admin

คดีแม่ชัยภูมิ ป่าแสฟ้องเรียกค่าเสียหายกองทัพบก ศาลสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ศาลแพ่ง (ถ.รัชดาภิเษก) นัดชี้สองสถานในคดีระหว่าง นางนาปอย ป่าแส โดยนายไมตรี จำเริญสุขสกุล ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และ กองทัพบก จำเลย โดยฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 . ศาลมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพยานโจทก์ที่จะนำสืบทั้ง 9 ปาก มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด จึงจะต้องนำสืบพยานผ่านทางจอภาพ และโจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเงินค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นนั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการสืบพยานผ่านทางจอภาพ จึงมีเหตุจำเป็นที่จะส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และให้นัดพร้อมเพื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ทั้ง 9 ปาก ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กันยายน 2562 เวลา 09.00 น. . คดีนี้สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่าชัยภูมิมียาเสพติดไว้ในครอบครองกว่าสองพันเม็ด และมีพฤติการณ์จะขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ จึงเป็นเหตุต้องวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิในขณะนั้น . ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน […]

คู่มือประชาชน: เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs)

ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีเพศ อายุ ศาสนา หรือประกอบอาชีพใดก็ตามสามารถตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องปิดปากเพื่อให้ยุติการมีส่วนร่วมทางสังคม หรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้การยุติบทบาทการมีส่วนร่วม ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่อย่างตรงจุด อีกทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงได้จัดทำ คู่มือประชาชน เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) ฉบับนี้ขึ้น โดยเนื้อหาประกอบด้วย บทที่ 1 การฟ้องปิดปาก คืออะไร คำนิยาม วิธีตรวจสอบว่าคดีที่ถูกแจ้งความเป็นการฟ้องปิดปากหรือไม่ ความเสียหายและผลกระทบของคดีฟ้องปิดปาก บทที่ 2 วิธีป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องปิดปาก รู้สิทธิของตัวเอง พูดความจริง บทที่ 3 ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องปิดปาก  บทที่ 4 ร่วมพัฒนากลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก ข้อกังวลของกลไกป้องกันการฟ้องปิดปากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ร่วมสร้างกลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก     ดาวน์โหลด คู่มือฉบับย่อ คู่มือฉบับเต็ม

ใบแจ้งข่าวเรื่อง การส่งหนังสือเพื่อขอให้พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวนายอิสมะแอ หนิยุหนุ๊ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิง โดยมูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว

ใบแจ้งข่าว เรื่อง การส่งหนังสือเพื่อขอให้พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวนายอิสมะแอ หนิยุหนุ๊ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิง โดยมูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว                                                 ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ด้วยสมาคมฯ ได้รับแจ้งจากสมาชิกทนายความถึงปัญหาการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวในศาลจังหวัดนาทวี ของนายอิสมะแอ หรือดาแระ หนิยุหนุ๊  โดยนายอิสมะแอฯ ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลจังหวัดนาทวี  ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๘ มูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว และระหว่างประท้วงมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น                          มีชาวบ้านถูกฟ้องหลายคน โดยชาวบ้านที่ถูกฟ้องมาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่ในคดีนั้น มีการให้การว่า นายอิสมะแอมีส่วนร่วมในการชุมนุม เจ้าหน้าที่จึงยกคดีนี้ขึ้นมาดำเนินการอีกเนื่องจากคดีใกล้ขาดอายุความ เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด นายอิสมะแอได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนมาตลอด แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่คัดค้านการประกันตัว และตลอดกระบวนการในชั้นสอบสวนและพนักงานอัยการ นายอิสมะแอไม่ถูกควบคุมตัวและได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันตลอดมาและยืนยันให้การปฏิเสธและจะใช้สิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง แต่ทั้งที่นายอิสมะแอให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนและอัยการมาโดยตลอด ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นไม่มีประวัติการกระทำความผิดมาก่อน แต่เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนาทวีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ปรากฏว่าศาลจังหวัดนาทวีไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และทนายความได้ยื่นคำร้องถึง ๓ ครั้งก็ได้รับการปฏิเสธมาตลอด ดังนี้ ครั้งที่ ๑  ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินในราคาประเมินที่ดิน    ๗๖๒,๗๖๒  บาท  โดยศาลกำหนดวงเงินประกันตัวเป็นเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง นายเมาเซ้นหรือเซกะดอ จำเลยที่ 1 และ นายซอเล จำเลยที่ 2 ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอ้ปเปิ้ล) กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย

วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2562 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสอง (นายเมาเซ้นหรือเซกะดอ ที่ 1 นายซอเล ที่ 2) ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอ้ปเปิ้ล) กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งนี้ ญาติเพิ่งทราบว่าศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา เนื่องจากวันนี้ไปเยี่ยมจำเลยที่เรือนจำแล้วไม่พบตัวจำเลย บุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงทนายความไม่มีใครทราบว่ามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ยกเว้นศาลจังหวัดระนอง จำเลย หน้าบัลลังค์และตำรวจศาล ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยออกหมายปล่อยตัวจำเลย (ไม่ได้ออกหมายขังระหว่างฎีกา) ปัจจุบันจำเลยทั้งสองถูกกักตัวอยู่ ณ ตม. จังหวัดระนอง รอส่งกลับตามกระบวนการต่อไป ทั้งนี้ รายละเอียดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อยู่ระหว่างขอคัดสำเนาจากศาล ส่วนอัยการและโจทก์ร่วมจะฎีกาหรือไม่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจะอัพเดทความคืบหน้าในคดีต่อไป อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น “ศาลพิพากษาลงโทษ 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยฆ่าน้องแอปเปิ้ล เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ” ภาพประกอบจาก มติชนออนไลน์ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ นายรัษฎา มนูรัษฎา (ทนายความ) 081- 439-4938 นางสาวจันทร์จิรา จันทร์แผ้ว 065-7415395

สนส. เปิดตัวรายงานการฟ้องคดีปิดปาก เสนอแนวทางป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ ใช้กฎหมายปิดกั้นการแสดงออกประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) จัดงานเสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย ไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กล่าวเปิดงานโดยชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีการคุกคามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะรูปแบบใหม่คือการใช้กฎหมายและใช้การฟ้องคดีระงับการแสดงความคิดเห็น หรือมีชื่อที่รู้จักในวงกว้างว่าการฟ้องคดีปิดปาก หรือ การฟ้องคดี SLAPPs เกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จัดงานในวันนี้ขึ้น เนื่องจากการปกป้องสิทธิมนุษยชนนั้นต้องใช้ความรู้เพียงพอ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก สนส. จึงจัดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ความรู้ และหาแนวทางแก้ไข จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการฟ้องคดีปิดปาก เพราะการฟ้องปิดปากคือการหยุดการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นมากในช่วงระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา งานเสวนานี้ และงานวิจัยคงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน และทำให้ทุกคนตื่นรู้ และทุกคนจะได้เสนอความเห็นว่าจะเดินหน้าปกป้องคนเหล่านี้ได้อย่างไร สนส. เปิดเนื้อหารายงานวิจัยเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก บัณฑิต หอมเกษ นำเสนอถึงรายงาน “ข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี” SLAPPs หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation คือการฟ้องคดีเพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ คนเข้าใจมากว่าเป็นการฟ้องเฉพาะคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ในความเป็นจริงแล้วมีข้อหาอื่นด้วย เช่น ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.ชุมนุม […]

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการฟ้องปิดปาก (SLAPPs)

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือ SLAPPs เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ (Judicial Harassment) โดยมุ่งคุกคามเฉพาะเจาะจงไปที่การมีส่วนร่วมสาธารณะหรือการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชน มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายหรือคุกคามต่อเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น หรือการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ที่สื่อสารความคิดเห็น (communication) ที่จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินการของรัฐบาล (government proceeding) ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญทางสังคม Penelope Canan ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยา และ George Pring ศาสตราจารย์ทางกฎหมาย แห่งมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ได้อธิบายในหนังสือเรื่อง SLAPPs: Getting Sued for Speaking Out ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1996 ว่า การฟ้องคดีลักษณะ SLAPPs นี้ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการข่มขู่ มุ่งตอบโต้ หรือฟ้องเพื่อหยุดพฤติกรรมเฉพาะ ลงโทษการพูด หรือต่อต้านกิจกรรมทางการเมือง และคดีจำนวนมากมีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่ยุทธวิธี ดังนั้น […]

