admin

เส้นทาง “เดิน..เทใจให้เทพา” ภายใต้กฎหมายชุมนุมสาธารณะ

เราจะไปยื่นหนังสือต่อนายก ปกป้องบ้านของเรา เราเดินกันไปอย่างสงบ แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้  ผมมาเดินตั้งแต่วันแรก ไม่เคยคิดว่าจะโดยจับ จำเลยหมายเลข 13 เจ้าหน้าที่ประกบผมสามคน เขาจับแขนผม บอกว่าขอเชิญตัว ผมบอกว่า ผมบอกว่าผมขอเดินไปเอง เขาให้ผมไปขึ้นรถตู้ ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรผมเลย จำเลยหมายเลข 1 ในทางหลักการแล้ว เราถือว่าเสรีภาพในการชุมนุม  เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย เพราะหลักการพื้นฐานประการหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยคือ หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งเสรีภาพในการชุมนุมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองและนโยบายสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นไปยังตัวแทน และยังเปิดพื้นที่ในถกเถียงแลกเปลี่ยน การโน้มน้าวจิตใจของผู้คนในสังคมให้มีเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านข้อเสนอของตน และที่สำคัญเสรีภาพในการชุมนุมยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองของประชาชนคนด้อยอำนาจเพื่อให้เข้าถึงสิทธิทางการเมือง เข้าทรัพยากร และเข้าถึงสิทธิเสรีภาพอื่นๆอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในมุมมองของรัฐที่ไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยและค่อนไปทางอำนาจนิยม มักจะมองว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเป็นการก่อความวุ่นวาย ทำให้เกิดความไม่สงบ และเป็นพวกไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง รัฐจึงต้องหาวิธีจัดการ เสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and  Political Rights (ICCPR)) ข้อ 21 ที่ระบุว่า “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข […]

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]

มองคดี “เดิน..เทใจให้เทพา” ผ่านคดี “ท่อก๊าซไทย-มาเล” ว่าด้วยด้ามธง ต่อสู้ขัดขวาง ปิดทางจราจร และการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

ตลอดเดือนสิงหาคม ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 17 คน ต้องเดินทางแวะเวียนมาขึ้นศาลแทบทุกอาทิตย์  พวกเขาเหล่านี้ตกเป็นจำเลยจากการจัดกิจกรรมที่เรียกสั้นๆว่า “เดิน…เทใจให้เทพา” เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2560 “เดิน…เทใจให้เทพา” เป็นการเดินเท้าจากชุมชนบางหลิง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมีการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยเริ่มต้นเดินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. สัญจร ที่จัดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่มาคดีเดินเทใจให้เทพา ในวันแรกของการเดิน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งว่าการทำกิจกรรมของพวกเขาเข้าข่ายการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ทันที่ที่ทราบเรื่องดังกล่าวเครือข่ายก็ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพาในวันเดียวกันนั้น และได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาในวันถัดมาคือ 25 พฤศจิกายน 2560  อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เครือข่ายฯเลิกเดินภายในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ทางเครือข่ายเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำเป็นการใช้สิทธิที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว พวกเขาจึงดำเนินกิจกรรมต่อไป พวกเขายังเดินต่อไปได้  […]

ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ป่าแสหายไป ใครต้องรับผิดชอบ?

