Year: 2018

ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ป่าแสหายไป ใครต้องรับผิดชอบ?

ใครต้องรับผิดชอบ เมื่อข้อมูลกล้องวงจรปิดอันเป็นพยานหลักฐานสำคัญในกรณีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส หายไป? ความจริงที่ความคลุมเครือของเหตุการณ์เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ทำให้เกิดคำถามมากมายตามมาว่าในวันดังกล่าวเกิดอะไรขึ้นกันแน่?  ดังนั้น ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุจึงถือเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะช่วยทำให้ความจริงกระจ่างขึ้น ความพยายามในเรียกร้องให้เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทั้งสาธารณะชน ทนายความ ครอบครัว และภาคส่วนต่างๆ โดยมีการพยายามทวงถามถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องขอให้เปิดเผยบันทึกภาพดังกล่าวออกมา รวมทั้งขอให้ศาลเรียกข้อมูลดังกล่าวมาพิสูจน์ในชั้นไต่สวนการตาย แต่ก็ไม่เป็นผล ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลบันทึกภาพดังกล่าวแต่อย่างใด ไม่ว่าจะในทางสาธารณะ หรือแม้กระทั่งในชั้นศาล วันที่ 18 มิถุนายน 2561  เครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส  ได้ขอเข้าพบพลเอกเฉลิมชัย สิทธิสารท ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อยื่นหนังสือขอให้ทางกองทัพส่งข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดของวันที่เกิดเหตุให้กับทนายความและญาติเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการใช้สิทธิในการเยียวยาทางกฏหมายต่อไป ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้รับจดหมายตอบกลับจากสำนักงานเลขานุการกองทัพบก โดยเนื้อความในหนังสือตอนหนึ่งระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 […]

ภรรยาบิลลี่เข้าพบ ป.ป.ท. ถามความคืบหน้าคดีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

วันนี้ (21 สิงหาคม 2561) เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มุนอ ภรรยาของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เข้าพบเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีกรณีกล่าวหาเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีการจับกุมตัวนายพอละจีเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และภายหลังนายพอละจีได้หายตัวไป  ตลอดจนสอบถามเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีบิลลี่เป็นคดีพิเศษแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้วันที่ 28 มกราคม 2558 นางสาวพิณนภา ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อให้มีการดำเนินคดีกับนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากกรณีที่มีการจับกุมนายพอละจีไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 แต่ไม่มีการส่งตัวนายพอละจีให้พนักงานสอบสวน  และหลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นนายพอละจีอีกเลย ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนการหายตัวไปของนายพอละจีขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมานางสาวพิณนภาก็ได้ติดตามความคืบหน้าของการสอบสวนดังกล่าวมาโดยตลอด  โดยครั้งล่าสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภาพร้อมกับทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้เข้าพบกับประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ […]

กองทัพบกตอบกลับทนายชัยภูมิ ป่าแส ระบุไม่พบภาพข้อมูลใดๆในกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุ

ตามที่เมื่อวันที่  18 มิถุนายน  2561 ทนายความและองค์กรเครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เพื่อขอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 นั้น ล่าสุดวันนี้ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ส่งถึงนายรัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในทนายความคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส โดยเนื้อความในหนังสือระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 กองบัญชาการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 5 (บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม.5) ได้ถอดเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดออกจากจุดตรวจบ้านรินหลวง เพื่อเตรียมการส่งให้สถานีตำรวจภูธรนาหวาย และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 กองกำลังผาเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมดำเนินการเปิดดูข้อมูลภาพเหตุการณ์ของวันที่ 17 มีนาคม 2560 แต่ภาพในเครื่องบันทึกข้อมูลเป็นภาพของวันที่ 20 – […]

ขบวนการคนงานไร้ที่ดินของบราซิลกับการใช้กฎหมายต่อสู้เพื่อปฏิรูปที่ดิน

ภาพจากเว็บไซด์ : terradedireitos.org ขบวนการคนงานไร้ที่ดินของบราซิล  (หรือในภาษาโปรตุเกสว่า Movimento dos Trabalhadores Sem Terra, หรือ MST) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1984 ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย MST ถือเป็นหนึ่งในขบวนการทางสังคมที่มีผลงานก้าวหน้ามากสุด มีสมาชิก 1.5 ล้านคนใน 23 จาก 26 รัฐของบราซิล เป้าหมายของ MST คือการช่วยให้เกษตรกรไร้ที่ดินที่ยากจนได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ปฏิบัติการของ MST เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า บราซิลเป็นประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมในการกระจายการถือครองที่ดินมากสุดในโลก โดยผู้ครอบครองที่ดินเพียง 1.6% เป็นผู้ถือครองที่ดินเกษตรกรรม 47% ของประเทศ ในขณะที่หนึ่งในสามของเกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรมเพียง 1.6%[1] วิกฤตหนี้ในทศวรรษ 1980 ส่งผลให้รัฐบาลต้องสนับสนุนการส่งออกของภาคเกษตรอุตสาหกรรม รัฐต้องคุ้มครองเจ้าที่ดินรายใหญ่โดยให้การลดหย่อนด้านภาษี อนุญาตให้มีการกว้านซื้อที่ดินจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณป่าอเมซอน และยังมีปัญหาขาดการปฏิรูปด้านเกษตรกรรมและกฎหมายแรงงาน จนถึงทศวรรษ 1990 ได้เกิดกลุ่มพันธมิตรที่มีอิทธิพลของบรรดาเจ้าที่ดินที่ร่วมมือกับรัฐและธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นบรรษัทข้ามชาติในบราซิล ชนชั้นนำในภาคเกษตรของบราซิลเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสถาบันทางการเมือง เป็นหลักประกันให้พวกเขาสามารถครอบครองที่ดินและทรัพยากร[2] บราซิลมีประวัติศาสตร์ยาวนานของการต่อสู้ของเกษตรกรเพื่อที่ดินและการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ดี ระบอบเผด็จการทหารในช่วงปี 1964 ถึง […]

