สรุปงาน 15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย: พัฒนาการกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในสังคมไทย

สรุปงาน 15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย: พัฒนาการกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในสังคมไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงานแสดงศิลปะและเสวนาสาธารณะเนื่องในวันครบรอบ 15 ปีของการหายตัวไปของคุณสมชาย นีละไพจิตร และคดีการหายตัวไปอื่นๆ

ภายในงานผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วม และญาติของผู้สูญหายที่มาและร่วมเรียกร้องความเป็นธรรม และนำคนทำผิดมาลงโทษ โดยเฉพาะการบังคับให้สูญหายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ต้องร่วมเรียกร้องให้เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อได้รับความเป็นธรรม

เสียงจากญาติผู้สูญหาย

คุณอังคณา นีละไพจิตร ภริยาคุณสมชาย นีละไพจิตร : ทุกๆ วันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี ดิฉันจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหายของประเทศไทยที่จะออกมาทวงถามถึงการสูญหาย ตั้งแต่วันที่คุณสมชายหายไป ดิฉันตามไปทุกที่ เพื่อให้รัฐเห็นการแสดงออกของดิฉันอย่างจริงใจ ตามไปที่ค่ายทหาร ที่ทิ้งขยะ ไปศาลทุกวันที่มีการพิจารณาคดี เผชิญหน้ากับตำรวจที่เป็นผู้กระทำความผิดทั้ง 5 คน

ผ่านมา 15 ปี มีหลายสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเดือนมกราคม 2555 รัฐบาลไทยได้ลงนามในอนุสัญญาเรื่องการบังคับให้สูญหาย และมีการลงสัตยาบัน หลังจากนั้นต่อมา 3 ปี ศาลฎีกาได้ยกฟ้องจำเลยที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 คน เป็นที่ยุติว่า คุณสมชายถูกคนกลุ่มหนึ่งผลักขึ้นรถ และหายไป แต่ศาลไม่สามารถนำคนทำผิดมาลงโทษได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นเมื่อไม่มีศพ จึงเชื่อว่าคุณสมชายยังไม่ตาย และไม่มีหลักฐานว่าได้รับบาดเจ็บ คุณสมชายจึงต้องมาเรียกร้องความผิดด้วยตัวเอง ครอบครัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ผลคือคดีทนายสมชายไม่มีผู้เสียหาย

ในปี 2559 รัฐได้ให้สัตยาบันเรื่องบังคับให้บุคคลสูญหาย แต่สิ่งที่ยังกังวลคือสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และไม่รับฟังข้อเรียกร้องของครอบครัวของเหยื่อ การเขียนกฎหมายจึงเกิดด้วยความกลัวว่าจะเป็นการเอาผิดเจ้าหน้าที่ นั่นคือร่างกฎหมายที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาอาจไม่ได้คุ้มครองผู้ถูกบังคับให้สูญหายได้จริง

กฎหมายที่ไทยกำลังร่าง รัฐควรมีหน้าที่ต้องสอบสวน กฎหมายต้องคุ้มครองเหยื่อทุกคน เนื่องจากเป็นอาชญากรรม อันไม่มีอายุความ รัฐจึงไม่ควรมีการยุติการสืบสวน สอบสวน และอีกประเด็นที่น่ากังวลคือ การนำคนผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมายจึงต้องระบุถึงผู้ที่บังคับให้สูญหาย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้บังคับบัญชาทุกระดับ การเปิดเผยความจริงจะทำให้ทราบว่าเหยื่อเกิดอะไรขึ้น สิ่งต่างๆ นี้ เป็นสาระสำคัญสำหรับ ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ที่จำเป็นต้องเน้นย้ำ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครทราบเหตุผลว่า เหตุใดร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงถูกถอดถอนไป

ผ่านมา 15 ปี ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพลเรือน รัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็น ประชาธิปไตยหรือไม่ การเยียวยาผู้เสียหายก็ยังคงไม่เกิดขึ้น สิ่งที่ครอบครัวเหยื่อต้องการคือ ความรับผิดชอบของรัฐในการเปิดเผยความจริง การเยียวยาต่อครอบครัวของเหยื่อ เมื่อถูกละเมิดสิทธิ รัฐต้องอยู่เคียงข้างเหยื่อ ต้องมีการชดใช้ความเสียหาย ต้องไม่กระทำเพื่อการสงเคราะห์เท่านั้น หลังจากคดีสมชาย เรายังได้เห็นเหยื่ออีกมากมาย เราคงคิดเหมือนญาติผู้เสียหายอื่นๆ ว่าอาจจะไม่ได้รับความยุติธรรม และเราจะไม่ยอมให้รัฐกระทำการโดยไม่เป็นธรรม ขอบคุณมิตรสหาย ทุกท่าน และขอขอบคุณอย่างจริงใจ ในการยืนหยัดข้างครอบครัวมาตลอด และยังเชื่อว่าทุกท่านจะยังคงอยู่เคียงข้างครอบครัวผู้เสียหายจนกว่าความจริงจะบังเกิด