คนโรคจิตที่มีความสุขเมื่อเห็นความขัดแย้งจากข่าวที่ตัวเองเขียนขึ้นมา

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 24 พฤษภาคม 2562 การเขียนข่าวโจมตีแบบเกาะติด/กัดไม่ปล่อยกรณีการถือหุ้นสื่อของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ของสำนักข่าวอิศราที่ถูกชี้นำบงการโดยประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ได้สร้างความคลางแคลงใจให้กับสาธารณชนประการหนึ่งว่าเหตุใดถึงไม่เขียนข่าวโจมตีฝั่งตรงข้ามธนาธรบ้าง หรือเหตุใดข่าวที่เขียนโจมตีฝั่งตรงข้ามธนาธรถึงมีเนื้อหาเบาบางและไม่มีลักษณะเกาะติด/กัดไม่ปล่อยเช่นเดียวกัน ยังมีคำถามต่อเนื่องอีกว่าประสงค์และสำนักข่าวอิศราเขียนข่าวรับใช้หรือตามใบสั่งใคร คำถามนี้ค่อนข้างตอบยากกว่าคำถามแรก เพราะถ้ามีจริง, พวกเขาคงไม่แสดงใบเสร็จและพยานหลักฐานให้ใครเห็นอย่างแน่นอน แต่ทั้งสองคำถามก็พอจะอนุมานจากพฤติกรรมบุคคลและองค์กรได้ว่าทั้งประสงค์และสำนักข่าวอิศรามีความผิดปกติอย่างหนึ่งอันมีที่มาจากพฤติกรรมการเขียนข่าวแบบไม่สืบสวนหาข้อเท็จจริงมาอย่างยาวนาน อาการเขียนข่าวแบบหลงผิดว่าข่าวที่ตัวเองเขียนมีลักษณะเป็นกระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนหรือเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงรอบด้าน ทั้ง ๆ ที่เขียนข่าวแบบเปิดโปงความขัดแย้งในองค์กรต่าง ๆ มากกว่า ซึ่งเป็นการเขียนที่ง่ายกว่าเพราะไม่ได้ใช้ความสามารถและเวลามากนัก ต่างกับการเขียนข่าวเชิงสืบสวนหรือเจาะลึกที่ต้องใช้ความสามารถและอดทนกับการใช้เวลามากขึ้นในการค้นคว้าหาหลักฐานแล้วตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงรอบด้าน ได้ทำให้ประสงค์และสำนักข่าวอิศรามักง่าย สะเพร่าและหลงเชื่อในแหล่งข่าวที่ให้ข่าวง่ายเกินไปเสียจนเกิดความผิดพลาดได้ ในแวดวงสื่อมวลชนที่คลุกคลี คร่ำหวอด รู้จักคุ้นเคยกันดีกับประสงค์หลายคนพูดให้ฟังว่าการเขียนข่าวแนวถนัดของประสงค์ในช่วงหลัง ๆ คือโจมตีการคอร์รัปชั่นโดยบุคคลในองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ เป็นหลัก “เขาจะไม่โจมตีนโยบาย เพราะเรื่องนโยบายมันเป็นเรื่องต้องค้นคว้า ต้องศึกษา ขุดคุ้ยเยอะ ใช้เวลา หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่าง ๆ แต่เรื่องโจมตีบุคคลแค่โทรคุยหรือแช็ทไลน์กะแหล่งข่าวหรืออ่านเอกสารสองสามแผ่นก็เขียนข่าวได้แล้ว ง่ายกว่าเยอะ” ผู้รู้จักคุ้นเคยกันดีกับประสงค์คนหนึ่งกล่าว แต่น่าสนใจตรงที่การเขียนข่าวแนวนี้ประชาชนทั่วไปชอบทั้ง ๆ ที่เป็นการเขียนข่าวที่ตั้งบรรทัดฐานทางศีลธรรมให้แก่คนอื่นแบบมักง่ายเกินไปก็ตาม และไม่ใช่ประชาชนอย่างเรา ๆ เท่านั้นที่ชอบ ข่าวที่ประสงค์เขียน (และใช้อำนาจครอบงำให้สำนักข่าวอิศราเขียน) ถูกอ่านโดยเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารและกรรมการในองค์กรอิสระและหน่วยงานราชการจำนวนมาก เหตุที่ต้องอ่านอาจจะไม่ใช่ความชอบแนวข่าวที่ประสงค์เขียนแต่ต้องอ่านเพื่อตรวจดูว่าประสงค์เขียนข่าวเล่นงานองค์กร/หน่วยงานพวกเขาหรือไม่ อย่างไร […]

แม่”ชัยภูมิ-อะเบ” ยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกองทัพบก หลังถูกวิสามัญฆาตกรรม ทนายความจี้ ให้เปิดภาพวงจรปิดสู้กันเชื่อมั่นจะได้รับความยุติธรรมจากศาล

