หนังสือ/รายงาน SLAPPs

หนังสือ “เมื่อกฎหมายถูกใช้เป็นอาวุธ : เรื่องราวของนักปกป้องสิทธิที่ถูกฟ้องปิดปาก”

“การฟ้องคดีปิดปาก” หรือ “ตบปาก” หรือ “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (Strategic Lawsuits Against Public Participation) หรือ SLAPPs (สแลป)[1] ถูกอธิบายว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อข่มขู่ ตอบโต้ ลงโทษบุคคลที่ออกมาพูด แสดงออก ร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือเรื่องที่มีความสำคัญในทางสังคม รวมถึงส่งสัญญาณเพื่อข่มขู่บุคคลอื่นไม่ให้พูดถึงหรือเข้าไปยุ่งกับเรื่องนั้น ๆ ด้วย การฟ้องคดีปิดปาก เป็นเครื่องมือที่รัฐหรือภาคธุรกิจบางส่วนนิยมใช้ในยุคปัจจุบัน เพื่อคุกคามและทำให้ผู้คนหยุดวิพากษ์วิจารณ์หรือตรวจสอบการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐและภาคธุรกิจ การฟ้องคดีเป็นเครื่องมือคุกคามที่ดูผิวเผินแล้วไม่รุนแรง ถามยังดูมีความชอบธรรม เพราะอยู่ภายใต้เสื้อคลุมของกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากการคุกคามทายกายภาพต่อชีวิตและร่างกาย อย่างไรก็ดี ผลกระทบก็อาจนักหนาไม่ต่างกัน เพราะการฟ้องคดีได้สร้างผลกระทบที่ซึมลึก สร้างตราบาปให้ผู้คน สร้างภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ในการไปศาล ในการประกันอิสระภาพ บางคนอาจตกงาน และบ่อยครั้งใช้ได้ผลในการปิดปากทั้งผู้ถูกฟ้องและคนอื่น ๆ แม้สุดท้ายการต่อสู้คดีถึงที่สุด ศาลอาจยกฟ้อง แต่ก็ยากที่ผู้ถูกฟ้องจะเข้าถึงการเยียวยา ในปี 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้พยายามรวบรวมข้อมูลคดีที่เข้าข่ายฟ้องปิดปากจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เราพบว่า ตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีคดีที่เข้าข่ายการฟ้องปิดปากมากกว่า 200 กรณี ทั้งเป็นการฟ้องโดยภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายเป็นทั้งแกนนำชาวบ้าน นักกิจกรรม […]

รายงาน “สถานการณ์การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย: มีกลไกกลั่นกรองแล้วแต่ทำไมแนวโน้มคดียังสูงขึ้นต่อเนื่อง”

รายงานสถานการณ์การฟ้องคดีปีปากในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐไทยอธิบายต่อสังคมว่ามีกลไกกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพอยู่เเล้ว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 พ.ร.บ.อัยการ มาตรา 21 และระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน หรือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ รวมถึงภาครัฐ โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ผลักดันแผนว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งบรรจุประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ) จากการถูกฟ้องคดี

รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี

บทนำ การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public Participation) ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคมสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ สิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการเข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะ มักจะถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การทำลายภาพลักษณ์ การเยี่ยมบ้าน การทำร้ายร่างกาย การใช้กองทัพหรือตำรวจปราบปราม การลอบสังหาร การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในปัจจุบันคือ “การคุกคามด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” การคุกคามการด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะการฟ้องคดีต่อบุคคลที่เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะนั้น มักถูกเรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) บางครั้งอาจเรียกว่า “การฟ้องปิดปาก” SLAPPs มักถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่บริษัทเอกชนและรัฐฟ้องคดีต่อนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว แกนนำหรือสมาชิกชุมชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น […]