Year: 2019

CU See Your Rights An exhibition on human rights กิจกรรมต่างๆ กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน

ในวันที่ 28 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม CU See Your Rights An exhibition on human rights ใต้อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดแสดงผลงานจาก Thaiconsent และงานเสวนาให้หัวข้อ “สิทธิและเสรีภาพในรั้วมหาลัย”  ร่วมเสวนาโดย ผศ.ดร.วาสนา  วงศ์สุรวัฒน์, พรรณิการ์  วานิช, ณัฏฐา  มหัทธนา และพบกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ อาทิ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม , iLaw Amnesty International Thailand Friedrich – Ebert – Stiftung , มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  เป็นต้น มาทำความรู้จักกับองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นดีกว่า … มูลนิธิผสานวัฒนธรรม หรือ Cross Cultural Foundation (CrCF) กับกิจกรรม  Save your […]

คดีชาวบ้านกะเหรี่ยงดั้งเดิม ถูกจับกุมข้อหาบุกรุกในพื้นที่อุทยาน อำเภอแก่งกระจาน

วันที่ 31 มกราคม 2561 ศาลจังหวัดเพชรบุรีพิพากษาคดี โดยนางแอะนอ พุกาด จำเลย ให้การรับสารภาพ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคหนึ่ง, พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรค 1, พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (1),(13),(15), 24, 27 , พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรค 1, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 16, 19, 47  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป โดยมีรายละเอียดความผิด ดังนี้ […]

เส้นทางที่พร่าเลือน คดีไปทางไหนต่อ ผ่านไป 2 ปี หลังจากชัยภูมิ ป่าแสถูกวิสามัญฆาตกรรม

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2562 เป็นวันครบรอบ 2 ปีวันที่นายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่าชัยภูมิมียาเสพติดไว้ในครอบครองกว่าสองพันเม็ด และมีพฤติการณ์จะขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ จึงเป็นเหตุต้องวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิในขณะนั้น จนวันนี้ ผ่านไป 2 ปีที่ไม่ทราบข่าวคราวของคดีดังกล่าวนี้ เกิดคำถามว่าคดีนี้จะไปทางไหนต่อ หลังจากเกิดเหตุวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส ซึ่งเป็นการตายอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงต้องมีการชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 และ150 โดยพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ไต่สวนการตาย) เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย และญาติของนายชัยภูมิเข้าร่วมเป็นผู้ร้องซักถาม และตลอดเวลาทั้งในช่วงเวลาก่อนและหลังศาลมีคำสั่งเรื่องการชันสูตรพลิกศพ ทางญาติ ทนายความ และองค์กรที่ให้ความสนใจกรณีนี้ ได้มีความพยายามจะขอเรียกดูภาพจากกล้องวงจรปิดบริเวณด่านตรวจที่สามารถบันทึกภาพในวันเกิดเหตุเอาไว้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกแก่ประชาชนได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในเวลาที่เกิดเหตุ โดยในท้ายที่สุดสำนักงานเลขาธิการกองทัพบกได้ส่งหนังสือตอบกลับมาถึงสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนว่า “ไม่พบข้อมูลภาพใดๆจากกล้องวงจรปิดในวันที่เกิดเหตุ” (อ่านเพิ่มเติม : หนังสือตอบกลับจากสำนักเลขาธิการกองทัพบก https://www.facebook.com/naksit.org/photos/a.135675933167580/1828836647184825/?type=3&theater และ ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ป่าแสหายไป ใครต้องรับผิดชอบ? : https://naksit.net/2018/08/article/ […]

วิชาชีพทนาย: ผู้ใช้กฎหมายรักษาความยุติธรรมกับการตกเป็นเป้าหมายในการฟ้องกลั่นเเกล้ง

กรณีนายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ ถูกนายทุนที่ดินใน จังหวัดลำพูนแจ้งความดำเนินคดี ฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ พร้อมกับชาวบ้านบ้านสันตับเต่า อีก 2 ราย ข้อหาเบิกความเท็จ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พยานหลักฐานที่นายทุนกล่าวหายังไม่มีน้ำหนักที่จะสามารถส่งฟ้องได้ นัดครั้งที่ผ่านมาจึงถือเป็นนัดเรียกพบ โดยกำหนดนัดครั้งต่อไปคือวันที่ 15 มีนาคม 2562 ต่อมาวันนี้ (14 มีนาคม 62) พนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน แจ้งมายังทนายสุมิตรชัยว่า สำนวนคดีเบิกความเท็จและนำสืบพยานเท็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐาน ของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ดังนั้นการนัดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 15 มีนาคม 2562 นี้ จึงขอเลื่อนการแจ้งข้อกล่าวหาไปไม่มีกำหนด (ข้อมูลจาก Facebook ศูนย์ข้อมูลพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ข้อสังเกตต่อกรณี การเเจ้งความดำเนินคดีกับทนายสุมิตรชัย ในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ เเละชาวบ้าน 2 ราย ข้อหาว่าความเท็จ กรณีดังกล่าวนี้สามารถบอกอะไรกับสังคมได้พอสมควร  ประการแรก กรณีที่นายทุนที่ดิน ผู้เข้าเเจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สภ.เมืองลำพูน […]

สรุปงาน 15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย: พัฒนาการกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในสังคมไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงานแสดงศิลปะและเสวนาสาธารณะเนื่องในวันครบรอบ 15 ปีของการหายตัวไปของคุณสมชาย นีละไพจิตร และคดีการหายตัวไปอื่นๆ ภายในงานผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วม และญาติของผู้สูญหายที่มาและร่วมเรียกร้องความเป็นธรรม และนำคนทำผิดมาลงโทษ โดยเฉพาะการบังคับให้สูญหายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ต้องร่วมเรียกร้องให้เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อได้รับความเป็นธรรม เสียงจากญาติผู้สูญหาย คุณอังคณา นีละไพจิตร ภริยาคุณสมชาย นีละไพจิตร : ทุกๆ วันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี ดิฉันจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหายของประเทศไทยที่จะออกมาทวงถามถึงการสูญหาย ตั้งแต่วันที่คุณสมชายหายไป ดิฉันตามไปทุกที่ เพื่อให้รัฐเห็นการแสดงออกของดิฉันอย่างจริงใจ ตามไปที่ค่ายทหาร ที่ทิ้งขยะ ไปศาลทุกวันที่มีการพิจารณาคดี เผชิญหน้ากับตำรวจที่เป็นผู้กระทำความผิดทั้ง 5 คน ผ่านมา 15 ปี มีหลายสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเดือนมกราคม 2555 […]

ทนายสุมิตรชัยและชาวบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน 2 ราย เข้ารับทราบข้อกล่าวหา “นำสืบพยานหลักฐานเท็จและข้อหาเบิกความเท็จ” สภ.นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 10.00 น. ทนายสุมิตรชัย หัตถสาร และชาวบ้านบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูนอีก  2 ราย จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ที่สถานีตำรวจภูธรนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน โดยทนายสุมิตรชัยถูกแจ้งความในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ ส่วนชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จำนวน 2 ราย  ถูกดำเนิคดีข้อหาเบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง  นายสุมิตรชัย  ถูกดำเนินคดี เนื่องจากเป็นทนายให้ชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน คือ นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ ที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาเมื่อปี 2556 และศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์เมื่อปี 2557 และคดีแพ่งที่ถูกฟ้องขับไล่ ในปี 2560  โดยนายทุนได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรมลำพูน กล่าวหาว่า นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ เบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง และกล่าวหาทนายความสุมิตรชัย หัตถสาร ว่านำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีอาญา  พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความไว้และออกหมายเรียกให้นางสายทอง เตชะระ  นางสมรัตน์ วรรณภิระ และนายสุมิตรชัย หัตถสาร […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

สนส. เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา

ประกาศรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน         ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา คุณสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน และพัฒนาองค์กร มีความคิดสร้างสรรค์  ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานแบบเต็มเวลาและสามารถเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ สามารถสื่อสารและใช้ภาษาอังกฤษได้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานบริหารจัดการโครงการหรือองค์กรตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ บทบาทและความรับผิดชอบ ดังนี้ คิดริเริ่ม จัดทำแผนงาน และบริหารโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.และที่ประชุมใหญ่สนส. ส่งเสริมการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกของสมาคม เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน สื่อสารต่อสาธารณะ และประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง การสมัคร รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยส่งรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน/กิจกรรม  มาที่ อีเมล hrla2008@gmail.com รายละเอียดเพิ่มเติม

เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด : เสนอการสร้างสังคมที่ตรวจสอบ วิจารณ์คำพิพากษาอย่างสร้างสรรค์

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมอีกนับกว่า 2,500 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 แต่คดีส่วนใหญ่กลับไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวนหาตัวนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ เป็นกรณีเดียวที่สามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลได้ ซึ่งก็เกิดจากความพยายามอย่างหนักของญาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องเสี่ยงกับการคุกคามมากมาย แม้ในทางคดีจะสิ้นสุดลงแล้วโดยคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งได้มีการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จนทำให้ผลของคดีออกมาสวนทางกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  (สรุปคำพิพากษานายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง) งานเสวนาวิชาการ หัวข้อการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญา ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ที่จัดขึ้นโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีกล่าวถึงปัญหาในประเด็นการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  รวมถึงประเด็นการคุ้มครองพยาน ผ่านกรณีคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ ในงานเสวนานี้ นักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาคดี ตลอดจนประเด็นเรื่องการคุ้มครองพยานไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  มองปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ถึงชั้นพิจารณาคดี ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ   ทนายรัษฎา มนูรัษฎา คณะทำงานจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอเเละชวนตั้งข้อสังเกตในประเด็นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา “กลับ” คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยยกฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าไม่มีความผิด เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปาก นางสาว อ. มีพิรุธไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ให้การเเตกต่างไปจากการให้การไว้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์เเห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งหก ทั้งที่พยานที่สอบไว้จำนวน […]

1 5 6 7 8