admin

แจ้งข่าว : 27 เมษายน 2561 ขอเชิญร่วมเวทีวิชาการจากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย”

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจ เข้าร่วมเวทีวิชาการจากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” วันที่ 27 เมษายน 2561 เวลา 13.00-16.00 น. ณ. ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายคออี้ หรือโคอี้ มีมิ หรือที่คุ้นเคยในชื่อเรียก “ปู่โคอี้” ปัจจุบันอายุ 106 ปี ปู่ถือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ซึ่งเป็นชุมนุมดั้งเดิมที่มีอยู่ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เหตุการณ์ที่ทำให้สาธารณะรับรู้เรื่องราวของชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน อาจจะต้องย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2554 เกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐ นำโดยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ปฏิบัติภารกิจที่พวกเขาเรียกว่า “การปฏิบัติงานโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” เพื่อดำเนินการผลักดันกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ปฏิบัติการครั้งนั้น มีการบังคับให้ปู่โคอี้และชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่เกิดและอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวให้ออกไปจากพื้นที่ มีการเข้ารื้อ ทำลาย เผาบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยใบตะคร้ออีกเกือบร้อยหลัง ทรัพย์สินในบ้าน ยุ้งฉาง อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆภายในบ้าน รวมถึงเมล็ดพันธุ์พืช ได้สูญหายหรือได้รับความเสียหาย เหตุการณ์ไล่รื้อครั้งนั้น เป็นเหตุให้ในปี […]

ศาลพิพากษาลงโทษ 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยฆ่าน้องแอปเปิ้ล เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ

หลังจากศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 29 มีนาคม 2561 วันนี้ (19 เมษายน 2561) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองก็ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนมาร์ 4 คน ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล อายุ 18 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสตรีระนอง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง แรงงานชาวเมียนมาร์ทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจากมีจำเลย 2 คนมีฐานะเป็นเยาวชนอยู่  โดยแบ่งเป็นคดีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 จำเลยคือ นายโมซินอ่าว และนายจอโซวิน และคดีศาลจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 115/2559  จำเลยคือนายเมาเซ้น หรือเซกะดอ และนายซอเล คดีของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง ศาลมีคำพิพากษาจำคุกนายโมซินอ่าวข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

4 ปีบิลลี่หาย รอก่อน…ความยุติธรรมยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่เป็นสมาชิก อ.บ.ต. ห้วยแม่เพรียง เป็นหลายปู่โคอี้ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย เขามีภรรยาและลูกที่ต้องดูแลอีก 5 คน ลูกทุกคนยังอยู่ในวัยเรียน บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงให้พี่น้องชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอยของเขา ที่ถูกบังคับไล่รื้อให้ต้องจากผืนดินเกิด เนื่องจากนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นผู้คน เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู้คออี้ และชาวกระเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คนยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณหกโมงเย็น ผมได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากครูในหมู่บ้านบอกว่า บิลลี่ถูกจับที่ด่านมะเร็ว เป็นเรื่องน้ำผึ้ง ให้ไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ผมเห็นว่าไม่ไช่ความผิดร้ายแรงอะไร และมันก็ค่ำแล้ว เตรียมเอกสารประกันตัวไม่ทัน วันนั้นก็เลยไม่ได้ไป แต่ผมก็ได้โทรหาบิลลี่นะ โทรไปสองครั้ง แต่บิลลี่ไม่รับสาย […]

กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ กับอนุญาฯการต่อต้านการอุ้มหาย โดย ญาดา หัตถธรรมนูญ

นายบิลลี่ หรือ นายพอจะลี รักจงเจริญ เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความ อยู่ระหว่างการเตรียมการต่อสู้คดีปกครองที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จากกรณีการเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่แม้ปรากฎผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดังเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนี้ นายบิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป นายบิลลี่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีชาวบ้านพบเห็นนายบิลลี่ครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ยอมรับว่าควบคุมตัวนายบิลลี่จริง เนื่องจากค้นตัวนายบิลลี่แล้วพบรังผึ้งและน้ำผึ้งหกขวด ตนจึงได้ทำการตักเตือน และอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อกล่าวหาและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 6 วันแล้วหลังจากถูกควบคุมตัว ที่ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นนายบิลลี่อีก โดยครอบครัวของนายบิลลี่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ไว้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้มีการลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม […]

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]

ศาลระนองเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยข้อหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี (แอปเปิ้ล) ไป 19 เมษา

