admin

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 ในคดีที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนเจ้าของเว็บไซต์ข่าวประชาไทได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ศาลแพ่งใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง และได้มีคำพิพากษาในเย็นวันที่ 23 เมษายน 2553วันเดียวกับที่ยื่นฟ้อง โดยพิพากษายกฟ้องและไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดี ศาลไม่ได้ดำเนินการไต่สวนพยานโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอ และไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้ง 5 บทความนี้ผู้เขียนประสงค์จะวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยใช้หลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นฐานในการวิเคราะห์ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองที่แม้จะถูกบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง แต่เมื่อเป็นคดีปกครองหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องเป็นการตรวจสอบตาม หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1. สรุปคำฟ้องและคำพิพากษา เพื่อให้เข้าใจประเด็นในคำพิพากษาอย่างครบถ้วนผู้เขียนขอสรุปประเด็นในคำฟ้องไว้เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาประกอบคำพิพากษา ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.prachatai.info/journal/2010/04/29095) 1.1 สรุปคำฟ้อง โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องถึงเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 1 ถึง 4 ในการปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของโจทก์เป็นสามประเด็นคือ 1) การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเพื่อลิดรอน จำกัด หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนของโจทก์อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และการเมือง (International […]

คำพิพากษาคดีชุมชนบ้านแม่อมกิ ภาพสะท้อนความขัดแย้งทางนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายที่ปลายเหตุ โดย จิระ ณ จันทร์

นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล ประชาชนในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ชาวปกาเกอญอถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ข้อหาร่วมกันยึดถือ ครอบครองที่ดิน ตัด โค่น ก่นสร้างแผ้วถางป่า ทำประโยชน์ในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติฯ และพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1770/2551 และ 1771/2551 ต่อศาลจังหวัดแม่สอด ในศาลชั้นต้นคดีดังกล่าวจำเลยรับสารภาพ คดีจึงไม่มีการสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ลงโทษจำคุก 1 ปีโดยไม่รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาว่ากระบวนพิจารณาคดีไม่ชอบ เนื่องจากจำเลยไม่มีทนายความและล่ามไม่ได้สาบานตัว ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ ภายหลังการสืบพยานโจทก์และจำเลยคดีนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา เมื่อวันที่ 18 และ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1737/2551 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 โดยคำพิพากษาได้อ้างเหตุการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ย้ำตัดอำนาจศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (20 ธ.ค.53) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิฯได้เข้าพบเพื่อขอให้ยกเลิกบท บัญญัติซึ่งตัดอำนาจศาลปกครองตามร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ….ต่อสำนักงานกฤษฎีกา เนื่องจากร่างดังกล่าวอาจทำให้ขัดรัฐธรรมนูญเหตุและจะทำให้ประชาชนเข้าไม่ ถึงสิทธิ เครือข่ายฯมีความเห็นร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดมีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชากาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าเครือข่ายฯและองค์กรสิทธิอีกหลายองค์กร ได้เข้าพบ นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ผู้ อำนวยการสำนักกฎหมายปกครองสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อยื่นหนังสือแสดง ความเห็นคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ…..ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าร่างดังกล่าวได้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการ กระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ออกไป โดยการนิยามคำว่า “ศาล” ให้หมายถึงศาลยุติธรรมตามมาตรา 4 ซึ่งจะทำให้ขัดต่อมาตรา 223 รัฐธรรมนูญ เพราะคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง อีกทั้งมูลหนี้ละเมิดทางปกครองไม่ใช่มูลหนี้ละเมิดทางแพ่งอย่างที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าใจเพราะละเมิดทางปกครองมีที่มาจากการอาศัยอำนาจรัฐใน การกระทำการไม่ใช่การกระทำละเมิดทางแพ่งทั่วไป การตัดเขตอำนาจศาลปกครองจึงถือเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการก่อ ตั้งศาลปกครอง ย้ำหากให้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาประชาชนจะเข้าไม่ถึงสิทธิ นางสาวพูนสุข ยังกล่าวว่าการโอนอำนาจในการพิจารณาคดีละเมิดจากศาลปกครองไปยังศาลยุติธรรม จะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมต้องอาศัยทนายความในการดำเนินคดี ระบบการพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา ทั้งที่คู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกัน อาจทำให้ความสามารถในการหยิบยกประเด็นซึ่งถูกละเมิดขึ้นมาต่อสู้และโอกาสใน การเข้าถึงพยานหลักฐานน้อยลง ในขณะที่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองเป็นระบบไต่สวน ซึ่งเปิดโอกาสให้ศาลสามารถแสวงหาข้อเท็จจริงได้กว้างขวางกว่าระบบกล่าวหาของ ศาลยุติธรรม หากคดีละเมิดต้องถูกโอนไปยังศาลยุติธรรมจริงจะทำให้หลายคดีไม่สามารถเรียก ร้องความเป็นธรรมได้ เผยปัญหาไม่ได้เกิดจากกฎหมายแต่เกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่กล้าบังคับคดีทางปกครอง สำหรับสาเหตุในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นเพราะหน่วยงานรัฐมีปัญหาในการ เรียกชำระเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำความผิด ซึ่งหน่วยงานได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เอกชนไปตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 แล้ว แต่ไม่สามารถไปบังคับเอาคืนได้ทำให้สูญเสียงบประมาณปีละหลายพันล้านบาท สาเหตุที่ไม่สามารถบังคับคดีได้มีหลายประการ ทั้งความไม่ชัดเจนของกลไกการบังคับคดี ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และไม่มีบุคคลากรด้านกฎหมายในองค์กร […]

1 30 31 32