admin

แอะนอ พุกาด : กฎหมาย วิถีชีวิต และสิทธิชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

นางแอะนอ พุกาด อายุ 40 ปี หญิงชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมติดแผ่นดิน เกิดและตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่บริเวณลำห้วยที้โพ้เปรือ หรือภาษาไทยเรียกว่าห้วยส้ม เป็นบริเวณที่ชาวกระเหรี่ยงดั้งเดิมเรียกว่า “ใจแผ่นดิน” บรรพบุรุษของเธอตั้งรกรากในพื้นที่นี้มาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เธอยังไม่มีบัตรประชาชน แต่ถือบัตรเลข 0 และเธอพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ สามีของเธอเสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อน เธอมีลูก 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน ปัจจุบันเธอจึงมีภาระเลี้ยงดูลูกที่ยังเรียนอยู่ 2 คน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ลูกๆทุกคนของเธอเกิดในพื้นที่บริเวณใจแผ่นดินเช่นเดียวกันเธอ และทุกคนถือบัตรเลข 0 อยู่ระหว่างรอสถานะ เธอเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวบางกลอย โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลักดันและเผาบ้านกะเหรี่ยงเมื่อปี 2554 ปัจจุบันเธอกำลังจะถูกดำเนินคดี เพราะทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตเพื่อการเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผูกติดกับที่ดิน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นไร่ในลักษณะดั้งเดิมในที่ดินที่มีมากกว่าหนึ่งแปลงแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อที่จะได้มีการพักฟื้นที่ดินเพื่อปรับความสมดุลตามธรรมชาติ การทำไร่แบบเป็นแกนหลักต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งมีคุณูปการต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ภาวะไร้สารพิษทางการเกษตร […]

พรุ่งนี้แล้วต้องขึ้นศาล : ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร

ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ นัดพร้อม/สอบคำให้การคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1460/2560 ซึ่งเป็นคดีที่ชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 คนถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดฐานซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร ที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจากเอกชนจำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. นายภาสกร เจริญมีชัยกุล 2. บริษัทสากลทรัพยากรพัฒนา จำกัด 3. บริษัท อิควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้เข้าแจ้งความและตำรวจ สภ. ชัยบุรีได้ขอให้ศาลจังหวัดเวียงสระออกหมายจับชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนาจำนวน 15 คน เป็นเหตุให้ในวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2560 ตำรวจ สภ. ชัยบุรี ได้ทำการจับกุมตัวชาวบ้านจำนวน 8 คน […]

เรื่องราวของเอกสารสิทธิ์และจอบเสียม

เมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทที่มีเงินทุนกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด เรื่องราวการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ณ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี นายเริงฤทธิ์ สโมสร สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เป็นหนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนาจาก 15 คน ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคดีนี้ที่https://naksit.net/th/?p=608 ) ทางทีม HRLA ได้ลงไปติดตามสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้พบกับนายเริงฤทธิ์ ซึ่งนายเริงฤทธิ์อาศัยอยู่ในชุมชนน้ำแดงมาระยะเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว และได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง… “จากปัญหาที่เกิด เรื่องปากท้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีที่ทำกิน เป็นเหตุผลที่ต้องเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ความรู้สึกของชาวบ้าน หลังจากที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็รู้สึกว่าเป็นครอบครัว เป็นชุมชน ตลอดระยะเวลาปีที่ 10 เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ทิ้งร้าง ไม่มีผู้ใดมาใช้ประโยชน์ ชาวบ้านที่เป็นชาวบ้านข้างเคียง ก็เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ที่ว่าน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ เพื่อที่จะให้ครอบครัวมีอาชีพ ซึ่งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินประเภทไหน รู้แต่ว่าเป็นป่า ป่าที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็ทยอยเข้ามาทีละครัวสองครัว เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน มาตลอดระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2551 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีใครเข้ามาแสดงสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของ กลุ่มชาวบ้านเองก็คาดไม่ถึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องของคดีความ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าชาวบ้านจน ๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่ ที่เค้าไม่ใช้ประโยชน์ แล้วจู่ […]