แม่”ชัยภูมิ-อะเบ” ยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกองทัพบก หลังถูกวิสามัญฆาตกรรม ทนายความจี้ ให้เปิดภาพวงจรปิดสู้กันเชื่อมั่นจะได้รับความยุติธรรมจากศาล ถามหาความคืบหน้าขั้นตอนส่งฟ้องศาลทหารถึงไหนแล้ว เตือนทำผิดต้องยอมรับ ก่อนที่จะกลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรงเหมือนใน 3 จว.ชายแดนใต้ ย้ำ คนทุกคนเสมอเหมือนกันไม่ว่าชาติพนธุ์ไหน ด้านครอบครัวป่าแส ตัดพ้อ หมาตายยังระดมทุนช่วยทำศพ แต่คนตายพร้อมเงื่อนงำทำเมิน ลั่น จะต่อสู้จนสุดทาง จนกว่าความจริงจะปรากฎ เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ศาลแพ่ง รัชดาภิเษก แม่และครอบครัวนายอะเบ แซ่หมู่ และแม่และครอบครัวนายชัยภูมิ ป่าแส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม โดยอ้างว่าผู้ตายจะใช้ระเบิดด้ามขว้างใส่เจ้าหน้าที่ทหาร ทำให้ถูกวิสามัญเมื่อต้นปี 2561 พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จากกองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ทหารทั้งสอง นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ กล่าวว่า หลังจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งไต่สวนการเสียชีวิตของทั้ง 2 คน และพบว่าเสียชีวิตจากการถูกพลทหารใช้ปืนเอ็ม 16 ยิง โดยทั้งสองเหตุการณ์มีความคล้ายคลึงกันและเกิดเหตุในระยะเวลาห่างกันเพียง 1เดือน ซึ่งผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิที่จะฟ้องร้องทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลจะต้องรับผิดชอบ […]

ครอบครัวนายชัยภูมิ ป่าแส และครอบครัวนายอาเบ แซ่หมู่ร่วมกันเรียกร้องความยุติธรรม ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกองทัพบก

  วันนี้ (22 พฤษภาคม 2562) ครอบครัวนายชัยภูมิ ป่าแส และครอบครัวนายอาเบ แซ่หมู่ พร้อมกับทนายความและองค์เครือข่ายจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.), มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, Protection International และกลุ่มดินสอสี เข้ายื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกองทัพบก ณ ศาลแพ่ง (ถ.รัชดาภิเษก) เวลา 09.00 น.   จากเหตุการณ์ที่นายชัยภูมิ ป่าแส และนายอาเบ แซ่หมู่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งประจำอยู่ที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ใช้อาวุธปืนยิง จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยพฤติการณ์การเสียชีวิตของทั้งสองคนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อีกทั้งเหตุการณ์ทั้งสองยังเกิดในระยะเวลาไล่เลี่ยกันด้วย และเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ครอบครัวของชัยภูมิและอาเบรอคอยความยุติธรรม และนอกจากการติดใจเรื่องสาเหตุการตายของลูกชายแล้วนั้น การสูญเสียลูกชายไปจากครอบครัวของทั้งสอง นำมาซึ่งความเสียใจและความลำบากของครอบครัว อีกทั้งยังเชื่อว่าบุตรชายของตนถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ทหารกระทำเกินสมควรแก่เหตุ และเห็นว่าควรเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากกองทัพบกซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ทหารทั้งสอง  นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, นายไมตรี จำเริญสุขสกุล ผู้ดูแลนายชัยภูมิ ป่าแส และนางณัฐนันท์ แซ่หมู่ ป้าของนายอาเบ แซ่หมู่ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มาร่วมกันฟ้องคดีในวันนี้ และยืนยันว่าจะต่อสู้จนกว่าความจริงจะปรากฏ  นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ทวงถามถึงภาพในกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพในวันที่เกิดเหตุการณ์นายชัยภูมิถูกเจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธปืนยิง จนเป็นเหตุให้นายชัยภูมิเสียชีวิต ซึ่งในบริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวงมีกล้องวงจรปิดทั้งหมด […]

เมื่อกฎหมายตกเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อยุติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง

จากกรณีที่ยังคงมีการดำเนินคดีกับนักกิจกรรมที่ออกมารณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตย เช่น กรณีกลุ่มนักกิจกรรม นักศึกษา 14 คน อาทิ นายรังสิมันต์ โรม นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว  นายภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์  นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายรัฐพล ศุภโสภณ เป็นต้น ซึ่งที่เคยจัดกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ในวาระครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และยังคงได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน  ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคดี ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และมาตรา 215 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2562  นี้

1 12 13 14 15 16 32