ข่าวสิทธิมนุษยชน

ว่าด้วยเรื่องการแต่งกายของทนายความหญิง

ทนายคอรีเยาะ มานุแช แบ่งปันมุมมองเรื่องการแต่งกายของทนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ข้อที่ 20 ที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นมืออาชีพของการประกอบวิชาชีพทนายความ ให้ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือ

Recommendations on the Protection of Those who Exercise Their Rights and Freedoms from Strategic Lawsuits Against Public Participation

Strategic Lawsuits Against Public Participation or SLAPPs constitute a form of harassment in which the judicial system is employed as a means of judicial harassment to target people involved in public participation or exercising their political rights so as to cause damage or to obstruct their freedom of expression of opinion or constructive arguments

สถานการณ์ฟ้องคดีปิดปากต่อนักปกป้องสิทธิชุมชนกับความคืบหน้าแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

จากวงเสวนาเรื่อง “สถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (ร่าง NAP)” โดยมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนร่วมองค์กรเครือข่าย ที่โรงแรมมิโด โฮเทล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 เพื่ออัพเดทสถานการณ์ทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยโดยเฉพาะในประเด็นด้านที่ดินและฐานทรัพยากรธรรมชาติ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และบรรษัทข้ามชาติและการลงทุนข้ามพรมแดน

แถลงการณ์ ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลจังหวัดยะลา อ้างว่า ถูกแทรกแซงความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี  

ตามที่ปรากฏข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ว่า นายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลจังหวัดยะลา ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองในห้องพิจารณาคดี บัลลังก์ 4  ศาลจังหวัดยะลา ภายหลังจากที่อ่านคำพิพากษายกฟ้องคดีหนึ่ง ต่อมาปรากฏแถลงการณ์ในสำนวนคดีอาญาหมายเลขคดีดำที่ 3428/2561  ศาลจังหวัดยะลา

ดีเอสไอแถลงพบเบาะแสบิลลี่เสียชีวิต หลังจากหายตัวไปกว่า 5 ปี

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงว่าพบถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ที่ในถังมีชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ บริเวณใกล้สะพานแขวน ซึ่งคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของบิลลี่

แจ้งข่าวคดีนักปกป้องสิทธิแรงงานถูกฟาร์มไก่ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย กรณีรายงานการละเมิดสิทธิแรงงาน ศาลใช้เวลาไกล่เกลี่ย 3 ชม.กว่า ก่อนโจทก์จำเลยตกลงกันได้และโจทก์ยอมถอนฟ้อง  

สืบเนื่องจากกรณีที่บริษัทธรรมเกษตร  จำกัด ได้ฟ้องนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในคดีละเมิดตามมาตรา 423 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรียกค่าเสียหายจำนวน  5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) 

แนวทางปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านการใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายแร่ฉบับใหม่

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ การจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน มาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม และหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก ล้วนเป็นเนื้อหาใหม่ที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒[1] แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือ ‘กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ว่าจะต้องถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาตประทานบัตรสำหรับการทำเหมืองแร่ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รัฐมนตรี) เป็นผู้ออกประกาศร่วมกัน ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองและการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ก่อนด้วย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะหนักหรือสารพิษ และการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากสารเคมีหรือมลพิษที่เกิดจากการทำเหมืองของประชาชนในพื้นที่ก่อนและหลังการทำเหมืองด้วย นับว่าเป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างก้าวหน้าทีเดียวเมื่อเทียบกับกฎหมายแร่ฉบับเก่าหรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ถูกยกเลิกใช้บังคับไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะมีอัตราโทษเบาเกินไปเพียงแค่ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้ประกอบการที่ได้กำไรมหาศาลจากการประกอบกิจการเหมืองแร่และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ผลของมาตรา ๓๒ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องออกประกาศหลายฉบับ อาทิเช่น (๑) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๒) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๓) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษหรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๔) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอกสำหรับการทำเหมือง […]

คดีแม่ชัยภูมิ ป่าแสฟ้องเรียกค่าเสียหายกองทัพบก ศาลสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ศาลแพ่ง (ถ.รัชดาภิเษก) นัดชี้สองสถานในคดีระหว่าง นางนาปอย ป่าแส โดยนายไมตรี จำเริญสุขสกุล ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และ กองทัพบก จำเลย โดยฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 . ศาลมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพยานโจทก์ที่จะนำสืบทั้ง 9 ปาก มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด จึงจะต้องนำสืบพยานผ่านทางจอภาพ และโจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเงินค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นนั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการสืบพยานผ่านทางจอภาพ จึงมีเหตุจำเป็นที่จะส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และให้นัดพร้อมเพื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ทั้ง 9 ปาก ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กันยายน 2562 เวลา 09.00 น. . คดีนี้สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่าชัยภูมิมียาเสพติดไว้ในครอบครองกว่าสองพันเม็ด และมีพฤติการณ์จะขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ จึงเป็นเหตุต้องวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิในขณะนั้น . ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน […]

สนส. เปิดตัวรายงานการฟ้องคดีปิดปาก เสนอแนวทางป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ ใช้กฎหมายปิดกั้นการแสดงออกประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) จัดงานเสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย ไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กล่าวเปิดงานโดยชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีการคุกคามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะรูปแบบใหม่คือการใช้กฎหมายและใช้การฟ้องคดีระงับการแสดงความคิดเห็น หรือมีชื่อที่รู้จักในวงกว้างว่าการฟ้องคดีปิดปาก หรือ การฟ้องคดี SLAPPs เกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จัดงานในวันนี้ขึ้น เนื่องจากการปกป้องสิทธิมนุษยชนนั้นต้องใช้ความรู้เพียงพอ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก สนส. จึงจัดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ความรู้ และหาแนวทางแก้ไข จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการฟ้องคดีปิดปาก เพราะการฟ้องปิดปากคือการหยุดการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นมากในช่วงระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา งานเสวนานี้ และงานวิจัยคงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน และทำให้ทุกคนตื่นรู้ และทุกคนจะได้เสนอความเห็นว่าจะเดินหน้าปกป้องคนเหล่านี้ได้อย่างไร สนส. เปิดเนื้อหารายงานวิจัยเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก บัณฑิต หอมเกษ นำเสนอถึงรายงาน “ข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี” SLAPPs หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation คือการฟ้องคดีเพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ คนเข้าใจมากว่าเป็นการฟ้องเฉพาะคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ในความเป็นจริงแล้วมีข้อหาอื่นด้วย เช่น ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.ชุมนุม […]

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการถูกฟ้องคดีเมื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ: กรณี นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายคนถูกแจ้งความดำเนินคดีและตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของประชาชน การดำเนินคดีเช่นนี้ เรียกว่าการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน(SLAPPs)

1 3 4 5 6 7 14