คุณพิณนภา พฤกษาพรรณ ภริยาคุณพอละจี บิลลี่ รักจงเจริญ : บิลลี่เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีตำแหน่งอะไร ตั้งแต่เด็กเขาคิดที่จะพยายามค้นคว้าหาความรู้ที่จะไปช่วยเหลือบ้านตัวเอง บ้านเขาอยู่ในป่าที่ถูกประกาศเป็นที่อุทยาน หมู่บ้านเขาถูกเผาไม่เหลืออะไรเลย ประมาณปี 2554 บิลลี่พยายามหาทางไปช่วยปู่ให้กลับไปอยู่ที่เดิม จนได้ไปสมัครเป็นสมาชิกอบต คิดว่าจะสามารถติดต่อกับเครือข่ายภายนอกมาได้โดยตรง แต่เป็นสมาชิกอบต.ได้แค่ปีกว่าก็ถูกทำให้หายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ตอนนั้นรู้จากพี่ชายของบิลลี่ว่าหายไป พี่ชายถามว่าบิลลี่ได้กลับบ้านหรือไม่ บิลลี่ลงมาตั้งแต่เที่ยง และเอาน้ำผึ้งลงมาด้วย จากนั้นก็ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวไป ตอนแรกคิดว่าจะเหมือนคนทั่วไปที่ถูกเอาไปโรงพัก แต่ก็ไม่เป็นอย่างนั้น โทรติดตามหาบิลลี่ก็ไปพบเลย อีกสองวันถัดมาก็ได้ไปแจ้งความที่สภ.แก่งกระจาน มีตำรวจบอกว่าคนถูกจับตัวไปไม่ใช่คนหาย ตอนบ่ายก็กลับไปอีกรอบ ตำรวจคนเดิมบอกว่าช่วยประสานงานกับเจ้าหน้าที่อุทยานให้อีกที เจ้าหน้าที่บอกว่าจับตัวไปจริงแต่ปล่อยตัวไปแล้ว ดิฉันบอกว่าปล่อยตัวยังไงยังไม่เจอบิลลี่ ตำรวจบอกว่า เราเป็นผู้เสียหาย ก็ต้องไปเก็บข้อมูลมา และเขาให้เข้าไปคุยในห้องสอบสวน ถามคำถามหลายคำถามว่า บิลลี่ออกจากบ้านไปตั้งแต่เมื่อไหร่ เอาอะไรบ้าง ไปยังไง ถามจบก็ถามใหม่ วนไปวนมา

ต่อมาหนูทำเรื่องไปที่ศาลากลางเพชร เรื่องตรวจสอบการหายตัวไปของบิลลี่ แต่ว่าผู้ว่าบอกว่าไม่มีหลักฐาน และต่อมาไปตรวจพิสูจน์หลักฐานกับทนายความ และมีนักข่าวตามหนูไปด้วย เขาก็ไม่ให้ถ่าย ไม่ให้ทำข่าว พอหนูกับลูกชายไปตรวจ DNA ทนายความก็พาไปศาลยื่นคำร้องมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้อง ศอ. ก็ยกคำร้อง จนถึงศาลฎีกาก็ยกคำร้อง คือ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ปัจจุบันคดีบิลลี่อยู่ที่ป.ป.ท. และ DSI แต่ยังไม่มีความคืบหน้า เมื่อวาน DSI ถามว่าในคอมบิลลี่มีอะไรอยู่บ้าง และบอกว่าวันศุกร์นี้จะมาเอาคอมบิลลี่ไปตรวจ

คุณปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภริยาคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ : สุรชัยได้หายตัวไปวันนี้ครบ 3 เดือนพอดี สรุชัยเป็นคนนครศรีธรรมราช เกิดวันที่ 24 ตุลาคม 2485 เป็นคนธรรมดา มีอาชีพเป็นช่างซ่อมโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีการเคลื่อนไหว สุรชัยยังอยู่ที่นครศรีธรรมราช ได้ร่วมทำกิจกรรมอยู่ที่ภาคใต้ของไทย หลังจากนั้นมา ได้มีบทบาทช่วยเหลือพี่น้องชาวบ้านในพื้นที่ของตนในภาคใต้ จนปี 2518 มีการน้ำท่วม ได้เข้าร่วมกับนักศึกษาและประชาชน มีการแจกสิ่งของ จนเกิดเหตุการณ์เผาจวนผู้ว่า หลังจากนั้นได้ถูกจับกุมตัวร่วมกับนักศึกษาและครู ที่วิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ต่อมาได้มีการประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัว คุณสุรชัยไม่ได้เป็นคนก่อนะคะ เมื่อมีการปล่อยตัวก็ได้กลับมา และมีการเริ่มดำเนินคดีใหม่เมื่อ 2519 สุรชัยจึงหลบหนีการจับกุมเข้าป่า เข้าร่วมกับกลุ่มพรรคคอมมิวนิส 5 ปี ต่อมาย้ายค่ายไปอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ภายใน 5 ปี มีเหตุการณ์เจรจาขอหยุดการรบ การยิง โดยผู้ว่าสุราษฎร์ธานีส่งตัวไปเชิญ แต่ทางพรรคส่งสุรชัยมาเป็นผู้เจรจาทจวนผู้ว่า เมื่อไม่ทันได้เจรจาก็ถูกทหารจับตัวไป ถ้าสุรชัยยอมรับว่ามามอบตัว ก็จะปล่อยตัวไป ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์วันนั้น ทางกระทรวงการคลังได้ส่งเงิน 1,200,000 มากับรถไฟด้วย แต่ทหารปลดแอกได้ไปเอามาไว้กับพรรคคอมมิวนิสต์ แต่สุรชัยไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง เพียงแต่ประกาศความต้องการของพรรค แต่โดนตั้งข้อหาไปด้วย สรุชัยได้ถูกตัดสิน ประหารชีวิต

ตั้งแต่ปี 2524 ก็ทำตัวเป็นนักโทษที่ดี และได้ลดโทษเหลือ จำคุกตลอดชีวิต และได้ลดโทษมาเรื่อยๆ และได้อิสรภาพ ในปี 2539 รวมติดคุก 16 ปี ได้เขียนหนังสือ นักโทษประหารชีวิตคนที่ 310 เพราะเป็นคนที่ 310 ที่ได้รับโทษประหารชีวิต เขียนประวัติตั้งแต่ต้นจนจบ รวมทั้งข้อมูลที่ได้อยู่ในคุก 17 เรื่อง สุรชัยไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ แต่ตัวเองได้ถูกกระทำมามาก ทั้งๆ ที่ไม่ได้กระทำ

เมื่อออกจากคุกมาก็มาแต่งงานกับป้าน้อยปี 2540 และได้มีการแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก เข้าเรียนจำติดคุก 3 ปี ครั้งที่สองคือคดีการเมือง เสร็จแล้วช่วงนั้นสุรชัยก็เป็นคนต่างด้าว ออกจากเรือนจำมาจะมาทำงานทางการเมือง ตอนทำงานภาคประชาสังคมก็ไม่มีตำแหน่งใดๆ มาทำงานด้วยตัวเองทั้งนั้น แต่สมัครไม่ได้ เพราะพ่อมาจากเมืองจีน จึงเรียนต่อมสธ. จนจบ และสมัครสจ.ในปี 2543 อ.ปากพนัง ทำหน้าที่ได้ 2-3 ปี มีสว.เกิดอุบัติเหตุ จึงออกมาลงสมัคร สว. แต่ยังคงทำหน้าที่ที่ชาวบ้านได้รับการเดือดร้อน สุรชัยได้ช่วยแก้ไขมาหลายเรื่อง เสร็จแล้วเมื่อปี 2545 ก็ได้สมัครนายกอบจ. แต่ว่าคะแนนแพ้ แต่ยังทำหน้าที่อยู่หลายอย่าง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 2549 สุรชัยได้เคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการ เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธ์ ลาออก ช่วงนั้นตำรวจแต่ละเวที เขาไปก็อัดบันทึกเสียงมาแจ้งความว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สุรชัยยอมรับ และให้ไปรวบรวมมาทุกเวที สรุปฟ้องมา 5 คดี สุรชัยยอมรับ และได้รับการตัดสินให้จำคุก 12 ปีครึ่ง จาก 5 คดี และได้ออกจากคุกมาในปี 2556 ตำรวจยังคงแอบอัดเสียงอีกคดีที่ปราศรัยเมื่อปี 2542-2543 เมื่อมีการยึดอำนาจอีก จึงไปอยู่ต่างประเทศ และมีหมายจับออกไปกดดันประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง จนกระทั่งสุดท้าย มีการหายออกจากบ้าน ในสภาพถูกอุ้มหาย และมีการพบศพที่นครพนม 3 ศพ  ดิฉันจึงไปแจ้งความที่ท้องที่ แค่ว่าศพได้ถูกลักพาตัวหายไป ไปร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิฯ และต่อไปจะร้องเรียนกับ UN และแจ้งต่อตำรวจปราบปราม และ DSI ต่อไป

