โควิด19

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม? ความสมดุลของการใช้อำนาจในสถานการณ์โควิด19

ประชาชนทั่วโลก รวมถึงประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยในประเทศไทย ได้ประกาศให้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว จากเดิมทีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ได้มีการพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 ครั้ง กระทั่งในปัจจุบัน การบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 การต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลง หรือในบางวันไม่มียอดผู้ติดเชื้อเลย และประชาชนต่างเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป จึงเกิดการตั้งคำถามว่า “ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม?” ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องถูกจำกัดลง มันคุ้มค่า หรือมากเกินความจำเป็น?   การใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องเป็นการใช้อำนาจเพียงชั่วคราว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงภาวะที่ประชาชนมีความจำเป็นที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สถานการณ์คือ ในภาวะปกติกับในภาวะที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาได้อย่างเต็มที่ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากอยู่ในสถานการณ์พิเศษหรือฉุกเฉิน เช่น มีจลาจล ภัยสงคราม หรือมีการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น […]

จดหมายเปิดผนึก ขอให้พิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรับฟังประชาชน เพื่อแก้ปัญหาโควิด 19

สถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศทั่วโลก และมีผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน เหตุการณ์นี้มอบโจทย์ความท้าทายให้แก่ผู้บริหารและประชาชนของแต่ละประเทศว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้อย่างไร โดยไม่ทิ้งผู้ใด หรือคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง โดยที่ผ่านมาองค์กรสหประชาชาติได้ออกคำแนะนำให้แต่ละประเทศมีมาตรการที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค และยังเคารพต่อสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพราะพื้นฐานของการก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดนี้อย่างยั่งยืน ภาครัฐต้องเคารพสิทธิของประชาชนและได้รับความร่วมมือที่ดีของประชาชนทุกคน ในประเทศไทยก็ใช้ทั้งมาตรการที่ออกมาควบคุมการใช้ชีวิตและการสร้างความตระหนักให้เกิดในหมู่ประชาชน คณะรัฐบาล นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกข้อกำหนดมาเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 ฉบับที่ 1-7 ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้พื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ อีกทั้งมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 23.00 – 04.00 น. ซึ่งจากเดิมเป็นเวลา 22.00 – 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็น และได้มีการต่ออายุออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้รับเสียงสะท้อนจากสมาชิก และเครือข่ายผู้ที่ทำงานผลักดันประเด็นทางสังคม ถึงผลกระทบและความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการบางประการ ถึงแม้จะมีการผ่อนมาตรการบางประการในปัจจุบัน แต่ยังไม่ตอบสนองถึงปัญหาของกลุ่มคนที่หลากหลาย อีกทั้งมาตรการเยียวยาต่อสถานการณ์ที่ไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ผู้คนยิ่งได้รับผลกระทบและความยากลำบากในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น […]

เสนอยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคุมโควิด19 – ใช้ concept รักษาคน ควบคุมโรค ไม่ใช่ควบคุมคน รักษาโรค และการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : นิมิตร์ เทียนอุดม กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่มีโรคไวรัสโควิด19 ระบาดอย่างเช่นปัจจุบัน ในภาวะที่ประชาชนต่างก็ขาดรายได้ และประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมสำหรับการรับมือเมื่อต้องเจ็บป่วย ขาดงาน และขาดรายได้ การมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีในประเทศ และพร้อมจะดูแล เยียวยาประชาชนจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และร่วมผลักดันไปด้วยกัน

กลุ่มผู้หลากหลายทางเพศเสี่ยงถูกเลือกปฏิบัติ-รับผลกระทบหลายด้านในภาวะโควิด19 ระบาด – หากจะแก้ปัญหา รัฐควรรับฟังปัญหา : ชิษณุพงศ์ นิธิวนา ผู้ก่อตั้ง Young Pride Club

สถานการณ์การระบาดอย่างร้ายแรงของโควิด19 ในปัจจุบัน กลุ่มหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติเช่นกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ หลายคนถูกพักงาน รายด้านลดลง เนื่องจากส่วนมากทำงานในด้านบันเทิงและการท่องเที่ยว อีกทั้งยังได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าเกณฑ์การได้รับมาตรการเยียวยาจากรัฐด้วย

โควิด-19 เพิ่มความท้าทายการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ-รัฐควรคำนึงถึงสภาพเฉพาะของกลุ่มคนพิการแต่ละประเภท : นฤมล กาญวงษา กลุ่มผู้พิการ

เดิมทีการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ แม้จะมีพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่กำหนดสิทธิที่คนพิการควรจะได้รับมากมาย แต่ในทางปฏิบัติคนพิการไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในภาวะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระบาด ปัญหาการเข้าถึงสิทธิของคนพิการก็เป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถรับรองคนทุกกลุ่มได้

ไม่ใช่แค่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯควบคุมโควิด-19 สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษอีก 2 ฉบับ ไม่ใช่เฉพาะภาวะฉุกเฉิน-จำเป็น : อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลา

สถานการณ์โควิด19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนเยอะพอสมาควรเมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัดอื่น เหตุเพราะมีผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษทับซ้อนกันถึง 3 ฉบับอยู่แล้วมาเนิ่นนานกว่า 10 ปี

แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ตกหล่นจากการได้รับสิทธิเยียวยาจากรัฐในภาวะโควิด19 ระบาด : ปสุตา ชื้นขจร ผู้ประสานงานโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ

สิทธิของแรงงานข้ามชาติเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากเป็นแรงงานที่ตกหล่นจากการที่จะได้รับการเยียวยาจากรัฐ เพราะส่วนมากจะเป็นแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ อีกทั้ง มาตรการมากมายภายในประเทศยังมีเงื่อนไขแต่เพียงการมุ่งเยียวยาแต่ประชาชนที่มีสัญชาติไทยเพียงเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังมานาน และถูกฉายชัดขึ้นในภาวะโรคระบาดนี้

แนวโน้มคนไร้บ้านมากขึ้นหลังโควิด19 – ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีที่อยู่ มาตรการของรัฐยังซ้ำเติมกลุ่มคนไร้บ้าน : นพพรรณ พรหมศรี กลุ่มคนไร้บ้าน

สถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดโควิด19 เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มคนไร้บ้านได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องมาจากมาตรการของรัฐที่ออกมายับยั้งการระบาดของโควิด19 มีการกำหนดระยะเวลาห้ามออกจากเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กลุ่มคนไร้บ้านไม่มีแหล่งอาศัยถาวร จึงเปนกลุ่มคนหนึ่งที่ลำบากมากในภาวะเช่นนี้ มากไปกว่านั้น สถานการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ คนไร้บ้านจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกช่วงหลังโควิด19 ผ่านไป

รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบและเยียวยาลูกจ้างที่ตกหล่นจากการคุ้มครองของรัฐ ในภาวะโควิด19ระบาด : คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ เครือข่ายทนายสิทธิแรงงาน

สถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาด ส่งผลกระทบมากมายต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ มีหลายกิจการต้องผิดตัวลง เนื่องจากผลประกอบการที่ลดลง และได้รับผลการทบจากการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่กระจายของโรค มีบางกิจการที่ถูกประกาศให้ปิดตัวโดยรัฐ แต่ก็มีบางกิจการที่ต้องปิดตัวลงเอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการจ้างงานของผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบลูกจ้าง ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของทนายคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ผู้คลุกคลีกับเครือข่ายแรงงานมานาน กับมาตรการที่อยากให้รัฐลงมาดูแลเยียวยาลูกจ้างที่ถูกเอาเปรียบในภาวะเช่นนี้

1 2