แจ้งข่าว : ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาคดีกลุ่มคนฮักท้องถิ่นคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงงานกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ คนฮักท้องถิ่นคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงงานกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย คดีหมายเลขดำที่ 146/2554 และ คดีหมายเลขแดงที่ 278/2556 คดีนี้สืบเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลริมกก ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 100 รายเป็นผู้ฟ้องคดี พร้อมรายชื่อผู้สนับสนุนการฟ้องคดีกว่า 1,000 รายชื่อ รวมตัวกันยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกให้แก่บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด เนื่องจากกระบวนการออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วยพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของจังหวัดเชียงรายขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และอาจมีผลกระทบกับแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยร่างกายจากฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้วัตถุดิบ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขนส่งวัตถุดิบจากอำเภออื่นๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท พลังงานสะอาดดี 2 จำกัด นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ก่อสร้างยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย […]

“คุณัญญา สองสมุทร”กับเส้นทางอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หากนับจากรุ่นแรกที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ.2556) โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)ได้รับอาสาสมัครเข้าโครงการจำนวน 8 รุ่นแล้ว โครงการนี้ได้ปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนแล้วส่งต่อคนออกมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวทั้งในบทบาทนักกฎหมายและทนายความ ส่งผลให้แวดวงนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าที่เคยเป็น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นยังมีประสบการณ์ทำงานไม่มากนัก แต่การที่ได้ทำงานกับทนายความรุ่นพี่ๆที่คอยส่งต่อความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับรุ่นน้องๆอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่ามุมมองแนวคิดการทำงานเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือยังคงมีอยู่ในสังคมไทยไม่ได้สลายหายไปตามสายลม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีจุดเริ่มจากการปลูกฝังแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนจากโครงการอาสาสมัครนักฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเหล่าอดีตอาสาสมัครในหลายๆรุ่นของโครงการดังกล่าวร่วมด้วยช่วยกันชักชวนนักกฎหมายและทนายความที่มีประสบการณ์และมีแนวคิดการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อก่อร่างสร้างพื้นที่ห้องทดลองงานด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยหวังเอาไว้ว่าสักวันวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นในสังคมไทย แม้จะมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องทุ่มทั้งกำลังกายและกำลังใจในปริมาณที่มากโขให้กับสิ่งๆนั้นพวกเขาก็เต็มใจที่ทุ่มแรงกายและใจ ผลสำเร็จอาจไม่ได้มาเพียงชั่วข้ามคืนเป็นเรื่องที่ต้องดูกันยาวๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ๆเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต นั่นเองที่ทำให้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) หรือแม้กระทั่งมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)เอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของพลังคนรุ่นใหม่ที่จะสานต่อภารกิจให้ลุล่วง จึงเลือกที่จะให้พื้นที่กับนักกฎหมายรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาเรียนรู้และทำงานในเส้นทางสายสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอๆ แม้จะมีเบี้ยมีทุนไม่มากมายนักแต่ด้วยหัวจิตหัวใจทำให้โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ล่วงเข้าสู่รุ่นที่ 8แล้ว ที่ผ่านมาทำให้เกิดคนทำงานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนในจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมบ้างแล้ว และหวังว่ามันจะเพิ่มจำนวน(พร้อมคุณภาพ)มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต หากเป็นเช่นนั้นจริงความหวังคงไม่ไกลเกินจริงมากนัก ในปีนี้ “นางสาวคุณัญญา สองสมุทร” คือคนที่ได้โอกาสใช้พื้นที่ของการเป็นอาสาสมัครเข้าทำงานร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) เธอไม่ได้เข้ามาจากการโหวตทาง sms จากทางบ้านแต่อย่างใด เธอบอกกับเราว่าเธอมาพร้อมใจที่อาสาทำดี จริงเท็จประการใดลองไปทำความรู้จักกับตัวตนและความคิดของเธอในฐานะ “อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน” ไปกันเลย !!! HRLA: ช่วยแนะนำตัวให้เราได้รู้จักที่ไปที่มาของตัวคุณ Volunteer: ชื่อคุณัญญา สองสมุทร ชื่อเล่น หนึ่ง ปัจจุบันหนึ่งอายุ 28 ปี หนึ่งเป็นคนจังหวัดระนอง เรียนชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดระนอง ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์ […]