หนังสือ แม่อมกิ : ชีวิตแห่งผืนป่ากับมายาคติในกระบวนการยุติธรรม

[pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiDraft3.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (ภาษาไทย) [pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiEng.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (English Version) หนังสือแม่อมกิ บอกเล่าเรื่องราวของชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ 2 คน  คือ นายดิ๊แปะโพ (ไม่มีนามสกุล) กับนางหน่อแฮหมุ่ย เวียงวิชชา  ซึ่งถูกเจ้าพนักงานป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.14(แม่เงา) เข้าจับกุมขณะกำลังทำไร่ ต่อมาทั้งสองได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยการยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ตัด โค่น ก่อสร้าง แผ้วถางต้นไม้ เผาป่า ป่าท่าสองยาง (ห้วยแม่คาซึ่งจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธาร) ซึ่งอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการตัดฟันต้นไม้ เผาป่า ปรับพื้นที่ แล้วยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเอง ชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำเงาอย่างน้อยสองอำเภอในสองจังหวัด ล้วนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่กันมาเป็นชุมชนดั้งเดิม มีจารีตประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวบ้านกว่า 95 เปอร์เซ็นในลุ่มแม่น้ำแห่งนี้  ดำรงชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียน และพึ่งพาอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะการเก็บหาของป่ามาเป็นอาหาร นำไม้และใบไม้จากป่ามาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

สนส. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 กำหนดประเด็น SLAPP และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นวาระสำคัญในการขับเคลื่อนงานขององค์กร

วันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ขึ้นเพื่อทบทวนการทำงานที่ผ่านมาและกำหนดทิศทางการทำงานในอนาคต การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 นอกจากจะเป็นการประชุมประจำปีตามปกติแล้ว ยังถือเป็นการพบกันของบรรดาสมาชิกในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการก่อเกิดองค์กรอีกด้วย สนส. จึงได้ถือโอกาสนี้ในการทบทวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากบรรดาสมาชิก ซึ่งโดยสรุปแม้จะพบว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีผ่านมา  จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ สนส. ยังทำไม่สำเร็จหรือทำแล้วล้มเหลว แต่อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราเห็นร่วมกันก็คือ การค่อยๆเติบโตขึ้นของพื้นที่นักกฎหมาย/ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในที่ต่างๆและในประเด็นต่างๆ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นถือเป็นแรงผลักสำคัญที่จะช่วยให้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายค่อยๆขยับไปอยู่บนพื้นฐานของหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม ในส่วนของความล่มเหลวที่ไม่อาจทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ สนส. เองก็ได้ทบทวนบทเรียนการทำงาน พร้อมทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ และกำหนดประเด็นการทำงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศมากขึ้น  โดยที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ได้มีความเห็นร่วมกันว่าประเด็นหลักที่ สนส. ต้องขับเคลื่อนในปีหน้า คือ การยับยั้งการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPP) หรือ judicial harassment การส่งเสริมสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิของทนายความในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น […]

12 มิถุนายนนี้ ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน

ภาพ : กลุ่มดินสอสี พรุ่งนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลา 10.30 น. ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559 ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านเรือนและรื้อทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับพวกรวม 6 คน ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีอภิชาติชู้ป้ายต้านรัฐประหาร ระบุประกาศ คสช. ชอบตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แต่ด้วยจำเลยชุมนุมโดยสงบ จึงให้ยกฟ้องข้อหามั่วสุมฯก่อความวุ่นวาย

ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ถือเป็นกฎหมายตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มารองรับอีก และม่จำเป็นต้องมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ส่วนผลของคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่าจำเลยชุมนุมโดยสงบ ไม่เข้าข่ายเป็นการมั่วสุมฯ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก จึงยังคงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ  ข้อ 12  แต่ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง จึงยกโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้คงไว้เพียงโทษปรับ 6,000 บาท อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับเต็ม วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีนายอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อปี 2557 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง สำหรับบรรยากาศที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงเช้าวันนี้ มีความเข็มงวดเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ศาลมายืนต้อนรับผู้คนที่เข้าออกประตูเครื่องตรวจ มีการสอบถามผู้เดินผ่านประตูตามปกติว่ามาติดต่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมีการแจ้งว่ามาฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาต เจ้าหน้าที่จะแสดงท่าทีให้ความสนใจสอบถามเป็นพิเศษว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เจ้าหน้าที่บางคนก็คาดเดาว่าเราเป็นนักข่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการขอตรวจกระเป๋าตามปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเจ้าหน้าที่พบว่าในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์พกพามาด้วย เขาจะไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา […]

31 พฤษภาคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 อีกครั้งหลังเลื่อนมาสามครั้ง

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 มกราคม 2561 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 […]

1 2 3 4 5 7