CU See Your Rights An exhibition on human rights กิจกรรมต่างๆ กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน

CU See Your Rights An exhibition on human rights กิจกรรมต่างๆ กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน

ในวันที่ 28 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม CU See Your Rights An exhibition on human rights ใต้อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีการจัดแสดงผลงานจาก Thaiconsent และงานเสวนาให้หัวข้อ “สิทธิและเสรีภาพในรั้วมหาลัย”  ร่วมเสวนาโดย ผศ.ดร.วาสนา  วงศ์สุรวัฒน์, พรรณิการ์  วานิช, ณัฏฐา  มหัทธนา

และพบกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ อาทิ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม , iLaw Amnesty International Thailand Friedrich – Ebert – Stiftung , มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  เป็นต้น

มาทำความรู้จักกับองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นดีกว่า …

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม หรือ Cross Cultural Foundation (CrCF)

กับกิจกรรม  Save your self

Save your self ทำอย่างไรเมื่อถูกซ้อมทรมาน  ?

การซ้อมทรมาน หมายถึง การทำร้ายบุคคลทั้งด้าน ร่างกาย และ/หรือ จิตใจ โดยเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อบังคับให้ รับสารภาพ หรือรีดเค้นข้อมูล และบ่อยครั้ง ผู้ที่ถูกซ้อมทรมาน เป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วจะทำอย่างไรถ้าเป็นคุณ ที่ถูกซ้อมทรมาน ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ ในการเรียกร้องความเป็นธรรม ตามกฎหมาย

  1. เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนที่ไว้ใจได้ฟัง
  2. ถ่ายภาพบาดแผลเพื่อเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐาน
  3. ตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล
  4. ปรึกษากับจิตแพทย์เพราะผลกระทบ จากการซ้อมทรมาน เกิดกับร่างกายและจิตใจ
  5. ไปที่สถานีตำรวจ แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
  6. ส่งเรื่องต่อไปยังองค์กรที่ทำคดี การซ้อมทรมาน ดำเนินการช่วยเหลือต่อ

#พูดถึงเรื่องซ้อมทรมานคิดถึงผสานวัฒนธรรม

iLaw หรือ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

กับกิจกรรม ช่วยกันคนละชื่อ ปลดอาวุธ คสช.

ทวงคืนเสรีภาพในการชุมนุม

ทวงคืนเสรีภาพในการทำกิจกรรม

ทวงคืนกระบวนการยุติธรรมที่ไม่มีทหาร

ทวงคืนเสรีภาพสื่อในการวิจารณ์

ทวงคืนสิทธิการมีส่วนร่วมตัดสินใจ

ทวงคืนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

ทวงคืนสถานการณ์ปกติ

ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. …. (ฉบับประชาชน) โดยประกาศและคำสั่ง คสช. ที่เสนอให้ยกเลิก รวม 35 ฉบับ ประกอบไปด้วยประเด็นเสรีภาพการแสดงออก ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ประเด็นสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม ประเด็นเสรีภาพสื่อมวลชน

Amnesty International Thailand หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

แอมเนสตี้ ได้มีการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเหลือนักโทษทางความคิด และคนอื่นๆที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ในแต่ละกรณี เป้าหมายงานรณรงค์อาจจะมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องให้ปลดปล่อยผู้บริสุทธิ์จากการคุมขัง ผลักดันให้รัฐบาลทำตามหน้าที่ในการเคารพ ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง

ภารกิจหลักของ  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

งานรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน

– ปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

– ยุติการทรมาน

– ยกเลิกโทษประหารชีวิต

– รณรงค์เพื่อบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

งานสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน

งานผลักดันเชิงนโยบาย

– ประเด็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์และสิทธิในความเป็นส่วนตัว

– ประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย

– ประเด็นการนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

Friedrich – Ebert – Stiftung (FES)

มูลนิธิฟรีดริค  เอแบร์ท เป็นมูลนิธิทางการเมืองของประเทศเยอรมนี เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ในประเทศไทยมีภารกิจเพื่อเสรีภาพ สมานฉันท์ และความเป็นธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสที่จะใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง และมีส่วนร่วมในสังคม และมุ่งมั่นที่จะสร้างความเท่าเทียมสำหรับพลเมืองทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และปกป้องการแสดงความคิดเห็นต่อชุมชนของตนเอง โดยมีการทำงานร่วมกับองค์กรภาคีผ่านกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ได้แก่

  1. แรงงานและการเจราจาทางสังคม
  2. พลเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน
  3. สตรีนิยม
  4. การเปลี่ยนผ่านด้านสังคม – เศรษฐกิจ

นอกจากนั้นยังมีหนังสือหรือเอกสารต่างๆอีกมากมายที่นำมาร่วมกิจกรรมในงาน เช่น คำแนะแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่ โดย สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ และสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่เว็ปไซต์ของมูลนิธิ

