บิลลี่

เปิดเนื้อหา : หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด กรณีฆาตกรรมบิลลี่

จากกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จากเหตุการณ์ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ หายตัวไปเป็นเวลากว่า 6 ปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกบริเวณกะโหลกของบิลลี่ ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากคดีคนหาย กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมซึ่งรอให้มีการสะสาง และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนในคดีฆาตกรรมบิลลี่ โดยนายวรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือขอความเป็นธรรม ผู้ร้องเห็นว่า การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ดุลพินิจอ้างเหตุผลเช่นนี้ว่าไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าผู้ใดกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตด้วยวิธีการอย่างใดมาใช้เป็นหลักในการพิจารณามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีจะยิ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอิทธิพลกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสามารถทำลายพยานหลักฐานที่จะบ่งชี้ถึงตัวบุคคลผู้กระทำความผิดก็จะกลายเป็นการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม   ภายในหนังสือขอความเป็นธรรมจึงมีประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการน่าจะได้ทบทวนและวินิจฉัยใหม่ ดังนี้ 1.พยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนรับฟังได้หรือไม่ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่และมีการปล่อยตัวไปตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง พยานหลักฐานที่ปรากฎพบว่า ได้ว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวบิลลี่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจริง ปัญหามีว่าการควบคุมตัวดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอย่างไร ผู้ต้องหาอ้างว่า ได้มีการปล่อยตัวบิลลี่ไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีประจักษ์พยานอ้างว่ารู้เห็นการปล่อยตัว […]

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

ทางกลับบ้าน

ในช่วงเย็นย่ำของวันหนึ่ง พอรถขับเข้ามาสู่เขตโป่งลึก-บางกลอย ป่าที่เป็นสีเหลืองแห้งแล้ง แปรเปลี่ยนเป็นป่าที่เขียวชอุ่ม ทั้งสองข้างทางมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นเรียงราย เราใช้เวลาขับรถมาที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษๆ และหายเหนื่อยล้าในทันทีเมื่อได้เห็นความงดงามของผืนป่าแห่งนี้ เราแวะจอดข้างทางเพื่อพักชมบรรยากาศรอบกาย ถ้ามองจากทางที่มาถึงทำให้เห็นสะพาน สะพานที่เป็นจุดที่มองแล้วทำให้นึกถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาคือ “บิลลี่” พอละจี รักจงเจริญ “ชายคนหนึ่งที่รักบ้านเกิดของเขาเหนือสิ่งอื่นใด ชายผู้ซึ่งพลีกายใจทำงานเพื่อมวลชน เพียงแค่เขาต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่บ้านของเขา ผืนป่าของเขา พี่น้องของเขา แต่เขากลับต้องมาตายด้วยน้ำมือปีศาจ มันคุ้มค่าแล้วหรือ”

กรมสอบสวนคดีพิเศษ สรุปสำนวน “คดีบิลลี่” ตั้ง 6 ข้อหา ส่งให้พนักงานอัยการ

ติดตามความคืบหน้า การหายตัวไปของ “บิลลี่” จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ

วันนี้ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะทำงานพบ นางสาวพิณนภา พฤษาพรรณ และทีมทนายความ เพื่อแจ้งผลการสอบสวน กรณีการหายตัวของ
นายพอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่) คดีพิเศษที่ 13/2662 คดีระหว่าง นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ กับพวกรวม 2 คน
ผู้กล่าวหา นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร กับพวกรวม 4 คน ผู้ต้องหา ซึ่งตอนนี้การสอบสวนเป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว และส่งสำนวนต่อให้กับพนักงานอัยการในวันนี้ โดยตั้งข้อหา 6 ข้อหา คือ

ชวนจับตามอง 5 เรื่องกระบวนการยุติธรรมไทย

วันที่ 10 ธันวาคม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขอเสนอ 5 เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทย ที่อยากชวนทุกคนมาร่วมกันจับตามอง และย้ำเตือนให้คิดถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเทศไทย

โอบกอดมึนอร่วมใจส่งพอละจี

การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก การที่บิลลี่ แกนนำชาวบ้านที่เรียกร้องเพื่อสิทธิชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
ควบคุมตัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้แถลงความคืบหน้าคดีนายพอละจี รักจงเจริญ พบว่าเสียชีวิตแล้ว โดยพบชิ้นส่วนกระดูกถูกเผา และถ่วงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิต และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้

ฝันสุดท้ายของปู่คออี้และบิลลี่คือการต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินเกิด : งานเสวนาฆาตกรรมอำพรางบิลลี่ ใครต้องรับผิดชอบ

จากวันที่ 17 เมษายน 2557 วันที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ภายหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลำขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น ควบคุมตัวเนื่องจากมีน้ำผึ้งป่า 6 ขวดไว้ในครอบครอง และอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วนั้น แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเจอหรือทราบชะตากรรมบิลลี่ตั้งแต่วันนั้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เหตุการณ์ของกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นกรณีการฆาตกรรมบิลลี่

เพราะการมองเห็นชีวิตผู้คนทำให้ทำคดีสิทธิ : ทนายแป๋ม (ทนายคดีบิลลี่)

เปิดบทสัมภาษณ์เส้นทางการทำงานในวงการสิทธิของทนายวราภรณ์ อุทัยรังษี หรือ ทนายแป๋ม เส้นทางและมุมมองกว่าจะมาเป็นทนายความที่ให้ความช่วยเหลือคดีการหายตัวไปของบิลลี่ รวมถึงคดีเผาไล่รื้อบ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่แก่งกระจาน

เปิดคำพิพากษาการดำเนินคดีมาตรา 90 ขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ออกจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ

สืบเนื่องจากกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เนื่องจากมีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองเป็นจำนวน 6 ขวด และหลังจากวันนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นบิลลี่อีกเลย

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]