บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ

เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่

#9ปีบิลลี่ยังไม่ได้กลับบ้าน เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่ 21 เม.ย. 2566 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ไก่ – เกรียงไกร ชีช่วง” ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพี่น้องชาวบางกลอยและตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลัด ทส. มีคำสั่งให้ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อีก 3 นาย ออกจากราชการชั่วคราวไว้ก่อน ภายหลังทั้งสี่ถูกพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาฆาตกรรม “บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอุ้มหาย เมื่อ 9 ปีก่อน ซึ่งศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 24 เม.ย. 2566 นี้ เวลา 13.30 น. บริเวณหน้าทางเข้าอาคารกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังตกอยู่ภายใต้ความเงียบเหงา ท่ามกลางแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัด มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสื่อมวลชนบางส่วนเท่านั้นที่มารอคอยทำข่าว จนกระทั่งไก่นำขบวนพี่น้องชาวบ้านบางกลอยเดินขบวนถือป้ายแสดงข้อความที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม รอยยิ้มสดใสและมีความหวังของไก่ทำให้บรรยากาศภายในบริเวณนั้นกลับมาครึกครื้นในทันที […]

เปิดเนื้อหา : หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด กรณีฆาตกรรมบิลลี่

จากกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จากเหตุการณ์ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ หายตัวไปเป็นเวลากว่า 6 ปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกบริเวณกะโหลกของบิลลี่ ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากคดีคนหาย กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมซึ่งรอให้มีการสะสาง และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนในคดีฆาตกรรมบิลลี่ โดยนายวรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือขอความเป็นธรรม ผู้ร้องเห็นว่า การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ดุลพินิจอ้างเหตุผลเช่นนี้ว่าไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าผู้ใดกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตด้วยวิธีการอย่างใดมาใช้เป็นหลักในการพิจารณามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีจะยิ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอิทธิพลกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสามารถทำลายพยานหลักฐานที่จะบ่งชี้ถึงตัวบุคคลผู้กระทำความผิดก็จะกลายเป็นการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม   ภายในหนังสือขอความเป็นธรรมจึงมีประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการน่าจะได้ทบทวนและวินิจฉัยใหม่ ดังนี้ 1.พยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนรับฟังได้หรือไม่ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่และมีการปล่อยตัวไปตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง พยานหลักฐานที่ปรากฎพบว่า ได้ว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวบิลลี่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจริง ปัญหามีว่าการควบคุมตัวดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอย่างไร ผู้ต้องหาอ้างว่า ได้มีการปล่อยตัวบิลลี่ไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีประจักษ์พยานอ้างว่ารู้เห็นการปล่อยตัว […]

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

ฝันสุดท้ายของปู่คออี้และบิลลี่คือการต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินเกิด : งานเสวนาฆาตกรรมอำพรางบิลลี่ ใครต้องรับผิดชอบ

จากวันที่ 17 เมษายน 2557 วันที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ภายหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลำขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น ควบคุมตัวเนื่องจากมีน้ำผึ้งป่า 6 ขวดไว้ในครอบครอง และอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วนั้น แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเจอหรือทราบชะตากรรมบิลลี่ตั้งแต่วันนั้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เหตุการณ์ของกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นกรณีการฆาตกรรมบิลลี่

เพราะการมองเห็นชีวิตผู้คนทำให้ทำคดีสิทธิ : ทนายแป๋ม (ทนายคดีบิลลี่)

เปิดบทสัมภาษณ์เส้นทางการทำงานในวงการสิทธิของทนายวราภรณ์ อุทัยรังษี หรือ ทนายแป๋ม เส้นทางและมุมมองกว่าจะมาเป็นทนายความที่ให้ความช่วยเหลือคดีการหายตัวไปของบิลลี่ รวมถึงคดีเผาไล่รื้อบ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่แก่งกระจาน

เปิดคำพิพากษาการดำเนินคดีมาตรา 90 ขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ออกจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ

สืบเนื่องจากกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เนื่องจากมีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองเป็นจำนวน 6 ขวด และหลังจากวันนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นบิลลี่อีกเลย

ดีเอสไอแถลงพบเบาะแสบิลลี่เสียชีวิต หลังจากหายตัวไปกว่า 5 ปี

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงว่าพบถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ที่ในถังมีชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ บริเวณใกล้สะพานแขวน ซึ่งคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของบิลลี่

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

บ้านในมุมมองของกะเหรี่ยง : เก็บความเวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย”

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  […]

1 2 3