admin

เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่

#9ปีบิลลี่ยังไม่ได้กลับบ้าน เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่ 21 เม.ย. 2566 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ไก่ – เกรียงไกร ชีช่วง” ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพี่น้องชาวบางกลอยและตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลัด ทส. มีคำสั่งให้ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อีก 3 นาย ออกจากราชการชั่วคราวไว้ก่อน ภายหลังทั้งสี่ถูกพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาฆาตกรรม “บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอุ้มหาย เมื่อ 9 ปีก่อน ซึ่งศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 24 เม.ย. 2566 นี้ เวลา 13.30 น. บริเวณหน้าทางเข้าอาคารกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังตกอยู่ภายใต้ความเงียบเหงา ท่ามกลางแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัด มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสื่อมวลชนบางส่วนเท่านั้นที่มารอคอยทำข่าว จนกระทั่งไก่นำขบวนพี่น้องชาวบ้านบางกลอยเดินขบวนถือป้ายแสดงข้อความที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม รอยยิ้มสดใสและมีความหวังของไก่ทำให้บรรยากาศภายในบริเวณนั้นกลับมาครึกครื้นในทันที […]

หนังสือ “เมื่อกฎหมายถูกใช้เป็นอาวุธ : เรื่องราวของนักปกป้องสิทธิที่ถูกฟ้องปิดปาก”

“การฟ้องคดีปิดปาก” หรือ “ตบปาก” หรือ “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (Strategic Lawsuits Against Public Participation) หรือ SLAPPs (สแลป)[1] ถูกอธิบายว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อข่มขู่ ตอบโต้ ลงโทษบุคคลที่ออกมาพูด แสดงออก ร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือเรื่องที่มีความสำคัญในทางสังคม รวมถึงส่งสัญญาณเพื่อข่มขู่บุคคลอื่นไม่ให้พูดถึงหรือเข้าไปยุ่งกับเรื่องนั้น ๆ ด้วย การฟ้องคดีปิดปาก เป็นเครื่องมือที่รัฐหรือภาคธุรกิจบางส่วนนิยมใช้ในยุคปัจจุบัน เพื่อคุกคามและทำให้ผู้คนหยุดวิพากษ์วิจารณ์หรือตรวจสอบการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐและภาคธุรกิจ การฟ้องคดีเป็นเครื่องมือคุกคามที่ดูผิวเผินแล้วไม่รุนแรง ถามยังดูมีความชอบธรรม เพราะอยู่ภายใต้เสื้อคลุมของกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากการคุกคามทายกายภาพต่อชีวิตและร่างกาย อย่างไรก็ดี ผลกระทบก็อาจนักหนาไม่ต่างกัน เพราะการฟ้องคดีได้สร้างผลกระทบที่ซึมลึก สร้างตราบาปให้ผู้คน สร้างภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ในการไปศาล ในการประกันอิสระภาพ บางคนอาจตกงาน และบ่อยครั้งใช้ได้ผลในการปิดปากทั้งผู้ถูกฟ้องและคนอื่น ๆ แม้สุดท้ายการต่อสู้คดีถึงที่สุด ศาลอาจยกฟ้อง แต่ก็ยากที่ผู้ถูกฟ้องจะเข้าถึงการเยียวยา ในปี 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้พยายามรวบรวมข้อมูลคดีที่เข้าข่ายฟ้องปิดปากจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เราพบว่า ตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีคดีที่เข้าข่ายการฟ้องปิดปากมากกว่า 200 กรณี ทั้งเป็นการฟ้องโดยภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายเป็นทั้งแกนนำชาวบ้าน นักกิจกรรม […]

รายงาน 1 ปี ยืน หยัด หยุุดรัฐ ทําลายสิทธิ โดยภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

“สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ” เป็นสิทธิเสรีภาพที่พัฒนามาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐที่ปกครองในระบอบดังกล่าวจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง สําหรับประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรก จนมาถึงฉบับปี 2560 ได้รับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะไว้เช่นกัน สะท้อนว่ารัฐไทยให้ความสําคัญต่อการสนับสนุน ส่งเสริมและคุ้มครองการใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประชาชนมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงการชุมนุมสาธารณะ โดยเยาวชน นิสิตนักศึกษาและประชาชนกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2563 รัฐไทยมีการรับมือกับการชุมนุมดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งอาญาจักรไทยและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เห็นได้จากการที่รัฐไทยใช้วิธีการตอบโต้ “การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธ” ผ่านการคุกคาม ข่มขู่เพื่อขัดขวางไม่ให้การชุมนุมดังกล่าวสามารถดําเนินการได้อย่างราบรื่น เริ่มตั้งแต่ใช้ “การติดตาม คุกคาม ข่มขู่” ทั้งต่อผู้ที่จัดการชุมนุมหรือผู้ที่สนับสนุนการชุมนุม โดยการเยี่ยมที่บ้าน การเชิญผู้ปกครองมาพบเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อทําข้อตกลงไม่ให้นักเรียน นักศึกษาเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น “การแจ้งความดำเนินคดี” เพื่อสร้างความกลัวและลดทอนศักยภาพ ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งข้อกล่าวหานั้น มีตั้งแต่ความผิดฐานลหุโทษ ไปจนถึงข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นโทษที่รุนแรง ไม่เท่านั้น การถูกจับกุมดำเนินคดียังส่งผลทำให้ผู้ที่ถูกดําเนินคดีต้องเผชิญต่อ “การจํากัดเสรีภาพสิทธิในกระบวนการยุติธรรม” อาทิ อุุปสรรคในการเข้าถึงทนายความและการจํากัดสิทธิในการปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เป็นต้น และการใช้กําลังในการ “การสลายการชุมนุม” ของเจ้าหน้าที่ตํารวจหลายครั้งติดต่อกัน ทําให้ทั้งผู้ที่ชุมนุม สื่อมวลชนและผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการชุมนุมต่างได้รับบาดเจ็บ โดยบางรายถึงขั้นพิการ และทรัพย์สินของประชาชนเสียหาย ด้วยเหตุนี้ นักกฎหมาย […]

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

สนส. ร่วมนิติฮับ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส. หรือ HRLA) และตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.  นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นางณัฐาศิริ เบิร์กแมน ตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) นางสาวพริม มณีโชติ และทนายความที่ได้รับความเสียหายจากข้อบังคับสภาทนายความเรื่องการแต่งกายของทนายความ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ดร. วิเชียร ชุบไธสง ขอให้สภาทนายความฯ แก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529  หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกายข้อ 20 (2) ซึ่งกำหนดให้ “ทนายความหญิงแต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” โดยขอให้แก้ไขให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความมีผลใช้บังคับ ทนายความหญิงถูกกำหนดให้ต้องแต่งกายด้วยกระโปรง ส่งผลให้ทนายความหญิงที่สวมใส่กางเกงว่าความ ต้องถูกผู้พิพากษาตักเตือน ตำหนิ ติเตียน ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เปิดรับสมัครงาน 2 อัตรา

  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือ Human Rights Lawyers Association (HRLA) เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 จากการรวมตัวกันของกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความและคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยทำงานทั้งในทางวิชาการและการใช้มาตรฐานทางกฎหมาย โดยเฉพาะการดำเนินคดียุทธศาสตร์เพื่อ    ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบาย  ปัจจุบันสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรับผิดชอบงานคดี “ฟ้องกลับ” จากการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐหลายคดี เช่น คดีจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คดีที่ตำรวจจับกุมผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คดีที่ตำรวจการตั้งข้อหาดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม หรือคดีขอให้ศาลเพิกถอนข้อกำหนดและประกาศที่ออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยอ้างอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  นอกจากนี้ในปี 2566 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยังมีโครงการพิเศษที่ต้องรณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมสิทธิส่วนบุคคลในโลกดิจิทัล (Digital Privacy Rights) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปฏิบัติงานทางกฎหมายทั้งในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเป็นโครงการสำคัญที่วางรากฐานประเด็นสิทธิที่มากับโลกยุคสมัยใหม่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กำลังมองหาเจ้าหน้าที่มาร่วมงานแบบเต็มเวลา จำนวน 2 อัตรา ดังนี้ ตำแหน่ง  เจ้าหน้าที่ประสานงานคดี  1 อัตรา หน้าที่ความรับผิดชอบ  ติดต่อประสานงานกับทนายความ คู่ความ และผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเพื่อดำเนินคดีทางยุทธศาสตร์ […]

