บทความน่าสนใจ

เบื้องหลังการหายไปมีเรื่องราว : การหายไปของบิลลี่และจิตวิญญาณชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานที่ปลิดปลิว

ในทุกรอบปีของวันที่มีคนหายไป หรือทุกรอบปีของวันคนหายสากล ครอบครัวของคนที่หายไปยังคงเฝ้ารำลึกถึงคนหาย รำลึกถึงอย่างภูมิใจปนทรมานใจในการต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อสังคมที่ดีขึ้น ทุกคนหวังว่าความเป็นธรรมจะเกิดขึ้น กฎหมายจะปกป้องผู้คนจากเหตุการณ์เหล่านี้ หวังว่าเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ใดอีก และหวังว่าหากมีผู้ใดต่อสู้ พวกเขาจะชนะ และไม่หายไปตลอดกาล

การซ้อมทรมานคดีความมั่นคง ในสามจังหวัดชายแดนใต้: แด่ อับดุลเลาะ อีซอมูซอ ผู้จากไป

  หากพูดถึง “การซ้อมทรมาน” หลายคนที่ได้ยินคำนี้คงเกิดข้อสงสัยว่าการซ้อมทรมานคืออะไร เกี่ยวข้องกับ                                                คดีของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ อย่างไร

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการถูกฟ้องคดีเมื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ: กรณี นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายคนถูกแจ้งความดำเนินคดีและตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของประชาชน การดำเนินคดีเช่นนี้ เรียกว่าการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน(SLAPPs)

คนโรคจิตที่มีความสุขเมื่อเห็นความขัดแย้งจากข่าวที่ตัวเองเขียนขึ้นมา

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 24 พฤษภาคม 2562 การเขียนข่าวโจมตีแบบเกาะติด/กัดไม่ปล่อยกรณีการถือหุ้นสื่อของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ของสำนักข่าวอิศราที่ถูกชี้นำบงการโดยประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ได้สร้างความคลางแคลงใจให้กับสาธารณชนประการหนึ่งว่าเหตุใดถึงไม่เขียนข่าวโจมตีฝั่งตรงข้ามธนาธรบ้าง หรือเหตุใดข่าวที่เขียนโจมตีฝั่งตรงข้ามธนาธรถึงมีเนื้อหาเบาบางและไม่มีลักษณะเกาะติด/กัดไม่ปล่อยเช่นเดียวกัน ยังมีคำถามต่อเนื่องอีกว่าประสงค์และสำนักข่าวอิศราเขียนข่าวรับใช้หรือตามใบสั่งใคร คำถามนี้ค่อนข้างตอบยากกว่าคำถามแรก เพราะถ้ามีจริง, พวกเขาคงไม่แสดงใบเสร็จและพยานหลักฐานให้ใครเห็นอย่างแน่นอน แต่ทั้งสองคำถามก็พอจะอนุมานจากพฤติกรรมบุคคลและองค์กรได้ว่าทั้งประสงค์และสำนักข่าวอิศรามีความผิดปกติอย่างหนึ่งอันมีที่มาจากพฤติกรรมการเขียนข่าวแบบไม่สืบสวนหาข้อเท็จจริงมาอย่างยาวนาน อาการเขียนข่าวแบบหลงผิดว่าข่าวที่ตัวเองเขียนมีลักษณะเป็นกระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวนหรือเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงรอบด้าน ทั้ง ๆ ที่เขียนข่าวแบบเปิดโปงความขัดแย้งในองค์กรต่าง ๆ มากกว่า ซึ่งเป็นการเขียนที่ง่ายกว่าเพราะไม่ได้ใช้ความสามารถและเวลามากนัก ต่างกับการเขียนข่าวเชิงสืบสวนหรือเจาะลึกที่ต้องใช้ความสามารถและอดทนกับการใช้เวลามากขึ้นในการค้นคว้าหาหลักฐานแล้วตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงรอบด้าน ได้ทำให้ประสงค์และสำนักข่าวอิศรามักง่าย สะเพร่าและหลงเชื่อในแหล่งข่าวที่ให้ข่าวง่ายเกินไปเสียจนเกิดความผิดพลาดได้ ในแวดวงสื่อมวลชนที่คลุกคลี คร่ำหวอด รู้จักคุ้นเคยกันดีกับประสงค์หลายคนพูดให้ฟังว่าการเขียนข่าวแนวถนัดของประสงค์ในช่วงหลัง ๆ คือโจมตีการคอร์รัปชั่นโดยบุคคลในองค์กร/หน่วยงานต่าง ๆ เป็นหลัก “เขาจะไม่โจมตีนโยบาย เพราะเรื่องนโยบายมันเป็นเรื่องต้องค้นคว้า ต้องศึกษา ขุดคุ้ยเยอะ ใช้เวลา หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่าง ๆ แต่เรื่องโจมตีบุคคลแค่โทรคุยหรือแช็ทไลน์กะแหล่งข่าวหรืออ่านเอกสารสองสามแผ่นก็เขียนข่าวได้แล้ว ง่ายกว่าเยอะ” ผู้รู้จักคุ้นเคยกันดีกับประสงค์คนหนึ่งกล่าว แต่น่าสนใจตรงที่การเขียนข่าวแนวนี้ประชาชนทั่วไปชอบทั้ง ๆ ที่เป็นการเขียนข่าวที่ตั้งบรรทัดฐานทางศีลธรรมให้แก่คนอื่นแบบมักง่ายเกินไปก็ตาม และไม่ใช่ประชาชนอย่างเรา ๆ เท่านั้นที่ชอบ ข่าวที่ประสงค์เขียน (และใช้อำนาจครอบงำให้สำนักข่าวอิศราเขียน) ถูกอ่านโดยเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารและกรรมการในองค์กรอิสระและหน่วยงานราชการจำนวนมาก เหตุที่ต้องอ่านอาจจะไม่ใช่ความชอบแนวข่าวที่ประสงค์เขียนแต่ต้องอ่านเพื่อตรวจดูว่าประสงค์เขียนข่าวเล่นงานองค์กร/หน่วยงานพวกเขาหรือไม่ อย่างไร […]

