กองทุนยุติธรรม

บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะกองทุนยุติธรรม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน อาศัยการมีส่วนร่วมตาม มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้รวบรวมประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล เผยแพร่ต่อสาธารณะ ตลอดจนนำไปสู่การจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดของกองทุนยุติธรรม

จากองค์ประกอบโครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ของกองทุนยุติธรรม ไม่ได้ยึดโยงภาคประชาชนทำให้มุมมองการพิจารณาถึงที่มาปัญหาการที่ชาวบ้านต้องถูกฟ้องคดี จนนำมาสู่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมนั้น ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

สิทธิที่จะเลือกทนายความของผู้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม

จากกรณีในทางปฏิบัติที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ไม่สามารถเลือกทนายความ หรือเมื่อใช้ทนายความที่ตนหามาเองแล้วไม่สามารถที่จะรับค่าจ้างจากกองทุนยุติธรรมได้ เนื่องจากผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องใช้ทนายความที่ขึ้นบัญชีไว้กับสำนักงานกองทุนยุติธรรม ทั้งที่โดยหลักการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่อยู่ในฐานะผู้ขอรับความช่วยเหลือสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพได้นั้น สิทธิในการเลือกทนายความได้ จึงควรเป็นหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงสำหรับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

การ “ทบทวน” คำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม

การทบทวนคำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ขอรับความช่วยเหลือได้ เนื่องจากเป็นการทบทวนโดยคณะอนุกรรมการชุดเดิม ซึ่งได้มีคำสั่งไม่อนุมัติไปก่อนหน้านั้นแล้ว

การตีความ “ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม”

การตีความ ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

การใช้ดุลพินิจของคณอนุกรรมการ ตัดสินความถูกผิดการกระทำของ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ”

การใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการในการพิจารณาไปถึงความถูกผิดการกระทำของ ผู้ขอรับความช่วยเหลือ เป็นการพิจารณาที่มีลักษณะซ้อนกับหลักเกณฑ์ที่ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน จะต้องวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่แล้ว

อุปสรรคการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

การบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 ปรากฏมีประเด็นและอุปสรรคในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ”

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดของโลก และปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนอย่างดีที่สุด ทางด้านประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อกำหนดในการจำกัดพื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ และล่าสุดมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00- 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ หรือถ้าหากในพื้นที่ใดมีมาตรการที่มากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จากมาตรการทั้งหมดที่ได้นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้เกิดการตัดตอนการระบาดของโรคจากการที่ประชาชนพบปะกันน้อยลง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน […]

การใช้ดุลพินิจในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีลักษณะตัดสินการกระทำของผู้ขอรับความช่วยเหลือ ว่ามีความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด

การใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการ ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ซึ่งออกตามมาตรา 18 (2) มาตรา 26 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 ข้อ 11