วลพ. ให้สภาทนายความและเนติบัณฑิตฯ แก้ไขระเบียบข้อบังคับการแต่งกายทนายหญิง

นับตั้งแต่ปี 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความในเรื่องการแต่งกายระบุไว้ในข้อที่ 20 ที่ให้ทนายความหญิงต้อง “แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” รวมทั้งข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาฯ หมวด 3 สิทธิของสมาชิก ข้อ 17 ที่กำหนดให้ทนายความหญิงต้องแต่งกายด้วยกระโปรง โดยถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สำหรับทนายหญิงในการว่าความ ส่งผลให้ทนายความหญิงซึ่งเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความ ถูกผู้พิพากษาตักเตือน ถูกตำหนิติเตียน ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเหตุแห่งการแต่งกาย หรือถูกห้ามว่าความ เนื่องจากสวมใส่กางเกงไปศาล เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนของสภาทนายความ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ Nitihub ได้นำรายชื่อของนักกฎหมายและประชาชนกว่า 16,500 รายชื่อที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญ “ทนายความหญิงมีสิทธิสวมใส่กางเกงไปศาล” ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะ อาทิ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา สภาทนายความฯ และเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาทนายความหญิงที่เป็นผู้เสียหาย ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางระหว่างเพศ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เพื่อให้วินิจฉัยว่า ข้อบังคับของสภาทนายความและเนติบัณฑิตยสภา ทั้ง 2 ฉบับ เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยเรียกร้องให้แก้ไขข้อบังคับดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 […]

ประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 9 กันยายน 2564     จากความพยายามผลักดัน ‘ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ….’ หรือ ‘ร่างฯองค์กรภาคประชาสังคม’  ของเอ็นจีโอและประชาสังคมจำนวนหนึ่ง  ทำให้ได้ทบทวนความรู้สึกนึกคิดว่าที่ทาง  นิยาม  ความหมายของ ‘ประชาสังคม’ ในสังคมไทยเป็นอย่างไรบ้างแล้วในปัจจุบันที่คาดว่าจะส่งผลต่อไปในอนาคต   ในความแตกต่างและหลากหลายของสภาพแวดล้อมของสังคมและการเมืองไทยได้ก่อให้เกิดประชาสังคมที่แตกต่างและหลากหลายประเภทอยู่ร่วมกัน  และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ความแตกต่างและหลากหลายของสภาพแวดล้อมของสังคมและการเมืองไทยจะทำให้เกิดประชาสังคมเพียงประเภทเดียวขึ้นมาโดยไม่สามารถก่อให้เกิดประชาสังคมประเภทอื่น ๆ ได้  ถ้าสังคมและการเมืองไทยมีประชาสังคมอยู่เพียงประเภทเดียวก็ไม่น่าจะเรียกองคาพยพนั้นว่าเป็นประชาสังคมได้  ซึ่งก็คล้าย ๆ กับความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของวิวัฒนาการทางธรรมชาติ  ประชาสังคมที่แตกต่างและหลากหลายประเภทก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของวิวัฒนาการทางสังคมและการเมืองไทย   ในความแตกต่างและหลากหลายประเภทนั้นก็มีทั้งความแตกต่างและหลากหลายใน ‘แนวราบ’ และ ‘ซ้อนเป็นชั้น’ คละเคล้าอยู่ร่วมกัน  ซึ่งก็มีทั้งรูปแบบ  แนวทาง  ความชอบ  ความถนัด  วิธีการและอุดมการณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างและหลากหลายในแนวราบขึ้น  เช่น  บางประชาสังคมก็ทำงานหรือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับเด็ก  เยาวชน  นักเรียนนักศึกษาในระบบและนอกระบบ  คนจนเมือง  คนจนชนบท  ผู้ยากไร้  คนไร้บ้าน  ผู้ด้อยโอกาส  กลุ่มเปราะบาง  คนชรา  คนพิการ  ผู้หญิง  […]

1 2 3 32