คุณอดิศร โพธิ์อ่าน ลูกชายคุณทะนง  โพธิ์อ่าน : ทุกท่านทราบหรือไม่ว่าถ้าไม่มีทะนง ก็อาจไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน และการผลักดันกฎหมายประกันสังคมเกิดขึ้นมา ปี2531-2534 เป็นยุคเดียวที่แรงงานมีความเข้มแข็งมาก และได้มีการผลักดันให้กระทรวงแรงงานออกจากกระทรวงมหาดไทย

หลังจากที่ทนงมีบทบาทแข็งแรงมาก มีบทบาทสูง พอมีการปฏิวัติ ปี 2534 คณะรัฐบาลเห็นว่าทนงมีบทบาทมาก จึงยกเลิก สภาแรงงาน สหภาพแรงงาน ออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิ ทะนงคัดค้านเพราะว่า รัฐบาลเกรงใจผู้นำแรงงาน ตอนนั้น แรงงานเป็นฐานที่แข็งแรงที่สุด ฉะนั้น ทนงเลยสู้สุดตัว มีการส่งคนมาเจรจา เสนอเงินให้หลายล้านบาท แต่ทนงไม่รับ พ่อผมเป็นนักขายครับ มีอะไรก็ขายไปช่วยชาวบ้านหมด จนมาวันนึ่ง มีคนมาประกบตัวที่บ้าน รอหน้าบ้านตั้งแต่เช้า จนออกจากบ้าน ดูว่าจะขับรถคันไหนออกบ้าน มีวันนึ่งผมเห็นเหตุการณ์ชัดเจน ออกจากบ้านมาแป๊บเดี๋ยว ผมบอกพ่อว่ามีรถตามมา 2 คัน ผมแจ้งตำรวจเรื่องทะเบียนรถทั้งสองคนกับตำรวจ แต่ตำรวจทำอะไรไม่ได้ ไปสภาเขาก็ดักทางออกไว้ทั้งสองทาง จึงไปที่สหภาพแรงงาน บอกให้แรงงานมาดักไว้ และผมได้ลงไปคุย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ก่อนประชุมแรงงานระดับโลก ที่ทนงต้องไป แต่รัฐไม่มีคำสั่งให้ทนงไป สุดท้ายเขาก็อุ้มพ่อผมในวันที่ 19 มิถุนายน ก่อนวันประชุม จากนนั้นครอบครัวก็พัง เพราะหัวหลักไม่อยู่ น้องเป็นเนื้องอก ผมกับคนกลางไม่เรียนหนังสือ แม่เป็นพยาบาลซึ่งเงินเดือนไม่พอ รัฐบาล ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมติดต่อมา มีมติคณะรัฐมนตรีจะช่วยเหลือ แต่ผมบอกว่าไม่ต้องมาช่วยเหลือ วันที่ลำบากทำไมไม่มาช่วยเหลือ วันนี้ผมต้องการเอาพ่อผมมาทำบุญ สุดท้ายเอกสารที่ผมนำมา เขียนไว้ทุกเรื่องที่พ่อผมทำไว้ หลักฐานต่างๆ แต่ไม่มีความคืบหน้า ตนเป้นที่พึ่งแห่งตน รัฐบาลไม่ได้มีการเยียวยา นี่ละครับเมืองไทย อีกเรื่องคือ เรื่องเดือดร้อน รัฐพยายามทำนั่นนู้นนี่ เบี่ยงเบนประเด็นไปมา ของผม นี่ละครับ ลูกผู้ชาย ถ้าลูกผู้ชายแท้ๆ ต้องตัวต่อตัวครับ เมื่อกี้มีกฎหมายผู้สูญหาย ผมเป็นสส.พรรคอนาคตใหม่ ต้องการผลักดันเรื่องนี้ด้วยครับ

คุณซุยเม็ง เอิง (Shui-Meng Ng) ภริยาคุณสมบัด สมพอน : วันนี้จะไม่พูดเรื่องสมบัติมากนัก เพราะพูดมาเยอะแล้ว  วันนี้ครบรอบ 15 ปีของสมชาย ขอยืนเป็นพันธมิตรกับคุณอังคนา และครอบครัว และยืนร่วมกันในการต่อสู้กับศาลไทยเพื่อให้เกิดความจริง ขอยืนสนับสนุนในการต่อสู้ต่อความยากลำบาก ขอยืนร่วมกันเพื่อต่อสู้กับกระบวนการผู้กระทำผิดลอยนวล อยากจะยืนกับครอบครัว เพราะหลังจากที่มีพยานหลักฐานหลายๆ ส่วน มีช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้ต้องหาสามารถลอยนวลได้ ในฐานะที่เป็นภรรยาของเหยื่อ ดิฉันรู้ว่าพวกคุณผ่านอะไรมาบ้าง 15 ปี เพราะดิฉันก็ผ่านมาเหมือนกัน แต่คุณอังคณาไม่ว่าจะต้องผ่านการเจ็บปวดต่างๆ คุณได้แสดงให้กับประชาชนคนไทยเห็นว่าคุณจะไม่ยอมแพ้ คุณกลายเป็นสัญลักษณ์เรื่องบุคคลสูญหาย และได้เป็นเสียงของครอบครัวที่ได้รับความเสียหายจากการถูกบังคับให้สูญเสีย และสนับสนุนเหยื่อที่เป็นคนไทย และชุยเม็งเช่นเดียวกัน