วันนี้ (29 มีนาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ตามที่ศาลจังหวัดระนอง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล โดยศาลจังหวัดระนองให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 19 เมษายน 2561  เนื่องจากอธิบดีผู้พิพากษาภาคยังตรวจร่างคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองยังไม่แล้วเสร็จ  ส่วนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองก็ให้เลื่อนไปเพื่อรออ่านคำพิพากษาพร้อมกับศาลจังหวัดระนอง ทนายความจำเลยได้แถลงคัดค้านไม่เห็นด้วยที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองจะเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไป เนื่องจากทนายจำเลยเห็นว่าในส่วนคำพิพากษาของศาลเยาวชนฯนั้น อธิบดีผู้พิพากษาภาคได้ตรวจร่างคำพิพากษาเสร็จแล้ว  ศาลเยาวชนฯมีความอิสระในฐานะเจ้าของสำนวน จึงควรอ่านคำพิพากษาไปเลย เพราะการเลื่อนออกไปย่อมส่งผลต่ออิสรภาพของจำเลย  อย่างไรก็ดี ศาลเยาวชนฯได้ชี้แจงว่าต้องทำตามคำแนะนำของอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 ที่ได้มีคำแนะนำให้รออ่านพร้อมศาลจังหวัดระนอง คดีนี้เป็นคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันที่ 8 กันยายน 2558 โดยนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล ผู้ตายได้ถูกคนร้ายแทงด้วยอาวุธแหลมคมถึง 17 แผล เสียชีวิต ขณะกำลังเดินเข้าซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ตำรวจได้มีการสืบสวนสอบสวน ต่อมาได้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับจำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมาร์ ซึ่งการจับกุมดังกล่าวทำให้สังคมตั้งคำถามพอสมควรว่าทั้ง 4 […]

บ้านตระ เสียงสะท้อนถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย ทัศนะที่ต้องเปลี่ยนแปลง (ตอน 1)  โดย กฤษดา ขุนณรงค์ 

ด้วยวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาคดี หมายเลขดำที่ 1171, 1172, 1173/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์ กับ นายเรวัตร หรือ วัตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 1 นายอัมมร หรือ ชาย บรรถะ จำเลยที่ 2 และนายสมพร หรือ มิตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 3 เกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บุกรุกป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด) โดยศาลจังหวัดตรังมีคำพิพากษาโดยสรุปคือให้จำเลยที่ 1 จำคุก 7 ปี ปรับ 90,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 6 ปี ปรับ 60,000 บาท และจำเลยที่ 3 จำคุก 1 ปี ปรับ 15,000 […]

บทสัมภาษณ์นคร ชมพูชาติ : ประสบการณ์จากทนายความรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง บทบาททนายความเพื่อประชาชน

สัมภาษณ์ :ธนาธร ทนานนท์, อัครยา สองสมุทร, ผรัณดา ปานแก้ว เรียบเรียง: ธนาธร ทนานนท์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้มีโอกาสได้เข้ามาคุยกับทนายนคร ชมพูชาติ ทนายรุ่นพี่ ที่ถือได้ว่ามีความอาวุโสในการทำงานด้านวิชาชีพทนายมานานหลายปี เป็นพี่ที่คอยสร้างน้องทนายให้มีความพร้อมทั้งทางทักษะวิชาชีพและมุมมองในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสังคม ที่ผ่านมาได้ทำงานคดีช่วยเหลือในคดีสำคัญหลายคดี เช่น คดีกบฏไอทีวี , คดีบิ๊กขี้หลี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ,คดีชินคอร์ปฟ้องคุณสุภิญญา,คดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรยา กรณียาต้าเชื้อเอชไอวี เป็นต้น จนกลายเป็นแบบอย่างให้กับทนายรุ่นน้องอีกหลายคน ประเด็นที่ทางทีมสมาคมฯเข้ามาคุย นอกจากจะได้มาทำความรู้จักกับทนายรุ่นพี่คนนี้มากขึ้น ถือเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานให้กับน้องๆช่วยลดระยะเวลาแห่งการเรียนรู้ผ่านการตกผลึกทางความคิดและการทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับนักกฎหมาย ทนายความที่เพิ่งเข้ามาทำงานและข้อคิด ข้อระวัง ในการทำงานอีกมากมายที่จะได้รับจากทนายผู้นี้ ความรู้จากการทำงานเคลื่อนไหว กลายมาเป็นทักษะพื้นฐานในการเป็นทนายความ ทนายนคร : วงสมัยเป็นนักศึกษา ภารกิจการเคลื่อนไหว คือ การทำงานจัดตั้งทางความคิดให้แก่ประชาชน  โดยกระบวนการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา  จะมีการทำงานความคิดทั้งในด้านกว้างและด้านลึก การทำงานด้านกว้าง คือ การเคลื่อนไหวที่สร้างผลกระทบทางความคิดด้านการจัดการปัญหาสังคม  ให้ประชาชนทั่วๆ ไปมาสนใจกับปัญหาของตนเองและหาทางแก้ไข  ส่วนนักศึกษาด้วยกันเองทำให้เกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคม  จนเกิดสามประสาน คือ นักศึกษา กรรมกร ชาวนา ให้เกิดการรวมตัวที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการพิพากษา คดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ถูกกล่าวหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอปเปิ้ล)

เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม 2561 วันที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยแรงงานชาวเมียนม่าทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจาก 2 ใน 4 คน ยังมีฐานะเป็นเยาวชน ดังต่อไปนี้ 1. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 ระหว่างพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง โจทก์ นางมาริษา สำเภาทอง (มารดาผู้ตาย) โจทก์ร่วม นายโมซินอ่าว ที่ 1 […]

1 19 20 21 22 23 32