Anti-SLAPP

รายงาน “สถานการณ์การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย: มีกลไกกลั่นกรองแล้วแต่ทำไมแนวโน้มคดียังสูงขึ้นต่อเนื่อง”

รายงานสถานการณ์การฟ้องคดีปีปากในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐไทยอธิบายต่อสังคมว่ามีกลไกกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพอยู่เเล้ว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 พ.ร.บ.อัยการ มาตรา 21 และระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน หรือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ รวมถึงภาครัฐ โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ผลักดันแผนว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งบรรจุประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ) จากการถูกฟ้องคดี

กลไกและกระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจยับยั้งคดีSLAPPได้: ต่างประเทศจึงมีAnti-SLAPP Law

หากติดตามสถานการณ์การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้น ข่มขู่หรือกดดันประชาชนที่สนใจและอยากลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือที่เรียกว่า SLAPP ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องต้องเผชิญการคุกคาม เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสู้คดี และทำให้กิจกรรมหรือประเด็นที่เคลื่อนไหว เรียกร้องต้องหยุดชะงักลง

ความคืบหน้าคดีธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทอังคณา นีละไพจิตร

4 สิงหาคม 25S63 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนมูลฟ้องในคดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องดำเนินคดีต่อกับอังคณา นีละไพจิตร ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 326, 328 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีการทวีตข้อความสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตรดำเนินคดีก่อนหน้านี้ พร้อมแนบลิ้งก์ที่ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์ยุติการฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาในเเถลงการณ์ได้อ้างถึงคลิปวิดีโอที่อดีตเเรงงานข้ามชาติของบริษัทธรรมเกษตรได้ให้สัมภาษณ์ในทวีตเตอร์ส่วนตัว 

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้