SLAPPs

เมื่อราษฎรลุกขึ้นโต้กลับ : 10 คดีที่ราษฎรฟ้องกลับ ตั้งแต่ตุลาคม 2563 – สิงหาคม 2564

ที่ผ่านมา ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และใช้มาตรการทางกฎหมายทุกช่องทางโต้กลับการใช้อำนาจมิชอบของรัฐ ภายใต้ชื่อ #ราษฎรฟ้องกลับ โดยในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ภาคีฯ มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 26 คดี และได้ดำเนินการฟ้องคดีโต้กลับต่อศาลไปแล้วเป็นจำนวน 10 คดี

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

สำรวจเส้นแบ่งฟ้องหมิ่นประมาทอาญาแบบไหนเข้าข่ายฟ้องปิดปาก

การเหมารวมว่าคดีหมิ่นประมาททางอาญาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นคดีฟ้องปิดปากย่อมไม่ถูกนัก เพราะในบางกรณีผู้ฟ้องก็มีเป้าหมายเพื่อปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศและแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ตนเอง เพื่อแบ่งแยกการฟ้องหมิ่นประมาทอาญาว่าแบบไหนถึงเข้าข่ายเป็นการฟ้องปิดปาก สนส. จึงได้กำหนด 2 เงื่อนไข

ก่อนที่กฎหมายจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือปิดปาก…

  หากกล่าวถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือฟ้องปิดปากประชาชนที่ออกมามีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะนั้น หลายคนอาจนึกถึงกฎหมายอาญาที่มีโทษร้ายแรง อย่างมาตรา 112 ฐานดูหมิ่นกษัตริย์ฯ มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่น มาตรา 328 329 ฐานหมิ่นประมาท หรือกฎหมายอื่น ๆ เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ[1] พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ไม่น่าเชื่อว่าจะกลายเป็นเครื่องมือฟ้องปิดปากถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ บางข้อหารัฐได้อาศัยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นข้ออ้างในการบังคับใช้กฎหมายด้วย ซึ่งในบทความนี้ สนส. จะนำเสนอฐานความผิดที่ถูกนำมาใช้บังคับขัดกับเจตนารมณ์และที่มาในการบัญญัติกฎหมาย ได้แก่   พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ข้อหาที่ถูกนำมาใช้ฟ้องปิดปาก คือ ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร่วมกันจัดกิจกรรมในลักษณะมั่วสุมหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค เช่นกรณีของกลุ่ม “ขอคืนไม่ได้ขอทาน” ที่นายบูรณ์ อารยพล พร้อมพวก รวม 4 คนถูกแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกรณีปักหลักหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยก่อนหน้านี้กลุ่มของหมอบูรณ์ได้มีข้อเรียกร้องและเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้สำนักงานประกันสังคมแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้สมทบเงินประกันสังคมสามารถเบิกเงินสะสมชราภาพมาใช้ก่อนเกษียณ[2] ซึ่งจากการมาเคลื่อนไหวประเด็นดังกล่าวหมอบูรณ์ได้ถูกดำเนินคดีมาแล้วก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง […]

รายงาน “สถานการณ์การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย: มีกลไกกลั่นกรองแล้วแต่ทำไมแนวโน้มคดียังสูงขึ้นต่อเนื่อง”

รายงานสถานการณ์การฟ้องคดีปีปากในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐไทยอธิบายต่อสังคมว่ามีกลไกกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพอยู่เเล้ว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 พ.ร.บ.อัยการ มาตรา 21 และระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน หรือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ รวมถึงภาครัฐ โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ผลักดันแผนว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งบรรจุประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ) จากการถูกฟ้องคดี

ศาลอุทธรณ์ “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV

ศาลอุทธรณ์พิพากษา “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตร ฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV กรณีทวิตและเผยแพร่ข้อความต่อจากนักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับคำพิพากษาคดีแรงงานข้ามชาติ 14 คน ซึ่งมีคำว่า “กรณีใช้แรงงานทาส” อยู่ในข้อความที่ทวิต   27 ต.ค. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.1407/2563 ระหว่าง บริษัทธรรมเกษตรโดยนายชาญชัย เพิ่มผล ผู้รับมอบอำนาจ (โจทก์) และ นางสาวสุชาณี รุ่งเหมือนพร หรือ นางสุชาณี คลัวเทรอ (จำเลย) ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 จากกรณีที่สุชาณี ซึ่งขณะที่ถูกฟ้องได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักข่าวอยู่สำนักข่าว Voice TV และติดตามรายงานข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในภาคการเกษตร ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ว่า “ศาลสูงสุดมีคำสั่งให้เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่ จ.ลพบุรี อดีตหนึ่งในฟาร์มส่งไก่ให้บริษัทเบทาโกร จ่ายเงินชดเชยคนงานพม่า 14 คน 1.7 […]

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

    ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ […]

กลไกและกระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจยับยั้งคดีSLAPPได้: ต่างประเทศจึงมีAnti-SLAPP Law

หากติดตามสถานการณ์การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้น ข่มขู่หรือกดดันประชาชนที่สนใจและอยากลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือที่เรียกว่า SLAPP ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องต้องเผชิญการคุกคาม เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสู้คดี และทำให้กิจกรรมหรือประเด็นที่เคลื่อนไหว เรียกร้องต้องหยุดชะงักลง

คดีฟ้องปิดปากสูงขึ้น ในขณะที่เพดานการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนกลับต่ำลง

กรณีการดำเนินคดีในหลายข้อหาต่อนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง จากการจัดหรือเข้าร่วมการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ความคืบหน้าคดีธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทอังคณา นีละไพจิตร

4 สิงหาคม 25S63 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนมูลฟ้องในคดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องดำเนินคดีต่อกับอังคณา นีละไพจิตร ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 326, 328 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีการทวีตข้อความสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตรดำเนินคดีก่อนหน้านี้ พร้อมแนบลิ้งก์ที่ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์ยุติการฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาในเเถลงการณ์ได้อ้างถึงคลิปวิดีโอที่อดีตเเรงงานข้ามชาติของบริษัทธรรมเกษตรได้ให้สัมภาษณ์ในทวีตเตอร์ส่วนตัว 

1 2 3 4