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ หรือ Foundation For AIDS Rights (FAR)

เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ทำงานเกี่ยวกับสิทธิด้านเอดส์ สิทธิสุขภาพ สิทธิแรงงาน โดยที่ผ่านมาทำงานร่วมกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ใช้ยาเป็นหลัก มีเป้าหมายในการสร้างสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชน ทุกคนได้รับสิทธิ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากความแตกต่าง โดยยึดหลัก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง ยุทธศาสตร์หลัก จะประกอบไปด้วย

  1. ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย โดยเฉพาะนโยบาย ที่ละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชน เพื่อลดการตีตรา การเลือกปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนหรือเสนอกฎหมายที่เป็นมิตรต่อประชากร
  2. สร้างความเข้าใจกับสาธารณะ เรื่อง สิทธิ การตีตรา และการเลือกปฏิบัติ
  3. สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มประชากร มีข้อมูลและองค์ความรู้ เรื่องสิทธิมนุษยชน จนสามารถช่วยเหลือและปกป้องสิทธิตนเองได้
  4. ปกป้องคุ้มครองสิทธิ

ซึ่งมาร่วมทำกิจกรรมรณรงค์ ลงชื่อสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …. ภาคประชาชน

เสวนาหัวข้อ “ สิทธิและเสรีภาพในรั้วมหาลัย ”

สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย

กับประเด็นรับน้องและห้องเชียร์ในมหาวิทยาลัย

ผศ.ดร. วาสนาให้ความเห็นว่า “ ไม่เคยเข้าห้องเชียร์ และไม่รู้ว่ามีไว้ทำไม มีไว้เพื่อเกิดความสามัคคี เราอยู่มานานและรู้ว่า รุ่นน้องมาด้วยความยินยอม พร้อมใจ ไม่ได้ถูกบังคับมา แล้วจะมั่นใจได้ไงว่าไม่ได้ถูกบังคับ อาจารย์เอง ก็มีการขอความร่วมมือมา ถ้าไม่ทำก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เราพิสูจน์ ไม่ได้ว่าเต็มใจหรือไม่ ละเมิดหรือเปล่า ”

 พรรณิการ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ ความบังคับคือการบังคับเชิงโครงสร้าง แต่น่ากลัวกว่า คุณจี้คนจำนวน 70 ล้านคนไม่ได้ แต่สร้างโครงสร้างมาครอบคนไว้ 70 ล้านคน ประเด็นคือความกลัว คุณบังคับให้อยู่กับประยุทธ์ คือ ความกลัว พยายามทำตัวอยู่กับเขา ห้องเชียร์ก็เช่นกัน ออกนอกคณะ ไปอยู่นอกคณะไปสิ ถึงเวลาก็เข้ามาเรียน ถ้าต้องการให้รับการยอมรับในไทย และ จุฬา คุณต้องทนอยู่ในไทย ในจุฬา ตกลงคุณเต็มใจหรือไม่ แต่คุณนั่นจำยอม เพราะไม่มีสิทธิเลือก หรือ อยู่ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชินไปเอง หรือว่ามันเวิก หรือ แสวงหาประโยชน์จากความเลวนี้ได้เหมือนกัน หรืออยู่เป็น  คุณอาจจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างอย่างจากการพลีตัวอยู่ตรงนี้ด้วย เมื่อโครงสร้างมันกดทับ คุณไม่คิดจะเปลี่ยน ในเมื่อมันออกไม่ได้ ก็อยู่กับมันไปเรื่อยๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อไปดีกว่า นี่คือความอันตรายของความคิดที่ว่าอยู่เป็น  สุดท้ายคือเรื่องเดียวกัน กดศักยภาพของคนไว้ด้วยความกลัว ”

ณัฏฐา ได้กล่าวว่า “ คำนึงที่คิดว่าถ้าเต็มใจจะเป็นไรไหม กฎมันอาจจะเป็นความสมัครใจ แต่มันมีเรื่องกการกดดันจากเพื่อน ใครไม่เข้าจะถูกมองด้วยสายตาแบบไหน อยู่ที่วัฒนธรรมสังคมนั้นเป็นแบบไหน ซึ่งอย่างให้ประเทศใส่เสื้อสีเดียวกัน  สังคมนี้มีความคิดเห็นที่เห็นต่าง อย่างการรณรงค์ใส่เสื้อส้ม 1 เดือนจะไม่มีปัญหา แต่เมื่อไหร่ที่สังคม ไม่มีค่านิยมในประชาธิปไตย  ปัญหาไม่ได้อยู่ว่ามีห้องเชียร์หรือไม่ แต่อะไรคือคุณค่าที่คุณจะอยู่ แต่ถ้าเป็นค่านิยมแบบมีค่านิยม ทำอะไรตามๆ ไป เพราะต่อให้ตอบว่าสมัครใจ ก็คงไม่จริง ”

สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

กับประเด็นเรื่องชุดนิสิตและการแต่งกายชุดนิสิต

ณัฏฐา กล่าวไว้ว่า “ หดหู่กับคำถาม วันนี้ประเทศ เราเจอกับอะไรอยู่ เราเจอกับการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ในระดับอุดมศึกษา ยังมาคุยเรื่องการแต่งกายอยู่  ส่วนตัวใส่แล้วสวยดี ไม่ต้องคิดเยอะ และในยุคนั้นภูมิใจมาก ติดตราพระเกี้ยวใครก็มอง แต่ประเด็นอยากใส่หรือไม่อยากใส่ ใครบ้างที่ควรจะมีส่วนร่วมในการคุยเรื่องนี้ คือ นักศึกษากับมหาลัย ปัญหาควรจะจบไหม ทำไมปัญหามันยังอยู่ ประเทศเรายังยอมให้มีปัญหานี้อยู่ เราปล่อยให้ปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหา เราจึงได้มีการรัฐประหารมาถึง 43 ครั้งแล้ว และมีการคุยจะทำยังให้ถึงไม่ให้เกิด เราควรจะมี On the Table  ประเด็นชุดนิสิต ถ้ายังมีคำถาม 1-2 ปีนี้ ต้องทำให้มันจบ และจะได้เป็นทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับสังคมไทย ควรจะทำให้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว นักศึกษาควรจะมีส่วนร่วมในการแสดงออกให้ความสำคัญกับส่วนร่วมนี้น้อยมาก ”

พรรณิการ์ กล่าวว่า “ มันขี้เกียจจะพูด เรื่องเครื่องแบบแสดงความเท่าเทียมจริงไหม แหวน กระเป๋า นาฬิกา ตกลงเครื่องแบบมีฟังก์ชันอะไร ใช่เครื่องแบบจำเป็น ในอาชีพไหน เป็นอาชีพที่เห็นชัดเพื่อแยกกับคนอื่นออก  เช่น อาชีพพยาบาล เพื่อที่เราจะขอความช่วยเหลือได้ถูก ตำรวจ พนังงานดับเพลิง ยาม แม่บ้าน แล้วนักศึกษามีฟังก์ชันนั้นไหม ควรจำเป็นต้องรู้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จำเป็น ฟังก์ชันของชุดนิสิตคืออะไร เช่นเดียวกับระบอบอุปถัมภ์  ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ก็ไม่จำเป็นต้องมี ถ้าหากหาฟังก์ชันที่สมเหตุสมผลไม่ได้ อย่าไปเสียเวลา เสียเงินทองกับมันค่ะ ”

ผศ.ดร. วาสนา กล่าวว่า “ พูดลำบากเพราะตัวเองไม่ได้ใส่ หลังๆคิดว่า ประเด็นนี้ ล้าสมัยไปแล้ว มันกำลังจะผ่านไปแล้ว ตอนนี้มีทัวร์ชาวต่างชาติ ที่มีการให้เช่าชุดนักศึกษา และมีการไปถ่ายแฟชั่น มันเป็นอะไรที่ขำๆ  มันล้าสมัย ไม่มีความหมายอยู่แล้ว และการภาคภูมิใจ ควรอยู่ในคุณภาพการศึกษา ไม่ได้เกิดจากเครื่องแบบ ถ้าเราไม่มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การภาคภูมิใจในเครื่องแบบก็จะน้อยลง ดังนั้นปล่อยให้โลกหมุนไปค่ะ

freedom of speech (เสรีภาพในการพูด)

ในประเด็น การเลือกตั้งที่ผ่านมากับกกต.

ณัฏฐา กล่าวไว้ว่า  “ คำถาม คือ เรารู้สึกยังไงที่กกต. มาแถลงข่าวอย่างไร้รับผิดชอบ รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ ก็เป็นเรื่องปกติมากๆ ค่ะ สิ่งที่ไม่ปกติ คือ หลังเลือกตั้งเสร็จ รองผบตร. ออกมาบอกว่าหลังเลือกตั้งเสร็จใครออกมาชุมนุมเนื่ย เตรียมสถานทีไว้ให้แล้วนะ เนื่ยคือไม่ปกติ ไม่ปกติอีกคือ วันต่อมา ผบ.ตร.ท่องเที่ยว หรือใครสักคน ขออนุญาตเรียกว่า บิ๊กโจ๊ก  กล่าวว่าเก็บข้อมูลไว้หมดแล้ว ใครที่บอกว่าบัตรเลือกตั้งเกินจำนวนผู้มีสิทธิเนื่ย คือสิ่งที่ผิดปกติ ตำรวจออกมาแสดงความคิดเห็นได้ยังไง คนออกมาจับผิดคือเรื่องดีไม่ใช่หรอ และวันนี้ก็มีจำนวนบัตรเพิ่มมา 4 ล้านจริงๆ ถามหาความรับผิดรับหน่อย วันนี้บ้านเมืองกลับตาลปัตรไปหมด การจัดการเลือกตั้งแบบนี้ มันส่งผลเสียจริงทั่วโลกรับรู้  ไม่ใช่คนไทย

