ข่าวสิทธิมนุษยชน

วิชาชีพทนาย: ผู้ใช้กฎหมายรักษาความยุติธรรมกับการตกเป็นเป้าหมายในการฟ้องกลั่นเเกล้ง

กรณีนายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ ถูกนายทุนที่ดินใน จังหวัดลำพูนแจ้งความดำเนินคดี ฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ พร้อมกับชาวบ้านบ้านสันตับเต่า อีก 2 ราย ข้อหาเบิกความเท็จ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พยานหลักฐานที่นายทุนกล่าวหายังไม่มีน้ำหนักที่จะสามารถส่งฟ้องได้ นัดครั้งที่ผ่านมาจึงถือเป็นนัดเรียกพบ โดยกำหนดนัดครั้งต่อไปคือวันที่ 15 มีนาคม 2562 ต่อมาวันนี้ (14 มีนาคม 62) พนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน แจ้งมายังทนายสุมิตรชัยว่า สำนวนคดีเบิกความเท็จและนำสืบพยานเท็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐาน ของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ดังนั้นการนัดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 15 มีนาคม 2562 นี้ จึงขอเลื่อนการแจ้งข้อกล่าวหาไปไม่มีกำหนด (ข้อมูลจาก Facebook ศูนย์ข้อมูลพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ข้อสังเกตต่อกรณี การเเจ้งความดำเนินคดีกับทนายสุมิตรชัย ในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ เเละชาวบ้าน 2 ราย ข้อหาว่าความเท็จ กรณีดังกล่าวนี้สามารถบอกอะไรกับสังคมได้พอสมควร  ประการแรก กรณีที่นายทุนที่ดิน ผู้เข้าเเจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สภ.เมืองลำพูน […]

สรุปงาน 15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย: พัฒนาการกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในสังคมไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงานแสดงศิลปะและเสวนาสาธารณะเนื่องในวันครบรอบ 15 ปีของการหายตัวไปของคุณสมชาย นีละไพจิตร และคดีการหายตัวไปอื่นๆ ภายในงานผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วม และญาติของผู้สูญหายที่มาและร่วมเรียกร้องความเป็นธรรม และนำคนทำผิดมาลงโทษ โดยเฉพาะการบังคับให้สูญหายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ต้องร่วมเรียกร้องให้เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อได้รับความเป็นธรรม เสียงจากญาติผู้สูญหาย คุณอังคณา นีละไพจิตร ภริยาคุณสมชาย นีละไพจิตร : ทุกๆ วันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี ดิฉันจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหายของประเทศไทยที่จะออกมาทวงถามถึงการสูญหาย ตั้งแต่วันที่คุณสมชายหายไป ดิฉันตามไปทุกที่ เพื่อให้รัฐเห็นการแสดงออกของดิฉันอย่างจริงใจ ตามไปที่ค่ายทหาร ที่ทิ้งขยะ ไปศาลทุกวันที่มีการพิจารณาคดี เผชิญหน้ากับตำรวจที่เป็นผู้กระทำความผิดทั้ง 5 คน ผ่านมา 15 ปี มีหลายสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเดือนมกราคม 2555 […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

เชิญร่วมงาน เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น.

กำหนดการโครงการเสวนาวิชาการ “วิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด” วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น ณ ห้อง 211 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 08.00 น.                   ลงทะเบียน 08.30 – 08.45 น.      กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน                                โดย นายรัษฏา มนูรัษฏา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน             […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ […]

วงเสวนาคดีปกครองแก่งกระจานระบุคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหลีกเลี่ยงรับรองสิทธิชุมชน เสนอใช้ มติ ครม. 3 สิงหา 53 แก้ปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่า

 สิทธิชุมชนเป็นประเด็นที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้รับรองอย่างเต็มที่   และศาลยังไม่เข้าใจอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่าที่ควร  แต่ความก้าวหน้าของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้คือการวางมาตรฐานในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ  และได้ช่วยเน้นย้ำสถานะของมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 แม้จะประเด็นเล็กๆในคำพิพากษา แต่ก็น่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่าอนุรักษ์ได้พอสมควร วันที่ 8 มกราคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกับสภาทนายความ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด”  ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดูคลิปเต็มการถ่ายทอดสดการเสวนา) เวทีเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดินจำนวน 6 คนได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อปี 2554 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นที่ศาลบอกว่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดังกล่าวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม แต่เหตุใดพวกเขาถึงไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และจะทำอย่างไรให้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  และอื่นๆ ประเด็นเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่ปกป้อง คุ้มครอง เคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่อไป อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม […]

ทนายยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินการควบคุมตัวหญิงชาวซาอุฯโดยมิชอบ แต่ศาลยกฟ้องอ้างเหตุไม่มีหลักฐานทั้งที่ยังไม่ได้ไต่สวน

วันที่ 7 มกราคม 2562 ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและ NSP Legal Office ได้เข้าช่วยเหลือหญิงชาวซาอุดีอาระเบียถูกควบคุมตัวในประเทศไทย โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ศาลไต่สวนการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 กรณีสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ได้มีบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินคูเวตแอร์ไลน์ทำการควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน (Mr. Rahaf Mohammed Alqunun) หญิงอายุ 18 ปี ชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งได้หลบหนีจากครอบครัว เพราะการถูกบังคับให้แต่งงานและถูกทำร้ายอย่างหนัก โดยเธอได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรเลีย แต่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิปรากฎว่าเธอได้ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่ห้องพักในโรงแรมมิราเคิลทรานซิท อาคารระหว่างประเทศขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งถูกยืดเอกสารหนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน และเอกสารประจำตัวไปแล้วนำตัวไป ขณะนี้เธอยังถูกกักขังอยู่ในห้องพักโรงแรมดังกล่าว นางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูนได้แจ้งแก่ทนายความว่า เธอไม่ต้องการเดินทางไปยังประเทศคูเวตและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากหากถูกส่งตัวกลับไปจะมีภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต จากเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความเชื่อทางศาสนา อย่างไรก็ดีบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาควบคุมตัวเธอยืนยันจะดำเนินการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง นอกจากนี้ผู้นำในคณะรัฐบาลไทยได้ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงการต้องส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง  ทนายความได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล เพราะเห็นว่าพฤติการณ์การกักขังดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการขังโดยกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่จะส่งตัวเธอกลับไปยังประเทศต้นทาง อาจขัดต่อหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ รวมถึงหลักการห้ามผลักดันกลับหากบุคคลนั้นเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย […]

5 คดีสิทธิปี 2561 กับประเด็นที่กระบวนการยุติธรรมต้องทบทวนปี 2562

ในปี 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้ติดตามคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญอย่างน้อย 5 คดี  โดยคดีเหล่านี้มีประเด็นที่สะท้อนถึงปัญหาบางประการของกระบวนการยุติธรรมไทยได้เป็นอย่างดี เริ่มจากเดือนเมษายน 2561 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ที่ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น คดีนี้มีการตั้งข้อสงสัยว่าจำเลยทั้ง 4 ใช่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริงหรือไม่ และในคำพิพากษาของศาลก็ยังไม่กระจ่างเท่าใดนัก เพราะศาลให้น้ำหนักกับคำรับสารภาพของจำเลยเป็นสำคัญ ถัดมาปลายเดือนพฤษภาคม 2561 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาคดีอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารของ คสช. หน้าหอศิลป์เมื่อปี 2557 โดยศาลยังคงรับรองว่า คสช. มีอำนาจตามระบอบแห่งการรัฐประหาร และประกาศห้ามชุมนุมไม่ขัด ICCPR เดือนมิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งไต่สวนการชันสูตรพลิกศพหรือไต่สวนการตายกรณีเจ้าหน้าที่ทหารที่ด่านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ยิงนายชัยภูมิ ป่าแส  หลังจากนั้นคำถามถึงภาพจากกล้องวงจรปิดก็ดังขึ้นอีก พร้อมคำตอบกลับของกองทัพว่าข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดถูกบันทึกทับไปแล้ว เดือนเดียวกันนั้น 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่เผาบ้านและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดิน  โดยศาลพิพากษารับรองว่าบ้านบางกลอยบนและใจแผ่นดินคือชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถจะให้กลับไปอยู่ที่เดิมได้ เพราะมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว อีกทั้ง ศาลยังบอกว่ากระปฏิบัติการเผาบ้านและทำลายทรัพย์สินโดยเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิด จึงให้กรมอุทยานฯชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี 6 คน เฉลี่ยรายละประมาณ 50,000 บาท […]

คดีอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหาร

คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 วัน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2558 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 7/2557  ชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวานในบ้านเมือง   ไม่เลิกชุมนุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก  และขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามหน้าที่ตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้  ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา 216 และมาตรา 368  เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 […]

1 5 6 7 8 9 14