วิชาชีพทนาย: ผู้ใช้กฎหมายรักษาความยุติธรรมกับการตกเป็นเป้าหมายในการฟ้องกลั่นเเกล้ง

กรณีนายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ ถูกนายทุนที่ดินใน จังหวัดลำพูนแจ้งความดำเนินคดี ฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ พร้อมกับชาวบ้านบ้านสันตับเต่า อีก 2 ราย ข้อหาเบิกความเท็จ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พยานหลักฐานที่นายทุนกล่าวหายังไม่มีน้ำหนักที่จะสามารถส่งฟ้องได้ นัดครั้งที่ผ่านมาจึงถือเป็นนัดเรียกพบ โดยกำหนดนัดครั้งต่อไปคือวันที่ 15 มีนาคม 2562 ต่อมาวันนี้ (14 มีนาคม 62) พนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน แจ้งมายังทนายสุมิตรชัยว่า สำนวนคดีเบิกความเท็จและนำสืบพยานเท็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐาน ของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ดังนั้นการนัดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 15 มีนาคม 2562 นี้ จึงขอเลื่อนการแจ้งข้อกล่าวหาไปไม่มีกำหนด (ข้อมูลจาก Facebook ศูนย์ข้อมูลพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ข้อสังเกตต่อกรณี การเเจ้งความดำเนินคดีกับทนายสุมิตรชัย ในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ เเละชาวบ้าน 2 ราย ข้อหาว่าความเท็จ กรณีดังกล่าวนี้สามารถบอกอะไรกับสังคมได้พอสมควร  ประการแรก กรณีที่นายทุนที่ดิน ผู้เข้าเเจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สภ.เมืองลำพูน […]

การแย่งยึดที่ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 26 มกราคม 2562 ถ้าตัดเรื่องการเลือกตั้งที่มีความสำคัญมากต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตบ้านเมืองออกไป  เหตุเพราะมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งประกาศออกมาแล้ว  และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แล้ว  ปัญหาเร่งด่วนอันดับแรกคือปัญหาเรื่องมลภาวะในอากาศที่เผชิญกับฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในขณะนี้ จนถึงวันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานกระจายไปทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่หยุด  ขนาดเกิดวิกฤติถึงขั้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถึง 2-3 เท่า  และมีค่าเกินมาตรฐานต่อเนื่องตลอดเดือนมกราคม  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังไม่เสนอให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 9 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะ “คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ” คงกลัวความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจนอาจส่งผลกระทบทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ตก ขณะที่หลายหน่วยงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนต้องปรับเวลาทำงานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการออกมาเผชิญผลกระทบจากภาวะมลพิษในอากาศช่วงเช้ากันแล้ว  และมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยต้องลาป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้จากโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้  แต่อธิบดี คพ. ยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะยังไม่ประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์ของประเทศ นี่แหละสมองของระบบราชการในองคาพยพรัฐเผด็จการ  ที่หน่วยงานหนึ่งคือ […]

เรื่องเล่าการปล่อยชั่วคราว : หลักการที่สวยงาม ความฝันของการปฏิรูป และความจริงที่เป็นอยู่