วันนี้อีกหลายประเทศเรียงหน้าเข้ามาแสดงความห่วงใย ดังนั้นการที่คนไทยมีความห่วงใย มีการวิพากษ์ วิจารณ์ผู้จัดการเลือกตั้งมีการล่าลายชื่อจำรวนล้านกว่าชื่อจึงเป็นเรื่องที่ดี เป็น Healthy เป็นภาษาไทยคือน่าจะเป็นประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น ประชาธิปไตยแบบที่ประชาชน มีส่วนในการตรวจสอบ ดังนั้นไม่ใช่แค่เรื่องกกต. หรอก แต่เป็นการที่ตำรวจออกมาตั้งโต๊ะ นี่คือสิ่งผิดปกติมากๆ และคนไทยควรตั้งคำถามว่า ตำรวจออกมาทำไม สิ่งที่ไม่เป็นยอมรับจะต้องถูกประณาม ต้องรุมประณามค่ะ

พรรณิการ์ ได้กล่าวว่า “ ขอแก้นะคะ ยังไม่ถึงจำนวนหนึ่งล้านชื่อค่ะ  ตอนนี้รายชื่อ 8 แสนกว่าคน ที่ chang.org เป็นครั้งแรกของไทย ที่มีการยื่นถอดถอนองค์กรอิสระ ทำให้เห็นว่า คนไทย ในประเทศนี้ รับรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น กกต.แถลงข่าวบ่ายสาม บ่ายสี่โมง ขอให้แถลงข่าวก่อนหน้านี้ป็นโมฆะ เพราะตัวเลขยังไม่ตรง ซึ่งเราไม่คิดว่าจะเล่นขายของได้ขนาดนี้ เครื่องคิดเลข กกต. มีปัญหามากจริงๆ สังเกตได้จาก

  1. จำนวนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งจะเป็นตัวเลขแรกที่เปิดออกมา ของการเลือกตั้งทั่วโลก พอปิดหีบ มาใช้ 64 % วันนี้ 74 % เพิ่มขึ้นมาเกือบ 5 ล้านคน เป็นผู้ใช้สิทธิผีหรอคะ กกต. ทำงานมากี่ปีแล้ว ตัวเลขนี้ไม่เคยผิดนะ เป็นตัวเลขเบสิกมาก ทำไมเพิ่มมา
  2. ผู้มาใช้สิทธิ กับบัตรที่ใช้ไป เขย่งกันโดยไม่มีสาเหตุว่า เอาบัตรไปทิ้งหรือว่ายังไง พอตัวเลขไม่ตรง ทำให้เกิดข้อสงสัย ไม่นับความไม่ตรงกันอื่นๆ ที่กกต. ส่งให้นักข่าว และแถลงข่าว ที่ทำให้มีการยกเลิกการแถลงการณ์ตอนบ่ายสาม แถลงเสร็จไปแล้ว ยกเลิกบ่ายสี่ เมื่อตัวเลขไม่ตรง มีความเป็นไปได้ไม่กี่อย่าง คือ กกต. ทำงานได้ไม่จริง และ มีตัวเลขที่หลายชุด แล้วเลยสับสน ส่งให้สื่อ และแถลงการณ์ไม่ตรงกัน คำถาม เมื่อตัวเลขไม่ตรงกัน เป็นตัวเลขการเลือกตั้งในรอบ 8 ปีของไทย ไม่อยากให้เป็นโมฆะ ปปช. ไม่อยากเสียเวลาไปมากกว่านี้

สำหรับกกต. เราคาดหวังอะไรมากไม่ได้ คนที่เลือกมาก็คือ สนช. ซึ่งสนช.ก็ถูกเลือกมาโดยประยุทธ์ เป็นสายบังคับบัญชาโดยตรง  แต่ใครตั้งมาก็อีกเรื่อง คนจ่ายเงินก็อีกเรื่อง คนที่จ่ายคือใคร คือเรา เราเข้าไปซื้อของที่ 7-11 ก็เสียภาษีนะคะ ซึ่งเงินที่เสียภาษีตรงนี้ ก็เอาไปจ้างเขาค่ะ ฉะนั้นมาช่วยกันเรียกร้องหน่อย ให้สมกับการที่เราจ่ายเงินไป  ให้สมกับที่เป็นการเลือกตั้งในรอบแปดปี ”