กระบวนการยุติธรรม

สนส. ร่วมนิติฮับ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส. หรือ HRLA) และตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.  นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นางณัฐาศิริ เบิร์กแมน ตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) นางสาวพริม มณีโชติ และทนายความที่ได้รับความเสียหายจากข้อบังคับสภาทนายความเรื่องการแต่งกายของทนายความ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ดร. วิเชียร ชุบไธสง ขอให้สภาทนายความฯ แก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529  หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกายข้อ 20 (2) ซึ่งกำหนดให้ “ทนายความหญิงแต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” โดยขอให้แก้ไขให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความมีผลใช้บังคับ ทนายความหญิงถูกกำหนดให้ต้องแต่งกายด้วยกระโปรง ส่งผลให้ทนายความหญิงที่สวมใส่กางเกงว่าความ ต้องถูกผู้พิพากษาตักเตือน ตำหนิ ติเตียน ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 […]

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

มาตรา 112 กระบวนการยุติธรรมแบบโกงตาชั่ง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเอาผิดประชาชนที่แสดงความคิดเห็น หรือออกมามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยจากการบังคับใช้มาตรา 112 เท่าที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นปัญหาของตัวบทกฎหมาย โดยเฉพาะปัญหาในการตีความที่กว้างจนเกินขอบเขตและปัญหาการบังคับใช้ที่สร้างภาระให้กับจำเลยจนเกินสมควรจนเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

ถกถามเรื่องการปฏิรูปศาลในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม

บันทึกเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน”   ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนมากมายแสดงออกทางการเมือง ออกมาชุมนุมบนท้องถนนหรือสถานที่ต่างๆ และการชุมนุมทางการเมืองกลายมาเป็นความผิดทางกฎหมาย หรือในสถานการณ์ที่มีการออกหมายจับหรือหมายค้นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในกรณีต่างๆ และการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกบริเวณศาล หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น ทำให้ตุลาการหรือศาลเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการถกเถียงกันโดยทั่วไปว่า ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองนี้ ศาลควรจะมีบทบาทอย่างไร ในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดงานเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 เพื่อวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และทบทวนบทบาทของอำนาจตุลาการในฐานะเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน และขอบเขตของฐานความผิดละเมิดอำนาจศาล ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองของ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) และรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน   คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวเปิดงาน พร้อมตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันตุลาการท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน “ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ถ้านับช่วงอายุของตนเอง (30+) ช่วงระหว่างปี […]

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ข้อเรียกร้องต่อกรณีการจากไปของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ โดยก่อนหน้านั้นมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของนายคณากร ที่มีสาระสำคัญกล่าวถึงการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษาภาค

ชวนจับตามอง 5 เรื่องกระบวนการยุติธรรมไทย

วันที่ 10 ธันวาคม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขอเสนอ 5 เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทย ที่อยากชวนทุกคนมาร่วมกันจับตามอง และย้ำเตือนให้คิดถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเทศไทย

ปัญหาของเอกสาร (ศักดิ์)สิทธิ์ ใน ” กระบวนการยุติธรรม ” โดย กฤษดา ขุนณรงค์

“ถ้าจะพูดกันตรง ๆ วันนี้ เรายังยืนอยู่กับกฎหมายที่ยังล้าหลังมากๆ ในการจัดการทางด้านคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะระหว่างความถูกต้อง ถูกกฎหมายของชั้นศาลหรือกระบวนการยุติธรรมกับความเป็นธรรมของคนจนมันไปด้วย กันไม่ได้ มันเหมือนเหรียญคนละด้านที่อยู่ด้วยกัน ยกตัวอย่างว่าวันนี้มีที่ดินแปลงใหญ่หลายแปลงที่กลุ่มนายทุนเข้าครอบ ครองอยู่ แต่ได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาชนร่วมกับภาครัฐและองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าการเข้าครอบครองที่ดินของบริษัทหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่นายทุนถือ ครองอยู่มันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลายเป็นว่าในทางกระบวนการยุติธรรมหรือศาลยังไปยอมรับ รับรอง ปล่อยให้กลุ่มนายทุนเอาความไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมาฟ้องร้องประชาชนโดยที่ไม่ ได้มีการตรวจสอบก่อน ” ( บุญฤทธิ์ ภิรมย์ : ตุลาคม ๒๕๕๓ สัมภาษณ์ ) ผมขอยกเอาความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมาของคุณบุญฤทธิ์ ภิรมย์ สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยข้างต้น ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกันในที่นี้อีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก คุณบุญฤทธิ์ และเพื่อนบ้านอีกแปดคน เป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานบุกรุกที่ดินของเอกชน จากกรณีการเข้าตรวจสอบและรวมตัวจัดตั้งชุมชนเพื่อเข้าปฏิรูปที่ดินทำการ เกษตรบนพื้นที่ที่กลุ่มบริษัทเอกชนครอบครองปลูกสร้างสวนปาล์มขนาดใหญ่ในเขต จังหวัดสุราษฎรธานี หลังได้มีการตรวจสอบจากภาคประชาชนและองค์กรอิสระหลายหน่วยงานพบว่าบริษัท เอกชนเข้าครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งมีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาลเนื่องจากการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ยังไม่ […]

แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหมายเรียกให้นายอานนท์ นำภา ไปรับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งบิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งพันตำรวจโทสุภารัตน์ คำอินทร์  เป็นผู้แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นั้น นายอานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ใช้วิชาชีพของตนบนเส้นทางสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมมาโดยตลอด ในหลายประเด็น อาทิ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การช่วยเหลือคดีบิลลี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ถูกบังคับสูญหาย รวมถึงคดีเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน อันนำมาสู่การกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคราวนี้ด้วย พวกเรา นักกฎหมายและทนายความ ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจนายอานนท์ ในวันนี้ มีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งถือเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจของรัฐ ดังต่อไปนี้ 1.  ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม  ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา  แต่กรณีนี้ผู้กล่าวหากลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเกิดคำถามว่า  ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น  ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวหรือไม่ หากเป็นกรณที่ศาลหรือผู้พิพากษามีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้  ในทางกฎหมายก็ยังคงมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในความผิดฐานนี้     2.  การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  โดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ  การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยหลักแล้วย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจของกฎหมายและจะกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้  กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน เพราะให้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหลายประการ  การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและระมัดระวัง  มิเช่นนั้นกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกลั่นแกล้งประชาชน  3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด สืบเนื่องจากความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ […]