Year: 2018

เดินมิตรภาพ: ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นเรื่องความคิดความเชื่อ และวัตรปฏิบัติของคนในสังคมในปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ในแง่นี้กฎหมายไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้พิพากษา หรือฝ่ายนิติบัญญัติในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้กับประชาชนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความคิดความเชื่อของคนในสังคมเกี่ยวกับกฎหมายและสถาบันทางกฎหมายด้วย วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยม คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกำกับควบคุมประชาชน กฎหมายไม่ได้มีไว้เป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจรัฐและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่อย่างใด กลไกรัฐส่วนใหญ่มองกฎหมายในแง่นี้และพยายามสร้างความคิดความเชื่อเช่นนี้ให้กับสาธารณะผ่านปฏิบัติการต่างๆ การใช้การตีความกฎหมายเช่นนี้มีประสิทธิภาพมากในรัฐอำนาจนิยมที่พื้นที่สำหรับการต่อสู้ โต้แย้งการเผยแพร่ความคิดดังกล่าวถูกจำกัด เช่น ประเทศจีน ประเทศลาว เป็นต้น วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตย คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน ที่ให้อำนาจรัฐบางเรื่องและในขณะเดียวกันก็จำกัดอำนาจรัฐไว้ด้วยกฎหมายนั้นเอง นอกจากเป็นข้อจำกัดของอำนาจรัฐแล้วกฎหมายยังเป็นเครื่องมือปกป้องประชาชนจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐด้วย ในแง่นี้กฎหมายจึงเป็นเสมือนกลไกที่สังคมใช้ในการควบคุมรัฐไม่ให้กลายเป็นโจร วัฒนธรรมทางกฎหมายเช่นนี้มักงอกงามในรัฐเสรีประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐมีแนวโน้มที่จะพยายามสลัดตัวเองจากการควบคุมของสังคม เพื่อให้สามารถใช้อำนาจได้ตามที่พวกเขาต้องการ ดังอมตะวาจาของ ลอร์ด แอคตันที่ว่า “อำนาจทำให้คนลุแก่อำนาจ อำนาจที่สมบูรณ์ทำให้คนลุแก่อำนาจอย่างสมบูรณ์” เมื่อกฎหมายถูกใช้ถูกตีความจากรัฐ จึงมีแนวโน้มที่มันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมประชาชน ยิ่งกว่าส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชนและควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารพยายามสกัดกั้นกิจกรรม “เดินมิตรภาพ” ด้วยการใช้การตีความพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ประกอบกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ในวันที่ […]

แถลงการณ์ร่วม : ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”

ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 […]

ภาคประชาชนร่วมบอกเล่าผลกระทบจากประกาศและคำสั่ง คสช. และร่วมแถลงข่าวทวงคืนสถานการณ์ปกติ ชวนประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. 35 ฉบับ

วันนี้ (15 มกราคม 2560) เวลา 9.30 ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายประชาสังคมกว่า 23 เครือข่าย อาทิ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เครือข่ายหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เครือข่ายแรงงาน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายประชนผู้เป็นเจ้าของแร่ เครือข่ายเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ เครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เครือข่ายสลัมสี่ภาค (ทุกภาค) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (คอป.) ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ สมัชชาคนจน ขบวนการอีสานใหม่ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai) ฯลฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเข้าชื่อเสนอกฎหมายประชาชนเพื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช.ที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย การแถลงข่าวมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปี 8 เดือนที่ คสช.บริหารประเทศมีการใช้อำนาจพิเศษออกประกาศและคำสั่ง […]

การควบคุมอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย (ตอนที่1) โดย นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

อ่านการควบคุมอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย  (ตอนที่2) (ตอนที่3) (ตอนที่4) 1. ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครอง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองว่าเกิดขึ้นและดำรงอยู่ ในระบบกฎหมายมหาชนโดยมีเหตุผลรองรับอย่างไรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของ กฎหมายมหาชนที่สำคัญประการหนึ่ง นั่นคือหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคำสอนว่าด้วยอำนาจดุลพินิจนั้นมีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับหลัก การกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายอย่างมาก ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป 1.1 ความหมายของหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า ในการใช้อำนาจกระทำการใด ๆ ของฝ่ายปกครองที่จะไปกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพซึ่งรัฐธรรมนูญของรัฐได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองแก่ประชาชนได้ก็ต่อ เมื่อมีกฎหมายให้อำนาจและต้องกระทำการดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ากฎหมายเป็นทั้งที่มา (Source) และข้อจำกัด (Limitation) ในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง[1] เนื้อหาสาระหลักของหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายนั้นแบ่งได้เป็น 2 หลักการย่อย[2] คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกร้องให้การกระทำของฝ่ายปกครองต้องอยู่ในกรอบของ กฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ และหลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการที่เรียกร้องให้การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองที่จะต้องมีกฎหมาย เป็นฐานรองรับ โดยกฎหมายที่เป็นฐานรองรับอำนาจของฝ่ายปกครองต้องเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเท่านั้น 1.2 หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายกับหลักความแน่นอนชัดเจนของกฎหมาย หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายตามที่ได้กล่าวมาในข้อ 1.1 นั้น ไม่เพียงเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองที่ประสงค์จะใช้อำนาจไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนต้องกระทำการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและกระทำการภายในขอบเขตที่ กฎหมายกำหนดเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องต่อไปอีกด้วยว่า กฎหมายที่เป็นฐานอำนาจให้ฝ่ายปกครองออกคำสั่งหรือดำเนินมาตรการใดๆ ที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นจะต้องมีความแน่นอนชัดเจนเพียงพอ ที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายสามารถคาดหมายได้ล่วง หน้าว่าถ้าพวกเขาตัดสินใจใช้สิทธิเสรีภาพกระทำการประการใดประการไป ฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจตามกฎหมายออกคำสั่งสนองตอบการกระทำของพวกเขาอย่างไร นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายไว้อย่างแน่นอนชัดเจนยังเป็นหลักประกันว่าประชาชน จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันด้วย[3] ความแน่นอนชัดเจนของกฎหมายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่ประชาชนจะสามารถใช้ สิทธิเสรีภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพของพวกเขาทั้งทางกายภาพและจิตใจของพวกเขาได้ […]

แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหมายเรียกให้นายอานนท์ นำภา ไปรับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งบิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งพันตำรวจโทสุภารัตน์ คำอินทร์  เป็นผู้แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นั้น นายอานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ใช้วิชาชีพของตนบนเส้นทางสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมมาโดยตลอด ในหลายประเด็น อาทิ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การช่วยเหลือคดีบิลลี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ถูกบังคับสูญหาย รวมถึงคดีเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน อันนำมาสู่การกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคราวนี้ด้วย พวกเรา นักกฎหมายและทนายความ ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจนายอานนท์ ในวันนี้ มีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งถือเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจของรัฐ ดังต่อไปนี้ 1.  ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม  ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา  แต่กรณีนี้ผู้กล่าวหากลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเกิดคำถามว่า  ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น  ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวหรือไม่ หากเป็นกรณที่ศาลหรือผู้พิพากษามีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้  ในทางกฎหมายก็ยังคงมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในความผิดฐานนี้     2.  การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  โดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ  การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยหลักแล้วย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจของกฎหมายและจะกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้  กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน เพราะให้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหลายประการ  การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและระมัดระวัง  มิเช่นนั้นกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกลั่นแกล้งประชาชน  3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด สืบเนื่องจากความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ […]

อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา เพื่อนนักกฏหมาย/ทนายความร่วมให้กำลังใจ

วันนี้ (10 ม.ค. 2561) เวลาประมาณ 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมาย พร้อมด้วยทนายความ และเพื่อนๆนักกฎหมาย ทนายความหลายสิบคนร่วมเดินทางมาใจกำลังใจ นายอานนท์ นำภา ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 2 ข้อความ คือ ข้อความว่า ““ทั้งยังสั่งห้ามคบค้าสมาคม….” ศาลเอาอำนาจอะไรไปสั่งใครห้ามคบกับใคร ตลกจริงๆ” และข้อความว่า “ศาลทำตัวเองแท้ๆ ถ้าการทำหน้าที่ของท่านจะถูกชาวบ้านชื่นชมหรือดูแคลน พึงรู้ไว้ว่ามันเกิดจากท่านทำตัวท่านเอง ผมหมายถึงศาลจังหวัดขอนแก่นนั่นหล่ะครับ” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 หลังจากมีการพิพากษาคดีที่สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือนิว และนักศึกษาดาวดินรวม 7 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลจากการวางดอกไม้และอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ซึ่งขณะนั้นถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยคดีนี้ พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์ เป็นผู้แจ้งความต่อ […]

รับสุภาพ คำแหล้ คืนสู่อิสระภาพ

วันนี้ (6 มกราคม 2560) ณ เรือนจำภูเขียว เครือข่ายปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินอีสาน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สหพันธ์เกษตกรภาคใต้ (สกต.) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี เครือข่ายสลัมสี่ภาค มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ฯลฯ มาต้อนรับแม่สุภาพ คำแหล้คืนสู่บ้าน คืนสู่อิสระภาพ หลังจากต้องรับโทษจำคุก 6 เดือนตามคำพิพากษาศาลฏีกาในคดีบุกรุกป่าสงวนฯอันเป็นที่ดินดั้งเดิมของพ่อตนเอง คดีนี้ เกิดขึ้นราวปี 2554 หลังจากเจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังเข้าควบคุมตัวชาวบ้านโคกยาวจำนวน 10 คน และแจ้งข้อหาบุกรุกป่าสงวนภูซำผักหนาม พ่อเด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินผู้ที่สูญหายไปตั้งแต่ 16 เมษายน 2559 และแม่สุภาพภรรยาตกเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งต่อมาในคดีของพ่อเด่น แม่สุภาพ ศาลจังหวัดภูเขียว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ล้วน พิพากษาให้พ่อเด่น และแม่สุภาพ จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนี และศาลไม่อนุญาตฎีกา อย่างไรก็ดี […]

1 5 6 7