โดยหลักการแล้ว…. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และเกี่ยวพันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด (The Presumption of Innocent) เพราะหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เขาต้องถูกส่งไปขังไว้ที่เรือนจำ ต้องตัดผม ต้องใส่ชุดนักโทษ บางครั้งต้องใส่ตรวนออกมาศาล ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสภาพไม่ต่างจากนักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด สิทธิที่จะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่  หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับโจทก์ นอกจากนี้ การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการกำหนดประกันหรือหลักประกันไว้สูงเกินไปจนผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถหาหลักประกันมาวางเพื่อการปล่อยชั่วคราวได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความกดดันทางอ้อมให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยอมรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดและถูกปล่อยตัวออกมาโดยเร็ว ด้วยผลกระทบมากมายที่มี  กฎเกณฑ์ทั้งระดับสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองจึงรับรองสิทธิประการดังกล่าวไว้  โดยให้ถือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือการควบคุมตัวไว้ระหว่างดำเนินคดีให้เป็นข้อยกเว้น  เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและการมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี (เพราะคดีอาญาถือหลักว่าการพิจารณาคดีต้องทำต่อหน้าจำเลย) รวมถึงการมีตัวในการบังคับโทษตามคำพิพากษา กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 (3) กำหนดไว้ว่า  “…ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณาและจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” และ “คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวถือเป็นเรื่องที่มีปัญหาและได้รับการพูดถึงมาตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาลมักให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องพบกับความยากลำบากในการหาหลักทรัพย์มาใช้ประกันตัวเอง ในความพยายามแก้ไขและความฝันของการปฏิรูป  […]

เส้นทาง “เดิน..เทใจให้เทพา” ภายใต้กฎหมายชุมนุมสาธารณะ

เราจะไปยื่นหนังสือต่อนายก ปกป้องบ้านของเรา เราเดินกันไปอย่างสงบ แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้  ผมมาเดินตั้งแต่วันแรก ไม่เคยคิดว่าจะโดยจับ จำเลยหมายเลข 13 เจ้าหน้าที่ประกบผมสามคน เขาจับแขนผม บอกว่าขอเชิญตัว ผมบอกว่า ผมบอกว่าผมขอเดินไปเอง เขาให้ผมไปขึ้นรถตู้ ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรผมเลย จำเลยหมายเลข 1 ในทางหลักการแล้ว เราถือว่าเสรีภาพในการชุมนุม  เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย เพราะหลักการพื้นฐานประการหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยคือ หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งเสรีภาพในการชุมนุมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองและนโยบายสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นไปยังตัวแทน และยังเปิดพื้นที่ในถกเถียงแลกเปลี่ยน การโน้มน้าวจิตใจของผู้คนในสังคมให้มีเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านข้อเสนอของตน และที่สำคัญเสรีภาพในการชุมนุมยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองของประชาชนคนด้อยอำนาจเพื่อให้เข้าถึงสิทธิทางการเมือง เข้าทรัพยากร และเข้าถึงสิทธิเสรีภาพอื่นๆอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในมุมมองของรัฐที่ไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยและค่อนไปทางอำนาจนิยม มักจะมองว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเป็นการก่อความวุ่นวาย ทำให้เกิดความไม่สงบ และเป็นพวกไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง รัฐจึงต้องหาวิธีจัดการ เสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and  Political Rights (ICCPR)) ข้อ 21 ที่ระบุว่า “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข […]

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]

มองคดี “เดิน..เทใจให้เทพา” ผ่านคดี “ท่อก๊าซไทย-มาเล” ว่าด้วยด้ามธง ต่อสู้ขัดขวาง ปิดทางจราจร และการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

ตลอดเดือนสิงหาคม ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 17 คน ต้องเดินทางแวะเวียนมาขึ้นศาลแทบทุกอาทิตย์  พวกเขาเหล่านี้ตกเป็นจำเลยจากการจัดกิจกรรมที่เรียกสั้นๆว่า “เดิน…เทใจให้เทพา” เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2560 “เดิน…เทใจให้เทพา” เป็นการเดินเท้าจากชุมชนบางหลิง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมีการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยเริ่มต้นเดินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. สัญจร ที่จัดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่มาคดีเดินเทใจให้เทพา ในวันแรกของการเดิน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งว่าการทำกิจกรรมของพวกเขาเข้าข่ายการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ทันที่ที่ทราบเรื่องดังกล่าวเครือข่ายก็ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพาในวันเดียวกันนั้น และได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาในวันถัดมาคือ 25 พฤศจิกายน 2560  อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เครือข่ายฯเลิกเดินภายในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ทางเครือข่ายเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำเป็นการใช้สิทธิที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว พวกเขาจึงดำเนินกิจกรรมต่อไป พวกเขายังเดินต่อไปได้  […]

1 2 3 4 5 7