admin

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม “ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ […]

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

ทบทวนการใช้กลไกทางกฎหมายกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ 2 ปีการหายไปของบิลลี่ กับความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2557 ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้  แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว  ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า”  หรือ“ยุทธการตะนาวศรี”  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า100ปีแล้วขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เรายังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป หลังจากที่บิลลี่ถูกบังคับให้หายตัวไป ครอบครัวของเขา รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้พยายามเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ 2 ปีผ่านไป การดำเนินการเหล่านั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการที่จะสืบหาตัวบิลลี่ที่สูญหายไปและนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เขาหายไปมารับโทษอย่างเหมาะสม การสืบสวนสอบสวนเริ่มต้นขึ้น เมื่อนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่  […]

กรณีล่ามโซ่นายชาลี ดียู ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย : สถานะของระเบียบกับรัฐธรรมนูญ โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

แม้การทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เป็นที่รับรู้ในหมู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมากนัก ทั้งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ได้รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าวซึ่งไทยเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้ให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเมื่อวัน ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นมา รูปแบบของการทรมาน การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจให้รับสารภาพด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่ทำให้ปรากฏร่องรอยตามร่างกายและไม่ปรากฏร่องรอยตามร่างกาย เช่น การใช้น้ำหยดลงบนศรีษะอยู่ตลอดเวลา การบังคับให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เป็นเวลานานจน กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น ยังมีรูปแบบอื่นที่ถือเป็นการทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษโดยย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การจำตรวนนักโทษไว้ตลอดเวลา การคุมขังอยู่ในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัย การไม่ได้รับการรักษาพยาบาล หรือการขังเดี่ยว เป็นต้น กรณีของนายชาลี ดียู ชาวพม่าซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการทำงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งมีสถานะเป็นแรงงานข้ามชาติมีสิทธิอาศัยชั่วคราวและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามกฎหมาย แต่เนื่องจากเอกสารสูญหาย จึงถูกควบคุมตัวและส่งไปรักษารักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่ได้ล่ามโซ่นายชาลีไว้โดยอ้างว่ามีระเบียบกำหนดไว้ และเกรงว่านายชาลีจะหลบหนี แม้ภายในห้องของโรงพยาบาลจะมีลูกกรงเหล็กซึ่งมีลักษณะเป็นที่คุมขังอยู่แล้ว ก็ตาม ต่อมามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้เข้าให้การช่วยเหลือและประสาน งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ปลดโซ่ที่ล่ามไว้กับเตียง […]

ข้อวิพากษ์ทางกฎหมาย เบื้องต้น ต่อกรณีคำพิพากษาฎีกาจำคุก 4 เดือน แกนนำผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดย สุรชัย ตรงงาม

คดีนี้ ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นหัวหน้าคณะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี การคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ของสภาทนายความ ติดตามข้อมูล ร่วมสอบข้อเท็จจริง กับหน่อย จินตนา แก้วขาว ตั้งแต่ปี 2544 แต่มิได้เป็นทนายความ ว่าความในคดีนี้โดยตรงครับ แต่ขอเสนอข้อเท็จจริงจากสำนวนและความเห็นทางกฎหมายดังนี้ คดีนี้อัยการฟ้องว่า จิตนาแก้วขาว มีความผิดในข้อหาบุกรุก โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปศาลชั้นต้น ยกฟ้องไม่เชื่อพยานโจทก์ โดยอ้างอิง ถึงเจตนาการใช้สิทธิของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้คนดีถูกรังแกโดยใช้กลไกตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เพราะเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชื่อถือ การเบิกความในศาลที่แตกต่างจากชั้นสอบสวนอาจเป็นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลจินตนา ศาลฎีกา พิพากษาลดโทษจำคุก 4 เดือน เพราะเข้ามอบตัว โดยไม่รอลงอาญา โดยศาลเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชิ่อถือ เหมือนศาลอุทธรณ์ ส่วนประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกา ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตุใหญ่ๆอย่างน้อย 2 ข้อ 1 ประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกานั้น ศาลฎีกา ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างชัดแจ้งว่า ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย อย่างไร เช่น นอกประเด็น […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนร่อนแถลงการณ์จี้ คสช.ยุติใช้ ม.44

วันนี้ (7 เม.ย.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ส่งแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชน เรื่อง ขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3/2558 ของ คสช. ยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44 ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558 ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน […]

