บทสัมภาษณ์

เสนอยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคุมโควิด19 – ใช้ concept รักษาคน ควบคุมโรค ไม่ใช่ควบคุมคน รักษาโรค และการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : นิมิตร์ เทียนอุดม กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่มีโรคไวรัสโควิด19 ระบาดอย่างเช่นปัจจุบัน ในภาวะที่ประชาชนต่างก็ขาดรายได้ และประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมสำหรับการรับมือเมื่อต้องเจ็บป่วย ขาดงาน และขาดรายได้ การมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีในประเทศ และพร้อมจะดูแล เยียวยาประชาชนจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และร่วมผลักดันไปด้วยกัน

กลุ่มผู้หลากหลายทางเพศเสี่ยงถูกเลือกปฏิบัติ-รับผลกระทบหลายด้านในภาวะโควิด19 ระบาด – หากจะแก้ปัญหา รัฐควรรับฟังปัญหา : ชิษณุพงศ์ นิธิวนา ผู้ก่อตั้ง Young Pride Club

สถานการณ์การระบาดอย่างร้ายแรงของโควิด19 ในปัจจุบัน กลุ่มหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติเช่นกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ หลายคนถูกพักงาน รายด้านลดลง เนื่องจากส่วนมากทำงานในด้านบันเทิงและการท่องเที่ยว อีกทั้งยังได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าเกณฑ์การได้รับมาตรการเยียวยาจากรัฐด้วย

โควิด-19 เพิ่มความท้าทายการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ-รัฐควรคำนึงถึงสภาพเฉพาะของกลุ่มคนพิการแต่ละประเภท : นฤมล กาญวงษา กลุ่มผู้พิการ

เดิมทีการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ แม้จะมีพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่กำหนดสิทธิที่คนพิการควรจะได้รับมากมาย แต่ในทางปฏิบัติคนพิการไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในภาวะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระบาด ปัญหาการเข้าถึงสิทธิของคนพิการก็เป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถรับรองคนทุกกลุ่มได้

ไม่ใช่แค่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯควบคุมโควิด-19 สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษอีก 2 ฉบับ ไม่ใช่เฉพาะภาวะฉุกเฉิน-จำเป็น : อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลา

สถานการณ์โควิด19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนเยอะพอสมาควรเมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัดอื่น เหตุเพราะมีผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษทับซ้อนกันถึง 3 ฉบับอยู่แล้วมาเนิ่นนานกว่า 10 ปี

แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ตกหล่นจากการได้รับสิทธิเยียวยาจากรัฐในภาวะโควิด19 ระบาด : ปสุตา ชื้นขจร ผู้ประสานงานโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ

สิทธิของแรงงานข้ามชาติเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากเป็นแรงงานที่ตกหล่นจากการที่จะได้รับการเยียวยาจากรัฐ เพราะส่วนมากจะเป็นแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ อีกทั้ง มาตรการมากมายภายในประเทศยังมีเงื่อนไขแต่เพียงการมุ่งเยียวยาแต่ประชาชนที่มีสัญชาติไทยเพียงเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังมานาน และถูกฉายชัดขึ้นในภาวะโรคระบาดนี้

แนวโน้มคนไร้บ้านมากขึ้นหลังโควิด19 – ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีที่อยู่ มาตรการของรัฐยังซ้ำเติมกลุ่มคนไร้บ้าน : นพพรรณ พรหมศรี กลุ่มคนไร้บ้าน

สถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดโควิด19 เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มคนไร้บ้านได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องมาจากมาตรการของรัฐที่ออกมายับยั้งการระบาดของโควิด19 มีการกำหนดระยะเวลาห้ามออกจากเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กลุ่มคนไร้บ้านไม่มีแหล่งอาศัยถาวร จึงเปนกลุ่มคนหนึ่งที่ลำบากมากในภาวะเช่นนี้ มากไปกว่านั้น สถานการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ คนไร้บ้านจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกช่วงหลังโควิด19 ผ่านไป

รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบและเยียวยาลูกจ้างที่ตกหล่นจากการคุ้มครองของรัฐ ในภาวะโควิด19ระบาด : คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ เครือข่ายทนายสิทธิแรงงาน

สถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาด ส่งผลกระทบมากมายต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ มีหลายกิจการต้องผิดตัวลง เนื่องจากผลประกอบการที่ลดลง และได้รับผลการทบจากการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่กระจายของโรค มีบางกิจการที่ถูกประกาศให้ปิดตัวโดยรัฐ แต่ก็มีบางกิจการที่ต้องปิดตัวลงเอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการจ้างงานของผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบลูกจ้าง ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของทนายคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ผู้คลุกคลีกับเครือข่ายแรงงานมานาน กับมาตรการที่อยากให้รัฐลงมาดูแลเยียวยาลูกจ้างที่ถูกเอาเปรียบในภาวะเช่นนี้

