แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์
นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

สืบเนื่องจากการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหมายเรียกให้นายอานนท์ นำภา ไปรับทราบข้อกล่าวหา ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งบิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งพันตำรวจโทสุภารัตน์ คำอินทร์  เป็นผู้แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นั้น

นายอานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ใช้วิชาชีพของตนบนเส้นทางสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมมาโดยตลอด ในหลายประเด็น อาทิ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การช่วยเหลือคดีบิลลี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ถูกบังคับสูญหาย รวมถึงคดีเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน อันนำมาสู่การกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคราวนี้ด้วย

พวกเรา นักกฎหมายและทนายความ ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจนายอานนท์ ในวันนี้ มีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งถือเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจของรัฐ ดังต่อไปนี้

1.  ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม  ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา  แต่กรณีนี้ผู้กล่าวหากลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเกิดคำถามว่า  ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น  ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวหรือไม่ หากเป็นกรณที่ศาลหรือผู้พิพากษามีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้  ในทางกฎหมายก็ยังคงมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในความผิดฐานนี้    

2.  การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  โดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ  การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยหลักแล้วย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจของกฎหมายและจะกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้  กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน เพราะให้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหลายประการ  การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและระมัดระวัง  มิเช่นนั้นกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกลั่นแกล้งประชาชน 

3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด สืบเนื่องจากความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ การตีความกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายที่กระทบสิทธิเสรีภาพจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัด การที่จะกล่าวหาบุคคลใดว่ามีความผิดอาญาดังเช่น ความผิดฐานดูหมิ่นศาลนั้น  ต้องเป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่ามีการใช้ถ้อยคำที่เข้าข่ายเป็นการดูหมิ่นศาลจริงหรือไม่ ซึ่งในทางวิชาการการดูหมิ่น หมายถึง การกระทำอันเป็นการเหยียดหยาม ลดคุณค่าของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี  เช่น กล่าวหาว่าผู้พิพากษารับสินบนจึงทำให้ตนแพ้คดี หรือกล่าวหาว่าผู้พิพากษาลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในการพิจารณาคดีของตน  เป็นต้น  หากยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอ  เจ้าหน้าตำรวจก็ต้องไม่ใช้อำนาจไปดำเนินคดี ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการตีความกฎหมายอาญาโดยขยายความออกไปจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน

4. การใช้การตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐต้องกระทำโดยสุจริต  เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ  การใช้อำนาจย่อมต้องมุ่งประโยชน์สาธารณะเป็นหลักโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง  ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่อาจมีความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้น การบังคับใช้และการตีความกฎหมายอาญาเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลใดจะต้องมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เพียงพอ และสามารถแสดงเห็นหรืออธิบายได้อย่างชัดแจ้งและมีเหตุผลว่าการกระทำตามข้อเท็จจริงนั้นฝ่าฝืนกฎหมายใด

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  พวกเราเห็นว่าการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับนายอานนท์ นำภา รวมทั้งทนายความด้านสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆที่ทำหน้าที่ทนายความเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน อาทิ ทนายศิริกาญจน์  เจริญศิริ  ทนายความของนักศึกษากลุ่มดาวดินและกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ตลอดจนการดำเนินคดีกับชาวบ้านและนักเคลื่อนไหวที่ออกมาทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชนและประชาธิปไตยตลอดระยะที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นการเคลื่อนไหว การแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าเป็นการบังคับใช้และตีความกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรมที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้กฎหมายที่มุ่งจะยับยั้งการแสดงออก การมีส่วนร่วมหรือขัดขวางการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ ดังนั้น การดำเนินคดีในลักษณะเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต้องให้ความสำคัญและติดตามตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้และตีความกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นธรรม  ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของตนเองหรือชุมชน และทนายความสามารถใช้ความรู้ความสามารถและวิชาชีพปกป้องสิทธิของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะหากทนายความไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ประชาชนที่ตกเป็นลูกความก็ย่อมไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมและปกป้องสิทธิของตนเองได้ 

ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และเพื่อนนักกฎหมาย ทนายความที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

*********************************************************************************************

Public statement of Thai lawyers and attorneys

Judicial Harassment against human rights lawyers

Mr. Anond Nampha, a human rights lawyer, has been summoned by the Royal Thai Police to answer to a contempt of court charge for “insulting either a Court or a judge during the trial process or when a verdict is delivered and for falsely and fraudulently bringing into computer system data which is either false or distorted, in part or in whole, the act of which may cause damage to the public, save for a libelous act according to the Penal Code.” The case has been reported to the Technology Crime Suppression Division (TCSD) by Pol Lt Col Supharat Kamin.