ศาลสั่งสอบนายชัยวัฒน์ หัวหน้าอุทยานแก่งกระจาน กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

ล่าสุดวันนี้ เวลาประมาณ 15.30 นาฬิกา ศาลจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่ส่วนคำร้องกรณีนายบิลลี่หายตัวไป โดยศาลสั่งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม ลือฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.6 (เขามะเร็ว) มาสอบพยานเพิ่มเติม ในวันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 13.30 นาฬิกา โดยกรณีนี้สืบเนื่องมาจาก เช้าวันนี้ (24 เมษายน 2557) คณะทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พร้อมด้วยภรรยาของนายบิลลี่ หรือ นายพอละจี รักจงเจริญ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขอไต่สวนกรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ เพื่อขอศาลเรียกหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวมาไต่สวนให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายบิลลี่ และขอให้ปล่อยตัวทันที ทั้งนี้ นายบิลลี่ เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี  ได้หายตัวไปหลังจากถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และไม่ทราบชะตากรรมจนถึงปัจจุบัน ในช่วงบ่าย ศาลได้พิจารณาไต่สวนคำร้องและพยานฝ่ายผู้ร้องแล้วเห็นว่า กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า นายพอละจีอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานหรือไม่ เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีหมายเรียก นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม […]

17 เม.ย. 57 นัดส่งตัวนักข่าวภูเก็ตหวานขึ้นศาล หลังถูกกองทัพเรือฟ้องหมิ่นฯ ลุ้นประกันตัววันนั้น

17 เมษายน 2557 เวลา 9.30 น. อัยการจังหวัดภูเก็ต นัดหมายให้ นายอลัน มอริสัน และนางสาวชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์ “ภูเก็ตหวาน” ไปพบที่ศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาล ในคดีที่กองทัพเรือร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 สำนักข่าวภูเก็ตหวานเผยแพร่ “รายงานพิเศษเรื่อง : ทหารไทยได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์ผู้อพยพทางเรือ” ซึ่งอ้างอิงแหล่งข้อมูลมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานชิ้นนี้มีการกล่าวพาดพิงว่าเจ้าหน้าที่กองทัพเรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตให้ดำเนินคดีทั้งสองคนฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) คดีนี้ นักข่าวทั้งสองคนยืนยันพร้อมจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยต้องการให้คดีนี้เป็นกรณีศึกษาการละเมิดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน โดยใช้การดำเนินคดีพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย  เนื่องจากกฎหมายนี้ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่โจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการเจาะระบบ เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองไม่ยอมรับการใช้กฎหมายนี้กับสื่อมวลชน จึงไม่ต้องการใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเพื่อยื่นขอประกันตัวและยินยอมที่จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยขอให้กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นผู้ประกันตัว และประสานขอความช่วยเหลือจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล  ล่าสุดศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามันมูลนิธิอันดามันได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้ใช้สลากออมสินสำหรับใช้ยื่นประกันตัวในวันที่ 17 เม.ย.นี้ โดยยังต้องรอลุ้นว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ก่อนหน้านี้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)  และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย และเรียกร้องให้มีการถอนฟ้องคดีนี้

โอบามา & โอซามา (บิน ลาดิน) กรณีจับตายเหยื่อศาลเตี้ยระดับโลก โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

ตามข่าวที่แผยแพร่ไปทั่วโลกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานายบารัก โอบามา กำกับดูแลการลงโทษประหารชีวิตตามคำสั่งศาลโดยไม่รู้ว่าศาล (เตี้ย)ได้ พิจารณาคดีนี้ที่แห่งหนใด เป็นเหตุให้จำเลยของสหรัฐอเมริกาและของโลกนายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มอัล กออิดะห์ เสียชีวิตพร้อมบุคคลอื่นไม่ทราบจำนวน และการปฏิบัติการครั้งนี้ถูกนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของอเมริกา และคนทั้งโลก และนายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังกล่าวสำทับอีกว่า “And on nights like this one, we can say to those families who have lost loved ones to al Qaeda’s terror: Justice has been done” ในคืนอย่างเช่นคืนนี้ (คืนที่โอบามาประกาศทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายบิน ลาดิน) เราพูดกับครอบครัวของผู้สูญเสียจากการก่อการร้ายของอัลกออิดะห์ได้แล้วว่าเราได้รับความยุติธรรมแล้ว” เหตุการณ์ บันลือโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นำโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปีพ.ศ. 2552 […]

1 29 30 31 32