ในวันที่สมบัติ ถูกบังคับให้สูญหายวันที่ 15 มีนาคม 2012 คุณอังคณาได้เข้ามาช่วยเหลือ ในขณะที่ดิฉันไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทำให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เพียงแค่นั่งข้างๆ และส่งมือมาให้ เวลาที่ดิฉันนั่งอยู่ และเห็นครอบครัวของบุคคลสูญหาย ไม่ว่าจะเป็นป้าน้อย บิลลี่ ครอบครัวทนง ดิฉันรู้สึกโมโหมากขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม อาชญากรยังสามารถเดินต่อไปได้ในประเทศของเราเช่นนี้ รัฐควรปกป้อง ไม่ใช่เป็นฝั่งตรงข้ามกับเรา ดังนั้นจงมาฟังกันว่าบุคคลที่สูญหายไป เขาได้ทำอะไร ละเมิดกฎหมายอะไร สมชายเป็นทนายความสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง และเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เขาได้รณรงค์ กฎหมายสิทธิประชาชนมุสลิมในภาคใต้ และต่อต้านรัฐให้ยุติการทรมาน และเขาถูกทำให้สูญหายไป คุณสมบัติเป็นผู้นำชุมชน ที่ได้รับความนับถืออย่างมาก เป็นผู้รณรงค์เรื่องที่ดินในประเทศลาว บิลลี่เป็นนักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงที่ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงเพื่อเข้าถึงที่ดินที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่มานาน คำถามคือบุคคลเหล่านี้ เป็นอาชญากรอย่างนั้นหรือ หรือเขาเป็นเพียงคนต่อสู้เพื่อบุคคลที่ไม่มีเสียงในสังคมเรา นี่แหละ คืออาชญากรรม และความอยุติธรรมที่ถูกบังคับให้สูญหาย และเป็นเหตุผลให้ครอบครัวออกมาต่อสู้เพื่อให้ความจริง และทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัว และเหยื่อถูกแก้ไข

วันนี้เรามารวมตัวกันเพื่อที่จะรำลึกอีกครั้งว่าครบรอบ 15 ปีแล้วหลังจากที่คุณสมชายถูกบังคับให้สูญหาย และคุณอังคณาต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพื่อให้รู้ถึงความจริงว่าเกิดอะไรกับคุณสมชาย และท้ายที่สุดนี้ ให้คุณอังคณา และครอบครัว ได้เห็นว่า มีคนทั่วเอเชียให้กำลังใจเธอ

ในส่วนของแถลงการณ์ของ Asian federation against enforced disappearance สหพันธ์เอเชียต่อต้านบุคคลสูญหายแห่งเอเชีย ต่อต้านการบังคับให้บุคคลสูญหาย ขอแสดงความเห็นต่อคุณสมชาย คุณสมชายเป็นทนายความมุสลิม เป็นคนไทย และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน เขาเป็นอดีตของสภาทนายความมุสลิม และเป็นรองประธานสิทธิมนุษยชนของสภา เขาถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 ที่ถนนในกทม. ก่อนที่จะถูกอุ้มหาย คุณสมชายกำลังทำการรณรงค์ยุติการใช้กฎอัยการศึก และการซ้อมทรมาน ปี 2014 ศาลได้ออกมาจับตำรวจ 5 คน ในคดีนี้ ในเดือนมกราคม 2016 ศาลยกฟ้อง ด้วยภาวะที่ไม่มีกฎหมายที่บอกว่าอุ้มหายเป็นความผิดทางอาญา หนทางการค้นหาความจริงจึงยากมาก กับครอบครัวสมชาย ศาลตัดสินว่า เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ครอบครัวจึงไม่สามารถเป็นเหยื่อแทนได้ คำตัดสินเช่นนี้เป็นการโยนภาระให้แก่ผู้ที่ถูกอุ้มหาย สถานการณ์บังคับสูญหายยังเป็นเรื่องที่ยากอยู่ในไทย ไม่นานนักหลังการหายตัวไปของสมชาย บิลลี่ก็หายตัวไป หลังถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ปี 1992 ครอบครัวของผู้ที่สูญหายไปในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ยังไม่สามารถพบความจริงได้ ปี 2001 เป็นต้นมา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกอุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นจำนวนมาก คณะกรรมสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับให้บุคคลสูญหาย บันทึกไว้ว่า ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา มีถึง 82 คดี ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการบังคับบุคคลให้สูญหายในวันที่ 9 มกราคม 2555 และรัฐบาลได้มีมติให้สัตยาบันตามอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ถึงแม้จะมีแรงกดดันอย่างมากขอให้ไทยดำเนินการเพื่อให้ความยุติธรรมต่อสมชาย และครอบครัวผู้สูญหายอื่นๆ กำหนดให้เป็นอาชญากรรม และยุติการกระทำเช่นนั้น ดิฉันขอให้ทุกท่านที่ฟังเรื่องราวของเรา ยืนอยู่เคียงข้างเรา และครอบครัวผู้เสียหาย และนำความยุติธรรมาสู่พวกเรา ขอบคุณค่ะ

พัฒนาการของกรอบกฎหมายและการสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 เดิมทีสถานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีกำหนดที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ที่มีเป้าหมายจะทำให้การทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอาชญากรรม แต่ท้ายที่สุดก็มีการถอนวาระพิจารณาร่างดังกล่าวออกไป ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าอนาคตของการป้องกันการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐจะไปทิศทางใดในอนาคต

งานในวันนี้มีวงเสวนาวิชาการแลกเปลี่ยนในประเด็นพัฒนาการของกรอบกฎหมายและการสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย ภายในวงเสวนามีคุณนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน จากกรมคุ้มครองสิทธิฯ, คุณสัณหวรรณ ศรีสด ที่ปรึกษากฎหมาย จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล และ Mr. Badar Farrukh ตัวแทนจากองค์กรสหประชาชาติมาร่วมแลกเปลี่ยนกันโดยมีเนื้อหา ดังนี้

คำถาม : อยากทราบเรื่องความคืบหน้าของร่างกฎหมาย และกรมคุ้มครองสิทธิฯ ทำงานไปถึงไหนแล้ว และให้แบ่งปันว่าเราสามารถช่วยเหลือรัฐอย่างไรได้บ้าง

คุณนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิฯ : สืบเนื่องจากปี 2550 ไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมาน และเมื่อปี 2555 ได้ลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการบังคับให้บุคคลสูญหาย เมื่อเราเป็นรัฐภาคี หน้าที่สำคัญคืออนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกัน ซึ่งไทยไม่มีกฎหมายอาญาในเรื่องนี้โดยเฉพาะ จนกระทั่ง แก้กฎหมายอาญา ต่อมาไปรายงานที่ UN ปี 2556 ว่าต้องมีการทำเรื่องป้องกัน ปราบปราม เยียวยาจึงจะครอบคลุมอนุสัญญานี้ เราจึงทำเป็นกฎหมายเฉพาะ และไม่แก้กฎหมายอาญาแล้ว หลักการของทั้งสองเรื่องนี้ คือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงนำมาเป็นกรอบเดียวกัน จึงเกิดร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. เราทำผ่านกระบวนการ ประชุมทุกภาคส่วน 5 หมวด กับ 33 มาตรา จึงผ่านเข้าคณะรัฐมนตรี และมีการนำออกไปแปลงใหม่คือ กฤษฎีกา จนเข้าสนช. และได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้สอดคล้องอนุสัญญาจริง แต่ในบริบทไทยต้องมีการนำมาปรับใช้ มีการปรับมาตรา มีข้อสังเกตอยู่ 5 เรื่องคือ ตัดเรื่องห้ามอ้างสถานการณ์ใดๆ ซึ่งหลักการของกฎหมายไม่มีหลักการใดเป็นข้อยกเว้นให้คนกระทำความผิด จนกระทั่งผ่านสนช. เข้าวาระที่ 1 เราดีใจมาก กฎหมายทำมา 10 ปี จะได้ไปสักที แต่ว่ามีการกลับคำให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย แต่ต้องไม่ให้หลุดจากอนุสัญญาฯ ขณะนี้รอว่าเขาจะประชุม หรือพิจารณาแค่ไหน ถ้าจะปรับยังไง ก็คงไม่เกินตามอนุสัญญาฯ เราพยายามที่จะผลักให้มีกฎหมายนี้ในเบื้องต้น”

คุณสัณหวรรณ ศรีสด ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล : พ.ร.บ.ฉบับนี้ ตอนแรกจะเข้าวันที่ 7 แต่ถูกเลื่อนไป มีหลายจุดที่ดีมาก และมีบางจุดที่ไม่เคยมีในกฎหมายไทย แต่เรามีความกังวลบางอย่างอยู่ในตัวร่างกฎหมายฉบับนี้  ถ้าได้รับการแก้ไข สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยน คือ