เพราะการมองเห็นชีวิตผู้คนทำให้ทำคดีสิทธิ : ทนายแป๋ม (ทนายคดีบิลลี่)

เปิดบทสัมภาษณ์เส้นทางการทำงานในวงการสิทธิของทนายวราภรณ์ อุทัยรังษี หรือ ทนายแป๋ม เส้นทางและมุมมองกว่าจะมาเป็นทนายความที่ให้ความช่วยเหลือคดีการหายตัวไปของบิลลี่ รวมถึงคดีเผาไล่รื้อบ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่แก่งกระจาน

บทสัมภาษณ์นคร ชมพูชาติ : ประสบการณ์จากทนายความรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง บทบาททนายความเพื่อประชาชน

สัมภาษณ์ :ธนาธร ทนานนท์, อัครยา สองสมุทร, ผรัณดา ปานแก้ว เรียบเรียง: ธนาธร ทนานนท์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้มีโอกาสได้เข้ามาคุยกับทนายนคร ชมพูชาติ ทนายรุ่นพี่ ที่ถือได้ว่ามีความอาวุโสในการทำงานด้านวิชาชีพทนายมานานหลายปี เป็นพี่ที่คอยสร้างน้องทนายให้มีความพร้อมทั้งทางทักษะวิชาชีพและมุมมองในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสังคม ที่ผ่านมาได้ทำงานคดีช่วยเหลือในคดีสำคัญหลายคดี เช่น คดีกบฏไอทีวี , คดีบิ๊กขี้หลี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ,คดีชินคอร์ปฟ้องคุณสุภิญญา,คดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรยา กรณียาต้าเชื้อเอชไอวี เป็นต้น จนกลายเป็นแบบอย่างให้กับทนายรุ่นน้องอีกหลายคน ประเด็นที่ทางทีมสมาคมฯเข้ามาคุย นอกจากจะได้มาทำความรู้จักกับทนายรุ่นพี่คนนี้มากขึ้น ถือเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานให้กับน้องๆช่วยลดระยะเวลาแห่งการเรียนรู้ผ่านการตกผลึกทางความคิดและการทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับนักกฎหมาย ทนายความที่เพิ่งเข้ามาทำงานและข้อคิด ข้อระวัง ในการทำงานอีกมากมายที่จะได้รับจากทนายผู้นี้ ความรู้จากการทำงานเคลื่อนไหว กลายมาเป็นทักษะพื้นฐานในการเป็นทนายความ ทนายนคร : วงสมัยเป็นนักศึกษา ภารกิจการเคลื่อนไหว คือ การทำงานจัดตั้งทางความคิดให้แก่ประชาชน  โดยกระบวนการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา  จะมีการทำงานความคิดทั้งในด้านกว้างและด้านลึก การทำงานด้านกว้าง คือ การเคลื่อนไหวที่สร้างผลกระทบทางความคิดด้านการจัดการปัญหาสังคม  ให้ประชาชนทั่วๆ ไปมาสนใจกับปัญหาของตนเองและหาทางแก้ไข  ส่วนนักศึกษาด้วยกันเองทำให้เกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคม  จนเกิดสามประสาน คือ นักศึกษา กรรมกร ชาวนา ให้เกิดการรวมตัวที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ […]

เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม…

  …เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม… ลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อแม่ต้องถูกดำเนินคดี และถูกคุมขังนานกว่า 40 วัน เพราะหาเงินประกันตัวไม่ได้ เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้าไปสัมผัสกับกระบวนการยุติธรรม เธอเป็นเกษตรกร เป็นคนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน และที่สำคัญเธอเป็น “แม่” เธอคือ วิไลวรรณ กลับนุ้ย หนึ่งในจำเลยคดี “ชุมชนน้ำแดง” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร วิไลวรรณ กลับนุ้ย ได้ร่วมกับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินจำนวนหนึ่ง ในนามสหพันธ์เกตรกรภาคใต้ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกษตรกรไร้ที่ดินเหล่านี้ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม แต่การปฏิรูปที่ดินก็ดำเนินไปอย่างล้าช้า เกษตรกรแต่ละกลุ่มภายใต้การนำของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จึงได้เข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่แบบโฉนดชุมชน วิไลวรรณและเกษตรกรจำนวนกว่าร้อยคน ได้เข้าครอบครองที่ดินที่เอกชนปล่อยทิ้งร้าง และร่วมกันก่อตั้งเป็น “ชุมชนน้ำแดงพัฒนา” ขึ้น ที่ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ตั้งแต่ ปี 2552 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการปลูกทั้งพืช เศรษฐกิจ คือปาล์มน้ำมัน และพืชอาหาร […]

1 2