ใครต้องรับผิดชอบ เมื่อข้อมูลกล้องวงจรปิดอันเป็นพยานหลักฐานสำคัญในกรณีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส หายไป? ความจริงที่ความคลุมเครือของเหตุการณ์เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ทำให้เกิดคำถามมากมายตามมาว่าในวันดังกล่าวเกิดอะไรขึ้นกันแน่?  ดังนั้น ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุจึงถือเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะช่วยทำให้ความจริงกระจ่างขึ้น ความพยายามในเรียกร้องให้เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทั้งสาธารณะชน ทนายความ ครอบครัว และภาคส่วนต่างๆ โดยมีการพยายามทวงถามถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องขอให้เปิดเผยบันทึกภาพดังกล่าวออกมา รวมทั้งขอให้ศาลเรียกข้อมูลดังกล่าวมาพิสูจน์ในชั้นไต่สวนการตาย แต่ก็ไม่เป็นผล ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลบันทึกภาพดังกล่าวแต่อย่างใด ไม่ว่าจะในทางสาธารณะ หรือแม้กระทั่งในชั้นศาล วันที่ 18 มิถุนายน 2561  เครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส  ได้ขอเข้าพบพลเอกเฉลิมชัย สิทธิสารท ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อยื่นหนังสือขอให้ทางกองทัพส่งข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดของวันที่เกิดเหตุให้กับทนายความและญาติเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการใช้สิทธิในการเยียวยาทางกฏหมายต่อไป ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้รับจดหมายตอบกลับจากสำนักงานเลขานุการกองทัพบก โดยเนื้อความในหนังสือตอนหนึ่งระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 […]

ภรรยาบิลลี่เข้าพบ ป.ป.ท. ถามความคืบหน้าคดีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

วันนี้ (21 สิงหาคม 2561) เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มุนอ ภรรยาของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เข้าพบเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีกรณีกล่าวหาเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีการจับกุมตัวนายพอละจีเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และภายหลังนายพอละจีได้หายตัวไป  ตลอดจนสอบถามเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีบิลลี่เป็นคดีพิเศษแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้วันที่ 28 มกราคม 2558 นางสาวพิณนภา ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อให้มีการดำเนินคดีกับนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากกรณีที่มีการจับกุมนายพอละจีไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 แต่ไม่มีการส่งตัวนายพอละจีให้พนักงานสอบสวน  และหลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นนายพอละจีอีกเลย ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนการหายตัวไปของนายพอละจีขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมานางสาวพิณนภาก็ได้ติดตามความคืบหน้าของการสอบสวนดังกล่าวมาโดยตลอด  โดยครั้งล่าสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภาพร้อมกับทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้เข้าพบกับประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ […]

กองทัพบกตอบกลับทนายชัยภูมิ ป่าแส ระบุไม่พบภาพข้อมูลใดๆในกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุ

ตามที่เมื่อวันที่  18 มิถุนายน  2561 ทนายความและองค์กรเครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เพื่อขอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 นั้น ล่าสุดวันนี้ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ส่งถึงนายรัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในทนายความคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส โดยเนื้อความในหนังสือระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 กองบัญชาการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 5 (บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม.5) ได้ถอดเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดออกจากจุดตรวจบ้านรินหลวง เพื่อเตรียมการส่งให้สถานีตำรวจภูธรนาหวาย และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 กองกำลังผาเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมดำเนินการเปิดดูข้อมูลภาพเหตุการณ์ของวันที่ 17 มีนาคม 2560 แต่ภาพในเครื่องบันทึกข้อมูลเป็นภาพของวันที่ 20 – […]

ขบวนการคนงานไร้ที่ดินของบราซิลกับการใช้กฎหมายต่อสู้เพื่อปฏิรูปที่ดิน

ภาพจากเว็บไซด์ : terradedireitos.org ขบวนการคนงานไร้ที่ดินของบราซิล  (หรือในภาษาโปรตุเกสว่า Movimento dos Trabalhadores Sem Terra, หรือ MST) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1984 ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย MST ถือเป็นหนึ่งในขบวนการทางสังคมที่มีผลงานก้าวหน้ามากสุด มีสมาชิก 1.5 ล้านคนใน 23 จาก 26 รัฐของบราซิล เป้าหมายของ MST คือการช่วยให้เกษตรกรไร้ที่ดินที่ยากจนได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ปฏิบัติการของ MST เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า บราซิลเป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมในการกระจายการถือครองที่ดินมากสุดในโลก โดยผู้ครอบครองที่ดินเพียง 1.6% เป็นผู้ถือครองที่ดินเกษตรกรรม 47% ของประเทศ ในขณะที่หนึ่งในสามของเกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรมเพียง 1.6%[1] วิกฤตหนี้ในทศวรรษ 1980 ส่งผลให้รัฐบาลต้องสนับสนุนการส่งออกของภาคเกษตรอุตสาหกรรม รัฐต้องคุ้มครองเจ้าที่ดินรายใหญ่โดยให้การลดหย่อนด้านภาษี อนุญาตให้มีการกว้านซื้อที่ดินจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณป่าอเมซอน และยังมีปัญหาขาดการปฏิรูปด้านเกษตรกรรมและกฎหมายแรงงาน จนถึงทศวรรษ 1990 ได้เกิดกลุ่มพันธมิตรที่มีอิทธิพลของบรรดาเจ้าที่ดินที่ร่วมมือกับรัฐและธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นบรรษัทข้ามชาติในบราซิล ชนชั้นนำในภาคเกษตรของบราซิลเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสถาบันทางการเมือง เป็นหลักประกันให้พวกเขาสามารถครอบครองที่ดินและทรัพยากร[2] บราซิลมีประวัติศาสตร์ยาวนานของการต่อสู้ของเกษตรกรเพื่อที่ดินและการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ดี ระบอบเผด็จการทหารในช่วงปี 1964 ถึง […]

