน โดยไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 10.45-12.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและผลกระทบที่ได้รับเกี่ยวกับการตกเป็นเป้าหมายในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (การฟ้องคดีปิดปาก) ร่วมเสวนาโดย – ชลธิชา […]

นัดไต่สวนมูลฟ้องคดีนักข่าว Voice TV ถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท ปมแรงงานฟาร์มไก่ 14 คน

วันที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดลพบุรีคดีที่ 14 แล้ว ที่บริษัท ธรรมเกษตร ฟ้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบอกเล่า หรือพูดถึงกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานต่อแรงงานชาวพม่า 14 คนที่ทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในฟาร์มไก่ของบริษัท ธรรมเกษตร โดยในปัจจุบัน บริษัท ธรรมเกษตร ได้ฟ้องคดีไปแล้วทั้งหมด 17 คดี โดยฟ้องคดีทั้งต่อตัวแรงงานเอง นักวิชาการที่แชร์หรือโพสต์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว หรือแม้กระทั่งนักเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชนด้วย

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

  สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด   คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

ใบแจ้งข่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในคดีลอบสังหาร นายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค8 ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย ในคดีลอบสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ และยกคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมเนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก จากพยานหลักฐานและการนำสืบดังกล่าวจึงไม่ส่ามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค8 ได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในเรื่องของประจักษ์พยานรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย และจากนั้นเดินไปขึ้นท้ายรถจักรยานยนต์ของคนร้ายอีกคนเพื่อหลบหนี […]

คำพิพากษาคดีชุมชนบ้านแม่อมกิ ภาพสะท้อนความขัดแย้งทางนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายที่ปลายเหตุ โดย จิระ ณ จันทร์

นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล ประชาชนในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ชาวปกาเกอญอถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ข้อหาร่วมกันยึดถือ ครอบครองที่ดิน ตัด โค่น ก่นสร้างแผ้วถางป่า ทำประโยชน์ในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติฯ และพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1770/2551 และ 1771/2551 ต่อศาลจังหวัดแม่สอด ในศาลชั้นต้นคดีดังกล่าวจำเลยรับสารภาพ คดีจึงไม่มีการสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ลงโทษจำคุก 1 ปีโดยไม่รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาว่ากระบวนพิจารณาคดีไม่ชอบ เนื่องจากจำเลยไม่มีทนายความและล่ามไม่ได้สาบานตัว ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ ภายหลังการสืบพยานโจทก์และจำเลยคดีนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา เมื่อวันที่ 18 และ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1737/2551 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 โดยคำพิพากษาได้อ้างเหตุการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 […]