admin

[HRLAxMember] ข้อบังคับแต่งกายทนายความ ไม่ห้าม = ไม่ผิด จริงหรอ?

บทสัมภาษณ์วันนี้ ชวนพูดคุยประเด็น “ข้อบังคับแต่งกายทนายความ ไม่ห้าม = ไม่ผิด จริงหรอ?” กับ พูนสุข พูนสุขเจริญ 

พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ “เม” จากอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนของเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สู่การเป็นสมาชิกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

ความคืบหน้าคดีธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทอังคณา นีละไพจิตร

4 สิงหาคม 25S63 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนมูลฟ้องในคดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องดำเนินคดีต่อกับอังคณา นีละไพจิตร ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 326, 328 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีการทวีตข้อความสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตรดำเนินคดีก่อนหน้านี้ พร้อมแนบลิ้งก์ที่ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์ยุติการฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาในเเถลงการณ์ได้อ้างถึงคลิปวิดีโอที่อดีตเเรงงานข้ามชาติของบริษัทธรรมเกษตรได้ให้สัมภาษณ์ในทวีตเตอร์ส่วนตัว 

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ

16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มพล เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ฟ้องดำเนินคดีต่องามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328

รับสมัครเจ้าหน้าที่ฝ่ายสมาชิก 1 อัตรา

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Human Rights Lawyers Association (HRLA) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ไม่ใช่องค์กรสังกัดรัฐ องค์กรของเราก่อตั้งขึ้นด้วยการร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ รวมถึงคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการให้มีพื้นที่เชื่อมประสานและสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรของเราก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยจดทะเบียนเป็นองค์กรตามกฎหมายในปี 2556 เราทำงานอยู่ 3 ด้านหลักๆ คือ 1) งานเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย 2) งานคดียุทธศาสตร์ เป็นการใช้มาตรฐานทางกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม แนวปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายในภาพรวมที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชน 3) งานข้อมูล วิชาการและงานสื่อสาร ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน เรามีประเด็นยุทธศาสตร์ในการทำงานหลักๆ อยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ (1) การเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และ (2) การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือ การฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs)   คุณสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขา มีความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม […]

อัยการสั่งไม่ฟ้องสมาชิกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

ภายหลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ผู้รับผิดชอบได้มีความเห็นส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมส่งตัวนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณและนายเรืองยศ  สินธิโพธิ์ สมาชิกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ต่อพนักงานอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562

บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะกองทุนยุติธรรม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน อาศัยการมีส่วนร่วมตาม มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้รวบรวมประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล เผยแพร่ต่อสาธารณะ ตลอดจนนำไปสู่การจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดของกองทุนยุติธรรม

จากองค์ประกอบโครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ของกองทุนยุติธรรม ไม่ได้ยึดโยงภาคประชาชนทำให้มุมมองการพิจารณาถึงที่มาปัญหาการที่ชาวบ้านต้องถูกฟ้องคดี จนนำมาสู่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมนั้น ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยื่นรายชื่อทนายความแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้าพบสภาทนายความ ยื่นรายชื่อทนายความจำนวน 126 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแต่งการของทนายความหญิง และเข้าหารือปัญหาสิทธิในการเข้าถึงทนายความ

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม? ความสมดุลของการใช้อำนาจในสถานการณ์โควิด19

ประชาชนทั่วโลก รวมถึงประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยในประเทศไทย ได้ประกาศให้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว จากเดิมทีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ได้มีการพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 ครั้ง กระทั่งในปัจจุบัน การบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 การต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลง หรือในบางวันไม่มียอดผู้ติดเชื้อเลย และประชาชนต่างเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป จึงเกิดการตั้งคำถามว่า “ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม?” ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องถูกจำกัดลง มันคุ้มค่า หรือมากเกินความจำเป็น?   การใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องเป็นการใช้อำนาจเพียงชั่วคราว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงภาวะที่ประชาชนมีความจำเป็นที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สถานการณ์คือ ในภาวะปกติกับในภาวะที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาได้อย่างเต็มที่ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากอยู่ในสถานการณ์พิเศษหรือฉุกเฉิน เช่น มีจลาจล ภัยสงคราม หรือมีการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น […]

1 4 5 6 7 8 32