หนังสือ แม่อมกิ : ชีวิตแห่งผืนป่ากับมายาคติในกระบวนการยุติธรรม

[pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiDraft3.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (ภาษาไทย) [pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiEng.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (English Version) หนังสือแม่อมกิ บอกเล่าเรื่องราวของชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ 2 คน  คือ นายดิ๊แปะโพ (ไม่มีนามสกุล) กับนางหน่อแฮหมุ่ย เวียงวิชชา  ซึ่งถูกเจ้าพนักงานป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.14(แม่เงา) เข้าจับกุมขณะกำลังทำไร่ ต่อมาทั้งสองได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยการยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ตัด โค่น ก่อสร้าง แผ้วถางต้นไม้ เผาป่า ป่าท่าสองยาง (ห้วยแม่คาซึ่งจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธาร) ซึ่งอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการตัดฟันต้นไม้ เผาป่า ปรับพื้นที่ แล้วยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเอง ชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำเงาอย่างน้อยสองอำเภอในสองจังหวัด ล้วนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่กันมาเป็นชุมชนดั้งเดิม มีจารีตประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวบ้านกว่า 95 เปอร์เซ็นในลุ่มแม่น้ำแห่งนี้  ดำรงชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียน และพึ่งพาอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะการเก็บหาของป่ามาเป็นอาหาร นำไม้และใบไม้จากป่ามาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

สนส. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 กำหนดประเด็น SLAPP และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นวาระสำคัญในการขับเคลื่อนงานขององค์กร

วันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ขึ้นเพื่อทบทวนการทำงานที่ผ่านมาและกำหนดทิศทางการทำงานในอนาคต การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 นอกจากจะเป็นการประชุมประจำปีตามปกติแล้ว ยังถือเป็นการพบกันของบรรดาสมาชิกในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการก่อเกิดองค์กรอีกด้วย สนส. จึงได้ถือโอกาสนี้ในการทบทวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากบรรดาสมาชิก ซึ่งโดยสรุปแม้จะพบว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีผ่านมา  จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ สนส. ยังทำไม่สำเร็จหรือทำแล้วล้มเหลว แต่อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราเห็นร่วมกันก็คือ การค่อยๆเติบโตขึ้นของพื้นที่นักกฎหมาย/ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในที่ต่างๆและในประเด็นต่างๆ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นถือเป็นแรงผลักสำคัญที่จะช่วยให้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายค่อยๆขยับไปอยู่บนพื้นฐานของหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม ในส่วนของความล่มเหลวที่ไม่อาจทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ สนส. เองก็ได้ทบทวนบทเรียนการทำงาน พร้อมทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ และกำหนดประเด็นการทำงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศมากขึ้น  โดยที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ได้มีความเห็นร่วมกันว่าประเด็นหลักที่ สนส. ต้องขับเคลื่อนในปีหน้า คือ การยับยั้งการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPP) หรือ judicial harassment การส่งเสริมสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิของทนายความในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น […]

1 17 18 19 20 21 32