จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึก
ขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน

(English below)

          สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ

          หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้ร้องขอให้ศาลส่งตัวเขากลับประเทศบาห์เรนตามคำขอของประเทศบาห์เรน ซึ่งนายฮาคีมได้คัดค้านคำร้องดังกล่าว โดยทีมทนายความของเขาได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำคัดค้านออกไป 60 วัน ในการเบิกตัวเขามาศาล ปรากฏภาพตามสื่อมวลชนว่าเขาได้ถูกพันธนาการด้วยการใส่เครื่องพันธนาการที่เท้า ซึ่งเข้าข่ายเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นอาชญากรร้ายแรง เป็นเพียงผู้ลี้ภัยและไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ในประเทศไทย

          องค์กรที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ เห็นว่า
          1. ทางการไทยควรพิจารณาไม่ส่งตัวนายฮาคีมกลับไปยังประเทศบาห์เรน มีเหตุผลทางกฎหมาย และหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างน้อย 2 ประการ คือ
            1.1 ตามหลักทั่วไปในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ของไทย กำหนดไว้ชัดเจนว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนต้องมิใช่ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง เมื่อปรากฏว่ากรณีนี้ นายฮาคีมถูกดำเนินคดีในประเทศบาห์เรนท์อันเป็นผลมาจากข้อกล่าวหาที่เกี่ยวพันธ์กับการเคลื่อนไหวคัดค้าน หรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลบาห์เรน แม้เขาจะถูกกล่าวหาในความผิดฐานอื่นด้วย แต่ข้อหาดังกล่าวก็เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง ดังนั้น ย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งตัวเขาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามคำขอของรัฐบาลบาห์เรนได้
           1.2 ประเทศไทยผูกพันตามหลักการห้ามผลักดันกลับ (Non-Refoulement) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญ ทั้งในกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เรียกร้องให้ไม่ส่งกลับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและต้องไม่ขับไล่หรือผลักดันกลับออกไป หรือส่งบุคคลไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตราย มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงว่าจะถูกประหัตประหาร ถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติที่โหดร้าย หรือถูกคุกคาม เอาชีวิต รวมทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ยังห้ามไม่ให้รัฐบาลส่งบุคคลกลับ หรือส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศใดๆ กรณีมีเหตุอันน่าเชื่อถือว่าบุคคลนั้นจะได้รับอันตรายจากการทรมาน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่านายฮาคีมเคยถูกซ้อมทรมานและถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมในประเทศบาห์เรนมาแล้ว จึงมีเหตุอันควรเชื่อหรือความเสี่ยงที่หากเขาถูกส่งตัวกลับไป อาจจะถูกซ้อมทรมานหรือปฏิบัติที่โหดร้ายเช่นเดิมได้
          2. การให้ความคุ้มครองตามหลักประกันการพิจารณาคดีอย่างเป็นแก่นายฮาคีม ในระหว่างรอการนัดพิจารณาคำร้องขอส่งตัวนายฮาคีมตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายน 2562 นี้ อย่างน้อยกระบวนการยุติธรรมไทยก็ควรเคารพและคุ้มครองสิทธิของเขาในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ปฏิบัติต่อเขาเสมือนเป็นผู้กระทำความผิด อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ซึ่งถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 และ 14 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29

องค์กรที่มารายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

          1. เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีเพิ่มขึ้นแก่นายฮาคีมและเป็นการคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการสันนิฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ของเขา ควรมีการพิจารณาเรื่องการปล่อยชั่วคราวของเขาในระหว่างรอการพิจารณา หรือควบคุมตัวในรูปแบบอื่นที่มีผลกระทบน้อยกว่า
          2. ปัจจุบันกรณีของนายฮาคีมจะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน องค์กรในกระบวนการยุติธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพนักงานอัยการซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล อาจจะพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ถอนฟ้องคดีเพราะจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ และองค์กรตุลาการ ควรพิจารณาคดีโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการไม่ส่งกลับ เพราะกรณีนี้มีหลักฐานที่ระบุได้ว่าเป็นการขอส่งตัวกลับในความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองและเสี่ยงที่ผู้ถูกส่งตัวกลับจะเผชิญกับอันตรายดังที่เคยได้รับ
          3. รัฐบาลไทยต้องไม่ดำเนินการหรือสนับสนุนการส่งกลับนายฮาคีมไปเผชิญอันตรายยังประเทศผู้ร้องขอ และปล่อยให้เดินทางกลับไปยังประเทศออสเตรเลีย

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชน
           7 กุมภาพันธ์ 2562