  1. เรื่องของการเลือกปฏิบัติที่ถูกนำออกไปจากร่างนี้ เรื่องการถูกเลือกปฏิบัติ ในกฎหมายปัจจุบันเป็นลักษณะปลายปิด การเขียนองค์ประกอบความผิดที่ไม่ครบ อย่างน้อยก็ควรจะเป็นนิยามแบบปลายเปิดเพื่อที่จะกว้างในการตีความตามกฎหมาย เพราะในอนาคตเราไม่รู้ว่าซ้อมทรมานจะมีเพื่อวัตถุประสงค์ใดบาง ดังนั้นก็ควรจะเป็นปลายเปิด

2.บทนิยามของการบังคับให้สูญหาย จะมีองค์ประกอบที่ชัดเจน คือ ถูกพาไปโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าหน้าที่รัฐที่พาไปจะต้องออกมาปฏิเสธ ซึ่งเรามองว่าค่อนข้างยากที่เจ้าหน้าที่รัฐจะออกมาปฏิเสธเอง

  1. ประเด็นมาตรา 12 เรื่องหลักการไม่ผลักดันกลับ มาตรานี้อยู่ในจารีตประเพณีของประเทศไทย ไม่มี guideline ในดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในการบังคับใช้จารีตนี้ ดังนั้นเรามองว่าถ้ามาตรานี้ไปอยู่ในพรบ.ซ้อมทรมาน และถ้าฝ่ายบริหารรู้จักนำจารีตนี้มาใช้ จะเป็น guideline ให้ฝ่ายบริหารมีหน่วย check list ว่าถ้าหากมีการผลักดันกลับไปยังประเทศของเขา เขาจะเกิดอันตรายใดๆ หรือไม่ และอาจจะเป็น guideline ที่เป็นประโยชน์แก่กระบวนการยุติธรรม ทุกคนที่มีส่วนร่วม ถ้ามีตัวบทชัดเจน ทนายความ และผู้พิพากษาอาจจะปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น
  2. มีอีกประเด็นที่เห็นในร่างก่อนนี้ แต่ในล่าสุดไม่มีแล้วคือ การให้อำนาจคณะกรรมการในการกำหนดมาตรการว่าป้องกันมิให้การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดโดยไม่สุจริต คิดว่าน่าจะมีการนำออกไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่นำออกก็มีความกังวลว่าจะถูกตีความกว้างขนาดไหน จะกระทบกับการรายงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือไม่
  3. เรื่องการแสดงออก และเรื่องความผิดของผู้บังคับบัญชาซึ่งถือว่าอาจจะเป็นกฎหมายฉบับแรกๆ ของไทยเลยก็ได้ที่มีการลงโทษผู้บังคับบัญชา ซึ่งในอนุสัญญาระหว่างประเทศได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างมากมาย และ มีการตีความโดยกรรมการต่อต้านซ้อมทรมาน ของ UN ว่า ผู้บังคับบัญชาควรที่จะรับผิดด้วย ไม่ใช่แค่รู้ว่าเกิด เปลี่ยนผู้บังคับบัญชาโดยตรง เป็นผู้บังคับบัญชาโดยอำนาจ กรณีของคุณสมชาย คาดว่าจะเกิดขึ้นอยู่ มีการตีความอยู่ในรายงานของสนช. ไม่แน่ใจว่าศาลจะตีความต่ออย่างไร กฎหมายนี้ไม่มีโทษย้อนหลัง ในรูปแบบของการบังคับสูญหาย จะมีการตีความที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศหรือไม่ หลายคดีที่มีผู้กระทำผิดที่ยังทำผิดอยู่ และในกรณีที่เป็นการปฏิบัติที่โหดร้าย ย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประเทศไทยต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

คำถาม : ข้อสังเกตที่มีหลังจากตามประเด็นเรื่องผู้สูญหายในประเทศไทยมา มีความรู้สึกอย่างไร

Mr. Badar Farrukh, Deputy Regional Representative, UN Human Rights Office for South-East Asia กล่าวว่า เขาทำงานที่ไทยมา 4 เดือน มีข้อสังเกตบางประการเรื่องผู้ที่เป็นเหยื่อ กับญาติ เผชิญกับข้อท้าท้ายหลายประการ ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายเท่านั้น ปัญหาไม่ใช่แค่ไม่มีนิยามทางกฎหมาย ที่คุยมาก่อนหน้านี้คือ คดีไม่มีที่สิ้นสุด การอุ้มหายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไทยที่ได้ยินมาว่า ศาลฎีกาบอกว่าญาติไม่เป็นเหยื่อ ไม่สามารถร่วมฟ้องได้ การตัดสินแบบนี้ ควรจะยึดหลักการ สิทธิมนุษยชนมากกว่านี้ นอกจากไม่มีกฎหมายให้เป็นความผิดทางอาญา การที่ตัดสินคดีของคุณสมชายแบบนี้ ยังมีคดีแบบนี้อยู่ที่ UN อย่างมาก ซึ่งคณะทำงาน ของ UN มีการขอมาเยือนที่ไทยมานานแล้วแต่ไทยอ้างว่าติดปัญหา กระทรวงยุติธรรมได้ทำหน้าที่สะสางปัญหา แต่ว่าน่าจะมีการทำงานที่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชนมากกว่านี้ และทำงานกับ UN มากกว่านี้

