ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ทางกลับบ้าน

ในช่วงเย็นย่ำของวันหนึ่ง พอรถขับเข้ามาสู่เขตโป่งลึก-บางกลอย ป่าที่เป็นสีเหลืองแห้งแล้ง แปรเปลี่ยนเป็นป่าที่เขียวชอุ่ม ทั้งสองข้างทางมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นเรียงราย เราใช้เวลาขับรถมาที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษๆ และหายเหนื่อยล้าในทันทีเมื่อได้เห็นความงดงามของผืนป่าแห่งนี้ เราแวะจอดข้างทางเพื่อพักชมบรรยากาศรอบกาย ถ้ามองจากทางที่มาถึงทำให้เห็นสะพาน สะพานที่เป็นจุดที่มองแล้วทำให้นึกถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาคือ “บิลลี่” พอละจี รักจงเจริญ “ชายคนหนึ่งที่รักบ้านเกิดของเขาเหนือสิ่งอื่นใด ชายผู้ซึ่งพลีกายใจทำงานเพื่อมวลชน เพียงแค่เขาต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่บ้านของเขา ผืนป่าของเขา พี่น้องของเขา แต่เขากลับต้องมาตายด้วยน้ำมือปีศาจ มันคุ้มค่าแล้วหรือ”

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]

หนังสือ แม่อมกิ : ชีวิตแห่งผืนป่ากับมายาคติในกระบวนการยุติธรรม

[pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiDraft3.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (ภาษาไทย) [pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiEng.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (English Version) หนังสือแม่อมกิ บอกเล่าเรื่องราวของชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ 2 คน  คือ นายดิ๊แปะโพ (ไม่มีนามสกุล) กับนางหน่อแฮหมุ่ย เวียงวิชชา  ซึ่งถูกเจ้าพนักงานป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.14(แม่เงา) เข้าจับกุมขณะกำลังทำไร่ ต่อมาทั้งสองได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยการยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ตัด โค่น ก่อสร้าง แผ้วถางต้นไม้ เผาป่า ป่าท่าสองยาง (ห้วยแม่คาซึ่งจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธาร) ซึ่งอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการตัดฟันต้นไม้ เผาป่า ปรับพื้นที่ แล้วยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเอง ชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำเงาอย่างน้อยสองอำเภอในสองจังหวัด ล้วนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่กันมาเป็นชุมชนดั้งเดิม มีจารีตประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวบ้านกว่า 95 เปอร์เซ็นในลุ่มแม่น้ำแห่งนี้  ดำรงชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียน และพึ่งพาอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะการเก็บหาของป่ามาเป็นอาหาร นำไม้และใบไม้จากป่ามาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

12 มิถุนายนนี้ ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน

ภาพ : กลุ่มดินสอสี พรุ่งนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลา 10.30 น. ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559 ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านเรือนและรื้อทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับพวกรวม 6 คน ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ […]

“บ้าน” ในความเชื่อและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดย ดร.ชยันต์ วรรณธนภูติ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  ตอนที่สอง ปาฐกถา […]

บ้านในมุมมองของกะเหรี่ยง : เก็บความเวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย”

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  […]

เสียงจากพื้นที่ : จากปู่คออี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  […]

ปาฐกถา ความสำคัญของ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ….” โดย รศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป โปรดดู ตอนแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ […]

คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ครบ 4 ปีที่บิลลี่หายตัวไป และ 7 ปีที่ปู่คออี้ และชุมชนกะเหรี่ยงได้หายจากพื้นที่ “ใจแผ่นดิน” ทั้งบุคคลและชุมชนสูญหายไปในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน ที่เรามาคุยกันในวันนี้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่หายไป จริงๆแล้วไม่ได้หาย  สิ่งนี้ยังอยู่ในความทรงจำของเรา  ยังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเรา  และยังอยู่ในปรากฎการณ์จริงของสังคมไทย ไม่ว่าจะ 7 ปีกรณีชุมชนกะเหรี่ยงถูกเผาก็ดี หรือ 4 ปีกรณีที่บิลลี่ถูกทำให้หายตัวไปก็ดี เราจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองกรณีนี้ได้อย่างไร ปู่คออี้และบิลลี่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม ซึ่งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” มาเนิ่นนานแล้ว เรามีแผนที่บ้านใจแผ่นดิน เป็นแผนที่ที่พิมพ์เมื่อปี 2503 เอามาจากต้นฉบับเดิมปี 2484 มีการสำรวจโดยกรมแผนที่ทหารบกในปี 2455 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว นอกจากแผนที่ฉบับนี้ แผนที่ฉบับหลังจากนั้นก็ปรากฏชุมชนใจแผ่นดินตลอดมาในทุกแผนที่ของรัฐ ชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ได้ถูกเผา ได้ถูกทำให้หายไปจากแผนที่ ผมเองได้มีโอกาสร่วมกับกรณีนี้เมื่อปี 2554 จากกรณีที่มีการเผาชุมชนของชาวกะเหรี่ยงบริเวณบ้านใจแผ่นดิน หรือว่าบ้านบางกลอยบน หลังจากเรา (สภาทนายความ) ได้ทราบเรื่องและได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เราก็ได้มีการลงพื้นที่ ครั้งนั้นมีอาจารย์ทัศน์กมล โอบอ้อม เป็นผู้ประสานงานพาปู่คออี้ พาบิลลี่และชาวบ้านมาพบกับเรา ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้อยู่มาเนินนานอย่างไรบ้าง มีการเผาบ้านชาวบ้านอย่างไรบ้าง และภาพที่สื่อมวลชนนนำเสนอไปว่าเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของฮีโร่ ที่ได้ทำลายชนกลุ่มน้อย […]

1 2 3