  1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  3. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
  4. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  5. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  6. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  7. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
  8. มูลนิธิอุ่นรักษ์เพื่อพัฒนาเด็ก
  9. มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา
  10. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
  11. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
  12. เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
  13. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง (กสรก.)
  14. ตั้งใจธรรมสำนักงานกฎหมาย
  15. กลุ่มด้วยใจ
  16. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
  17. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
  18. นายรัษฎา มนูรัษฎา                ทนายความ
  19. นายสุรชัย ตรงงาม                  ทนายความ
  20. นางสาวคอรีเยาะ มานุแช         ทนายความ
  21. นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า       ทนายความ
  22. นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์       ทนายความ
  23. นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ      ทนายความ
  24. นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม       ทนายความ
  25. นายพนม บุตะเขียว                ทนายความ
  26. นายทิตศาสตร์ สุดแสน           ทนายความ
  27. นายกฤษดา ขุนณรงค์             ทนายความ
  28. นางสาววราภรณ์  อุทัยรังษี      ทนายความ
  29. นายมนตรี อัจฉริยสกุลชัย        ทนายความ
  30. นางสาวพิชญุตา ธนพิทชัย       ทนายความ
  31. นางสาวคุณัญญา สองสมุทร     ทนายความ
  32. นายอานนท์ นำภา                  ทนายความ 
  33. นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี                ทนายความ
  34. นายพิชัย นวลนภาศรี               ทนายความ
  35. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว           ทนายความ
  36. นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์       ทนายความ
  37. นางสาวอุบลวรรณ บุญรัตนสมัย  นักกฎหมาย
  38. นางสาวอัญญาณี ไชยชมพู        นักกฎหมาย
  39. นายสนธยา โคตปัญญา            นักกฎหมาย
  40. นายบัณฑิต หอมเกษ                นักกฎหมาย
  41. นายปภพ เสียมหาญ                 นักกฎหมาย
  42. นางสาวภัทรานิษฐ์ เยาดำ          นักกฎหมาย
  43. นางสาวอิศสิยาภรณ์ อินทพันธุ์   นักกฎหมาย
  44. นางสาวนิจ​นิรันดร์​ อ​วะ​ภาค​        อาจารย์​คณะนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​ทักษิณ​
  45. นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์     นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  46. นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ         นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  47. นางสาวหทัยกานต์ เรณูมาศ     นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  48. นางสาวธนพร วิจันทร์              นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  49. นางสาววิภาวรรณ คูณทวีลาภผล นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  50. นางสาวกรกนก คำตา             นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  51. นายบดินทร์ สายแสง              สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  52. อาจารย์ ดร. ดำเกิง โถทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  53. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา       
  54. นายสาคร สงมา
  55. นางไพรัตน์ จันทร์ทอง
  56. นายณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช
  57. นายประพจน์ ศรีเทศ
  58. นางสาวเบญจพร บัวสำลี
  59. นางสาวยูฮานี เจ๊ะกา
  60. นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ 

 

An open letter
Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

           The Thai authorities have held in custody Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali AlAraibi, a former footballer of Bahraini national team since 27 November 2018 upon his arrival with his wife for holidays in Thailand. The authorities claimed the arrest had been triggered by the INTERPOL’s Red Notice at the request of the Bahraini authorities. The Red Notice has since been rescinded, however, since it had been issued in breach of the INTERPOL’s policy which prohibits the issuance of Red Notice for refugees who have been wanted by a government and have fled from persecution from the requesting country.

          After the arrest, Mr. Hakeen has been kept incarcerated at the Bangkok Remand Prison per the order of the Criminal Court since 11 December 2561 until now. On 4 February 2019, he was brought to the Criminal Court and was asked by the Court if he was willing to return to Bahrain per the extradition request filed by the public prosecutors of the Office of Attorney General’s International Affairs Department. Hakeem raised his objection against the extradition request. His attorneys have also pleaded to the Court asking for another 60 days to file an objection motion with the Court. Upon his arrival at the Court and as reported by media, he appeared with his feet shackled, the treatment of which could be tantamount to an infringement of human dignity since he has not committed a felony crime, has been granted a refugee status in Australia and has never committed any illegal offence in Thailand.

          The undersigning organizations opine that;

             1. The Thai authorities should consider not to deport Mr. Hakeen to Bahrain, the decision of which can be justified by at least two legal and human rights grounds;
                 1.1 As a general principle of extradition, Thailand’s Extradition Act, B.E. 2551 clearly provides that an extraditable offence shall not constitute political character. As it appears that Mr. Hakeen has been prosecuted in Bahrain as a result of an allegation related to his opposition to or criticism of the Bahraini government and his other alleged offences also constitute political character, therefore, it is not possible to have him extradited per the request of the Bahraini government.
                1.2 Thailand has an obligation per the Non-Refoulement rule which is an important component of international customary law. It urges countries to refrain from deporting asylum seekers or any person to another territory where the person has reason to fear persecution, torture, or cruel treatment or life-threatening situation. The UN Convention Against Torture to which Thailand is a state party also prohibits deportation or extradition of a person to another country should there be credible fear that the person shall be subject to torture. Therefore, since it appears that Mr. Hakeen has been subject to torture and unfair trial in Bahrain, it is reasonable to believe that he could face such risks again including being tortured and being subject to cruel treatment if he is to be deported.
          2. Assurance must be given to ensure a fair proceeding to Mr. Hakeen pending his extradition hearing per the Extradition Act in April 2019. Thailand’s proceeding must be arranged to respect and protect his rights and ensure he is to have a fair trial including his right to temporary release and presumed innocence and how he cannot be treated as an offender until proven guilty. These are fundamental rights of an alleged offender and are prescribed for in the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)’s Articles 9 and 14 and the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560’s Section 29.