Mr. Anond Nampha has been working as a human rights lawyer and fighting for justice. He litigates on a number of public interest cases concerning natural resources and the environment, community rights, access to justice, being part of a team of lawyers on the enforced disappearance case of an ethnic Karen human rights defender and other cases concerning restriction of the right to freedom of expression. It is believed that his roles in these litigations have brought him these criminal charges.

We, fellow lawyers and attorneys, are here to show our solidarity with Anond today and are concerned about the enforcement of the law by the police who are exercising the powers of the state and we have the following to say;

1. An offence of contempt of court exists to ensure an uninterrupted course of justice and to provide a Court or a judge protection to ensure they can execute their duties independently, impartially and fairly. Therefore, an injured party in such cases should either be a Court or a judge. But the case herein has been reported by the police. It has thus given rise to a question if the Court or the judge wants to initiate such legal action or not. Even though it was either a Court or a judge who had reported the case, it would still give rise to concerns if such exercise of the powers by either the Court or the judge is too excessive or not.

2. Laws should be interpreted with consideration to people’s rights and freedoms. Previous Constitutions and the incumbent one place much emphasis on protecting people’s rights and freedoms obligating the state to always exercise its powers while considering impacts on people’s rights and freedoms. Restriction of such rights and freedoms should be an exception as provided for by a specific law, albeit such restriction shall not infringe on the material rights and freedoms. Criminal laws and criminal procedure laws can impact people’s rights and freedoms since the state is allowed to restrict certain rights and freedoms. Thus, the interpretation of criminal laws has to be made strictly and carefully. Otherwise, laws can become a tool used by the state to impede on people’s rights and freedoms.

3. The interpretation of criminal law has to be made strictly. Since criminal laws can impact rights and freedoms, they have to be subject to strict interpretation. A criminal accusation against someone, including a contempt offence, has to be clearly substantiated, i.e. that an offensive word has been uttered against the Court. Technically, to insult is to subject either the Court or the judge to a berating or degrading verbal act during the trial, for example by saying that a particular judge has been bribed and as a result, the person has lost the case or by saying that a particular judge is impartial and lacks fairness when adjudicating one’s case. Without such material evidence, the police should refrain from exercising their power on such contempt case. Otherwise, it could be assumed that the police have made such interpretation of the law simply to restrict people’s rights and freedoms.

4. Legal interpretation has to be made in good faith. Every state officer acts on behalf of the state to protect public interest., Their exercising of power should be primarily geared toward protecting public interest excluding their personal interest. Otherwise, such officers can be held liable for an abuse of office, the violation of the Penal Code’s Section 157 for wrongfully exercising or not exercising any of their functions to the injury of any person or dishonestly exercising or omitting to exercise any of his functions. Therefore, the enforcement and interpretation of criminal law to hold a person to account has to be supported by sufficient facts and evidence. And such case must be explainable or describable as to why such alleged act is actionable and which provision of the law it has violated.

Based on the aforementioned reasons, we have found the case initiated by the police against Mr. Anond Nampha and other human rights lawyers who have performed their duties as lawyers to protect human rights including Lawyer Sirikan Charoensiri who represents student activists of Dao Din and New Democracy Movement (NDM) and other prosecutions against the villagers and other human rights defenders who have acted peacefully to protect human rights, community rights and democracy an enforcement and interpretation of the law that does not comply with human rights principles as prescribed for by the Constitution. Such prosecutions simply aim at stifling the right to freedom of expression, preventing their participation and action to protect human rights and preventing lawyers from performing their duties. Such legal actions should be a cause of concern for personnel in the justice process and general public. Attention should be paid by public officers to ensure that the enforcement and interpretation of the laws is correct and fair. This would enable people to come out and exercise their rights to protect their individual and public interest while lawyers can use their knowledge and professional expertise to effectively protect people rights. Since if a lawyer is prevented from fully delivering, their clients would be deprived of access to justice process and the protection of their rights.

With respect in human dignity and people’s rights and freedoms