พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม? ความสมดุลของการใช้อำนาจในสถานการณ์โควิด19

ประชาชนทั่วโลก รวมถึงประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยในประเทศไทย ได้ประกาศให้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว จากเดิมทีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ได้มีการพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 ครั้ง กระทั่งในปัจจุบัน การบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 การต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลง หรือในบางวันไม่มียอดผู้ติดเชื้อเลย และประชาชนต่างเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป จึงเกิดการตั้งคำถามว่า “ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม?” ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องถูกจำกัดลง มันคุ้มค่า หรือมากเกินความจำเป็น?   การใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องเป็นการใช้อำนาจเพียงชั่วคราว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงภาวะที่ประชาชนมีความจำเป็นที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สถานการณ์คือ ในภาวะปกติกับในภาวะที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาได้อย่างเต็มที่ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากอยู่ในสถานการณ์พิเศษหรือฉุกเฉิน เช่น มีจลาจล ภัยสงคราม หรือมีการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น […]