The undersigning organizations/individuals have these following demands with regard to this case;

           1. To mitigate further adverse impacts on Mr. Hakeen and to protect his right to presumed innocence, his application for bail should seriously considered or he should be subject to an alternative custodial arrangement.
        2. As the extradition case against Mr. Hakeen is pending the trial of the Court, agencies involved with the justice process can play an important role to forge a solution. The public prosecutors are constitutionally obliged to uphold rights and freedoms of a person. Therefore, they may consider invoking Section 21 of the Public Prosecution Organ and Public Prosecutors Act, B.E. 2553 to withdraw the case against him since the prosecution will not serve public interest, affect national safety or security, or impair significant interest of the State The judiciary is also urged to make a ruling on this case based on human rights and non-refoulement principles since there is reasonable ground to believe the extradition request is based on an offence with political nature and it could have made the deportee vulnerable to grave dangers as he used to have one before.
       3. The Thai government shall not proceed or support any attempt to send back Mr. Hakeen to face grave dangers in the requesting country and should allow him to return to Australia.

With respect in human rights and human dignity
            7th February 2019

  1. Human Rights Lawyers Association (HRLA)
  2. Union for Civil Liberty (UCL)
  3. Construction Materials Industry Labor Union
  4. Cross Cultural Foundation (CrCF)
  5. Enlaw
  6. Community Resource Centre (CRC)
  7. People’s Empowerment Foundation (PEF)
  8. Warm Healing Hands for Child Development Foundation
  9. Forward Foundation
  10. Foundation For AIDS Rights (FAR)
  11. Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)
  12. Migrant Working Group (MWG)
  13. Rangsit and Area Labour Union Group
  14. Tang Jai Tham Law Firm
  15. Duay Jai Group
  16. Public Policy on Mineral Resources: PPM
  17. Ecology and Culture Study Group
  18. Ratsada Manooratsada          Attorney
  19. Surachai Trong-ngam            Attorney
  20. Koreeyor Manuchae               Attorney
  21. Sor Rattanamanee Polkla      Attorney
  22. Yaowalak Anuphan               Attorney
  23. Poonsuk Poonsukcharoen    Attorney
  24. Noraseth Nanongtum           Attorney
  25. Panom Butrakhiew               Attorney
  26. Thittasat Sutsaen                 Attorney
  27. Kridsada Khunnarong          Attorney
  28. Waraporn Uthairangsi          Attorney
  29. Montree Atchariyasakulchai Attorney
  30. Pityata Thanapitchai              Attorney
  31. Khunanya Songsamuth          Attorney
  32. Anon Numpha                         Attorney 
  33. Theeraphan Phankiri              Attorney
  34. Pichai Nuannapasari              Attorney
  35. Supatra Nacapew                    Attorney
  36. Khumklao Songsomboon      Attorney
  37. Ubonwan Boonratanasamai Lawyer 
  38. Anyamanee Chaichomphu    Lawyer
  39. Sonthaya Khotpanya              Lawyer
  40. Bundit Homket                       Lawyer
  41. Papob Siamhan                      Lawyer
  42. Phattharanit Yaodam             Lawyer
  43. Issiyaporn Intapun                 Lawyer
  44. Nijniran Awaphak​           Lecturer, Faculty of Law, Thaksin University
  45. Songkrant Pongboonjun       Academician, Faculty of Law, Chiang Mai University
  1. Anchana Heemmina           Human Rights Defender
  2. Hathaikan Renumat           Human Rights Defender
  3. Thanaporn Wichan            Human Rights Defender
  4. Wipawan Khoonthaweelapphol Human Rights Defender
  5. Kornkanok Khamta           Human Rights Defender
  6. Bordin Saisaeng                 Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University
  1. Dr. Damkeng Tangthong Faculty of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University
  1. Sureerat Treemanka
  2. Sakorn Songma
  3. Phairat Chantong
  4. Natthawat Krittayanawat
  5. Prapot Srithet
  6. Benjaporn Bua-Samli
  7. Yuhanee Jehka
  8. Yingcheep Atchanont

 

 Download file

[pdf-embedder url=”https://naksit.net/wp-content/uploads/2019/02/An-open-letter-Hakeem-Ali-al-Araibi_080219.pdf” title=”An open letter Hakeem Ali al-Araibi_080219″]