“สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ” เป็นสิทธิเสรีภาพที่พัฒนามาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐที่ปกครองในระบอบดังกล่าวจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง สําหรับประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรก จนมาถึงฉบับปี 2560 ได้รับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะไว้เช่นกัน สะท้อนว่ารัฐไทยให้ความสําคัญต่อการสนับสนุน ส่งเสริมและคุ้มครองการใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประชาชนมาอย่างยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงการชุมนุมสาธารณะ โดยเยาวชน นิสิตนักศึกษาและประชาชนกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2563 รัฐไทยมีการรับมือกับการชุมนุมดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งอาญาจักรไทยและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เห็นได้จากการที่รัฐไทยใช้วิธีการตอบโต้ “การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธ” ผ่านการคุกคาม ข่มขู่เพื่อขัดขวางไม่ให้การชุมนุมดังกล่าวสามารถดําเนินการได้อย่างราบรื่น เริ่มตั้งแต่ใช้ “การติดตาม คุกคาม ข่มขู่” ทั้งต่อผู้ที่จัดการชุมนุมหรือผู้ที่สนับสนุนการชุมนุม โดยการเยี่ยมที่บ้าน การเชิญผู้ปกครองมาพบเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อทําข้อตกลงไม่ให้นักเรียน นักศึกษาเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น “การแจ้งความดำเนินคดี” เพื่อสร้างความกลัวและลดทอนศักยภาพ
ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งข้อกล่าวหานั้น มีตั้งแต่ความผิดฐานลหุโทษ ไปจนถึงข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นโทษที่รุนแรง ไม่เท่านั้น การถูกจับกุมดำเนินคดียังส่งผลทำให้ผู้ที่ถูกดําเนินคดีต้องเผชิญต่อ “การจํากัดเสรีภาพสิทธิในกระบวนการยุติธรรม” อาทิ อุุปสรรคในการเข้าถึงทนายความและการจํากัดสิทธิในการปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เป็นต้น และการใช้กําลังในการ “การสลายการชุมนุม” ของเจ้าหน้าที่ตํารวจหลายครั้งติดต่อกัน ทําให้ทั้งผู้ที่ชุมนุม สื่อมวลชนและผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการชุมนุมต่างได้รับบาดเจ็บ โดยบางรายถึงขั้นพิการ และทรัพย์สินของประชาชนเสียหาย
ด้วยเหตุนี้ นักกฎหมาย ทนายความ ซึ่งทํางานขับเคลื่อนสิทธิในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด และคณะอาจารย์ด้านนิติศาสตร์ จึงได้รวมตัวกันในนามของ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อ “ฟ้องคดีโต้กลับ” หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสร้างบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ดําเนินการฟ้องดําเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรณรงค์ผลักดันให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและหน่วยงานรัฐปรับปรุงการชุมนุมให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและหลักสากลระหว่างประเทศ
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนพบข้อจํากัดและข้อท้าทายในการทํางานหลายประการที่ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ โดยเฉพาะปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยด้านมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในระยะ 1 ปีที่ผ่านมานี้ สังคมไทยได้มีเหตุการณ์ที่ทําให้ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ตํารวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ลดลง และถูกมองว่าได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการคุกคาม ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนั้นยังพบว่ามีปัจจัยของผู้ฟ้องคดี ที่จะต้องมีความอดทนและพร้อมรับความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามเนื่องจากต้องเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณะ และปัจจัยการขาดแคลนทนายความ เนื่องจากทนายความที่ต่อสู้คดีกับรัฐโดยตรงมักเผชิญกับการถูกคุกคามในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย
เนื่องในวันที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นการครบรอบ 1 ปี การก่อตั้งภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เราจึงได้จัดทํารายงานฉบับนี้ขึ้นเพื่อสรุปผลการทํางานและวิเคราะห์อุปสรรค ปัญหาและข้อท้าทาย รวมถึงข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อยกระดับสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและกติกาสากลระหว่างประเทศ เพื่อนํามาซึ่งการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยที่มั่งคงของประเทศต่อไป
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
(16 ตุลาคม 2564)
คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม 1 ปี ยืน หยัด หยุุดรัฐ ทําลายสิทธิ โดยภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน