admin

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ส.ส.รังสิมันต์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลังอภิปรายเรื่อง #ป่ารอยต่อ

จากกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้รับหมายเรียกจากสน.บางขุนนนท์ ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563 ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เนื่องจาก มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอย 5 จังหวัด โดยพ.อ.ภิญโญ บุญทรงสันติกุล ได้รับมอบอำนาจให้แจ้งความกล่าวหานายรังสิมันต์ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 เกี่ยวกับมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

ข้อเรียกร้องต่อกรณีการจากไปของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ โดยก่อนหน้านั้นมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของนายคณากร ที่มีสาระสำคัญกล่าวถึงการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษาภาค

การใช้ดุลพินิจในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีลักษณะตัดสินการกระทำของผู้ขอรับความช่วยเหลือ ว่ามีความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด

การใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการ ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ซึ่งออกตามมาตรา 18 (2) มาตรา 26 วรรคสอง มาตรา 27 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 ข้อ 11

ทำความรู้จัก…คดีวิสามัญฆาตกรรม

การวิสามัญฆาตกรรม คือ การตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีการใช้ถ้อยคำนี้ในกฎหมายหลักอีกต่อไป แต่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปก็ยังมีการใช้คำว่าวิสามัญฆาตกรรมอยู่ และคำนี้ยังคงปรากฏในระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน เช่น ในระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 เป็นต้น
เมื่อเกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมขึ้น คดีจะถูกแบ่งออกเป็น 3 สำนวนที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ คือ คดีชันสูตรพลิกศพ คดีที่ผู้ตายตกเป็นผู้ต้องหา และคดีที่เจ้าหน้าที่ตกเป็นผู้ต้องหา/คดีวิสามัญฆาตกรรม

ขยายเวลา: ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแต่งกายของทนายความหญิง

เนื่องด้วยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528  มาตรา 51 บัญญัติว่า “ทนายความต้องประพฤติตนตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ การกำหนดมรรยาททนายความให้สภาทนายความตราเป็นข้อบังคับมรรยาททนายความ…”  

‘ค่าน้ำ’ ในกฎหมายน้ำ จะทำให้เกิดอภิสิทธิ์และความเหลื่อมล้ำ

ปีกว่า ๆ ของการประกาศใช้บังคับกฎหมายน้ำ หรือพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561  ที่จำแลงคําสั่งหัวหน้า คสช. 3 ฉบับ  ได้แก่  46/2560, 52/2560 และ 2/2561 มาเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ  โดยประสงค์จะรวมศูนย์การบริหารจัดการน้ำ  เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาด้านน้ำกระทำโดยหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกันไปตามกฎหมายหลายฉบับ

ทางกลับบ้าน

ในช่วงเย็นย่ำของวันหนึ่ง พอรถขับเข้ามาสู่เขตโป่งลึก-บางกลอย ป่าที่เป็นสีเหลืองแห้งแล้ง แปรเปลี่ยนเป็นป่าที่เขียวชอุ่ม ทั้งสองข้างทางมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นเรียงราย เราใช้เวลาขับรถมาที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษๆ และหายเหนื่อยล้าในทันทีเมื่อได้เห็นความงดงามของผืนป่าแห่งนี้ เราแวะจอดข้างทางเพื่อพักชมบรรยากาศรอบกาย ถ้ามองจากทางที่มาถึงทำให้เห็นสะพาน สะพานที่เป็นจุดที่มองแล้วทำให้นึกถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาคือ “บิลลี่” พอละจี รักจงเจริญ “ชายคนหนึ่งที่รักบ้านเกิดของเขาเหนือสิ่งอื่นใด ชายผู้ซึ่งพลีกายใจทำงานเพื่อมวลชน เพียงแค่เขาต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่บ้านของเขา ผืนป่าของเขา พี่น้องของเขา แต่เขากลับต้องมาตายด้วยน้ำมือปีศาจ มันคุ้มค่าแล้วหรือ”

เรียนรู้กระบวนการทางกฎหมายในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เสียชีวิตหรือวิสามัญฆาตกรรมไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งกรณีวิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน มีขั้นตอนหรือกระบวนการทางกฎหมายมากมายในการพิสูจน์ความจริงของความตาย รวมถึงพิสูจน์ความจริงในความบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ตายด้วย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐหลายส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จึงอยากชวนทุกท่านมาเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

1 7 8 9 10 11 32