อีกกรณีคือ DSI ดูแลคดีอุ้มหาย แค่บางคดี และดูบางกรณีเท่านั้น DSI น่าจะเข้ามาดูแลอุ้มหายทุกกรณี จาก 4-5 เดือน เห็นว่าญาติต่อสู้ทุกวิธีทาง กระทรวงยุติธรรมยังมาช่วย แต่หน่วยงานอื่นไม่เห็นความช่วยเหลือใดๆ ร่างพ.ร.บ.ที่คุยนี้ มีข้อดีหลายประการ แต่ยังขาดประเด็นอีกหลายประการเช่นกัน อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีคนถูกส่งตัวจากมาเลเซีย ไปอียิปต์ เราก็ไม่รู้ว่าจะมีความเป็นอยู่เป็นยังไง ดังนั้น การที่ไทยได้ให้สัตยาบันออกกฎหมายตามหลักสากล ก็จะสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานได้เลย ขอเรียกร้องกระทรวงยุติธรรมให้มีการเรียกร้องต่อไป เพื่อให้มีกฎหมายฉบับเต็ม

ในช่วงท้ายของงาน คุณประทับจิต นีละไพจิต ลูกสาวของทนายสมชาย นีละไพจิต เป็นตัวแทนผู้จัดงานและครอบครัวนีละไพจิตในการกล่าวปิดงานในครั้งนี้

“ขอขอบคุณทุกท่าน เพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ ที่เก็บเกี่ยวมาได้ตลอดการทำงาน 15 ปีมานี้ ทั้งจากองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศและในประเทศ ตัวแทนสถานทูตต่างๆ นักวิชาการ เพื่อนจากกระทรวงยุติธรรม ศิลปิน นักดนตรี นักสื่อข่าว นักข่าว นักศึกษารุ่นใหม่ที่มาร่วมงานในวันนี้ และที่สำคัญที่สุดดิฉันขอเป็นตัวแทน กล่าวขอบคุณครอบครัวผู้ถูกถูกบังคับให้สูญหายทุกครอบครัวที่สละเวลามาร่วมงานในวันนี้  ทุกท่านจะเห็นอย่างหนึ่งว่า ความทรงจำเป็นสิ่งเดียวที่ฆ่าไม่ตาย ทำยังไงก็ไม่มีวันสูญหายไป ทุกครอบครัวเล่าเรื่องได้ราวว่ามันเกิดเมื่อขึ้นเช้านี้  ทุกครอบครัวพิสูจน์แล้วว่าการบังคับสูญหายเป็นวิธีการที่ไร้ประสิทธิภาพสิ้นดี ในการทำลายความคิด ความเชื่อ หลายๆทางสังคม การบังคับบุคคลสูญหายเอาทุกอย่างไปจากพวกเรา แต่ไม่มีวันพรากความกล้าหาญไปจากทุกครอบครัวได้ ดิฉันขอเป็นตัวแทนทุกครอบครัวขอเรียนย้ำให้ทุกท่านช่วยกัน ช่วยพวกเรา ขอให้พวกเราทุกคนเป็นคนสุดท้ายที่ถูกบังคับให้สูญหาย  ขอให้ทุกท่านจากนี้ร่วมกันปกป้องคนทุกคน จากการบังคับสูญหาย โดยพื้นฐานความเชื่อร่วมกันว่า  สังคม จะคิดต่างกันขนาดไหน ระดับศีลธรรมต่างกันขนาดไหน เราจะอยู่ด้วยกันได้ จากความเท่าเทียมกันเท่านั้น หวังว่าปีหน้า คงจะมีสักปี ที่เราไม่ต้องมานับจำนวนเพิ่มอีก ไม่ต้องไปคนยื่นเศร้าๆ คงมีสักปีที่เรามาร่วมฉลองเพราะทุกครอบครัวได้รู้ความจริงแล้วว่าคนในครอบครัวเราตายด้วยอะไร  ขอให้มีสักปีที่เราได้ฉลองร่วมกันว่าคนทุกคน มีกฎหมายป้องกันคนในครอบครัวของเราไม่ให้ถูกบังคับให้สูญหาย ขอบพระคุณทุกคนมากค่ะ”