ภาคประชาชน เรียกร้องรัฐรับฟังความเห็นร่างกฎหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงพิธีกรรม

วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เครือข่ายองค์ภาคประชาสังคม ร่วมกันออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบจากการออกกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 2560 แถลงการณ์ฉบับนี้รวบรวมและสรุปความคิดเห็นจากนักวิชาการ และภาคประชาชน ในงานเสวนา “การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย กับ กรณีการออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77” ซึ่งจัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีที่ออกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบของกฎหมายและการรับฟังความคิดเห็น ไว้แค่ให้หน่วยงานรัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ อย่างน้อย 15 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับฟังประชาชนที่ต่ำมาก ทำให้การรับฟังความคิดเห็นกลายเป็นแค่เพียงพิธีกรรม “ที่ผ่านมาการเร่งดำเนินการร่างกฎหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว การรับฟังความคิดเห็นเป็นเพียงการทำตามแบบฟอร์มตามมติคณะรับมนตรีและไม่สนใจกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ที่รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และต้องวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้านและเป็นระบบ” สุรชัย กล่าว นายสุรชัย ยกตัวอย่างว่า ตลอดระยะเวลาเกือบสามเดือนหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ พบตัวอย่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นตามมติคณะรัฐมนตรีในประเด็นที่กระทบต่อประชาชน เช่น […]

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ : กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้ การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป   ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ? ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที […]

แถลงการณ์ ประนามเหตุระเบิดในโรงพยาบาล และเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ตามที่ปรากฎข่าวตามสื่อมวลชนหลายสำนักว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้องตรวจโรคนายทหารชั้นยศนายพล และที่ช่องจ่ายยา ช่องการเงิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้รับบาดเจ็บ 24 ราย และมีการยื่นยันจากเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นพบแผงวงจรไอซีทามเมอร์ เศษสายไฟ และเศษถ่านไฟฉายตกอยู่ในพื้นที่ คาดว่าเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระเบิด สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว และมีความเห็นว่า สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สัมบูรณ์ ซึ่งถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่อาจล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ การใช้โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรง เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในทางสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาเจนีวาที่กำหนดหลักการมูลฐานสำคัญให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดภัย การห้ามใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีเครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด หรือเพื่อประโยชน์แก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกติกาที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในสภาวะสงคราม แต่ในความขัดแย้งรุนแรงโดยทั่วไปก็ควรเคารพหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ในกระบวนการค้นหา จับกุมหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจำเป็นต้องเคารพหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งกำหนดให้ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม ได้รับแจ้งถึงข้อหาโดยพลัน และบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการติดต่อกับทนายความและญาติ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ขอประนามการก่อความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาล […]

แถลงการณ์ คัดค้านร่างกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน

ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….. ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมิได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนแต่กลับเป็นการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวระบุให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” ต้องได้รับใบอนุญาตโดยคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มาจากกลุ่มบุคคล ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้อันเถือได้ว่าเป็นการเปิดทางให้มีการแทรกแซงสื่อได้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)และองค์กรข้างท้ายขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ ๑. “เสรีภาพของประชาชน” หมายความเชื่อมโยงถึง “เสรีภาพของสื่อมวลชน”ด้วย ถือเป็นหลักการสำคัญของสิทธิเสรีภาพที่สำคัญประการหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ในแง่ที่ว่าหากจะมีการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวล จักต้องคำนึงถึงหลักการเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยอย่างเคร่งครัด ๒. แนวคิดในการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้นจักต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกันว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพควบคู่ไปกับ หรือถูกกำกับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ซึ่งประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อย่อมสามารถใช้วิจารณญาณในฐานะวิญญูชนที่จะวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้และสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันในสังคมนั้นๆเอง ๓.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในการเสนอข่าวสาร หรือแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องเสรีภาพในการรับ แสวงหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น โดยต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมของสังคม ซึ่งสื่อมวลชนยังต้องได้รับการกำกับภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา กฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร กฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ กฎหมายด้านการจดแจ้งการพิมพ์ ฯลฯ โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีเจ้าพนักงานของรัฐกำกับดูแลและควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อบุคคลและต่อสังคมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนอีก ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สสส.และองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

1 24 25 26 27 28 32