admin

บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิและวิถีชีวิตชาติพันธุ์กระเหรี่ยงแห่งแก่งกระจาน

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้ แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจับกุมจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ ยังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป ทั้งนี้ คดีดังกล่าว ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 8 กันยาน 2559 ซึ่งคำพิพากษาโดยสรุประบุว่า ผู้ร้องที่เป็นชาบบ้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงไม่มีสิทธิอยู่อาศัยในพื้นที่ดั้งเดิม ส่วนการรื้อถอนด้วยวิธีเผาทำลายเพิ่งพักและยุ้งฉาง ศาลตัดสินว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักความได้สัดส่วนและตามควรแก่กรณีสภาพการณ์ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจโดยชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว อย่างไรก็ดี ศาลให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช […]

ทนายสมชาย นีลไพจิตร ทนายความด้านสิทธิผู้ทำงานตรวจสอบอำนาจรัฐในสถานการณ์พิเศษ

นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ถูกบังคับให้สูญหายเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 การบังคับสูญหายทนายสมชาย คาดว่ามีมูลเหตุมาจากการที่เขาทำงานช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ และเขายังมีบทบาทในการเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อยกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงที่ประกาศใช้ในพื้นที่ด้วย ในทางคดี พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาพิเศษ 6 ได้เป็นโจทก์ฟ้องเจ้าพนักงานตำรวจรวม 5 นายได้แก่ พ.ต.ต.เงิน ทองสุก พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญกำพงษ์ จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ต่อศาลอาญาเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1952/2547 ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพโดยใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 และ 391 เพราะเหตุประเทศไทยยังไม่มีความผิดฐานบังคับให้บุคคลสูญหายโดยตรง จึงต้องฟ้องในฐานความผิดอาญาอื่น คดีนี้ ครอบครัวผู้เสียหายได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ซึ่งศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ครอบครัวผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์กับอัยการได้  แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อนุญาตให้ภรรยาของนายสมชายเข้าเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลฎีกาพิพากษายืน โดยทั้งสองศาลให้เหตุผลว่าคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 (2) กล่าวคือภรรยาและบุตรไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่านายสมชายได้ถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตายตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถเข้าเป็นโจทก์ร่วมเอง ประเด็นที่ญาติของนายสมชายไม่สามารถเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมในการนำคนผิดมาลงโทษอย่างสิ้นเชิงโดยส่วนสำคัญของปัญหาคคือการขาดซึ่งกฎหมายอาญาที่กำหนดว่าการบังคับให้บุคคลหายสาบสูญหรืออุ้มหายเป็นความผิดทางอาญา และการตีความกฎหมายอย่างแคบไปในทางจำกัดสิทธิของญาติในการเข้าเข้าเป็นโจทก์ร่วมของศาลลทำให้สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้เสียหายไม่ได้รับการยอมรับ การต่อสู้คดีที่ยาวนานกว่า 12 ปี จบลงด้วยการที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นตำรวจทั้ง 5 […]

เด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินอีสาน

นายเด่น คำแหล้ ประธานโฉนดชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ แกนนำการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดินทำกินในภาคอีสาน หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังเดินทางไปเก็บหน่อไม้บริเวณสวนป่าโคกยาว จ.ชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2559 นายเด่น คำแหล้ เป็นเกษตรกรใน ต.ทุ่งลุยลาย ตั้งแต่ก่อนพื้นที่ดังกล่าวจะถูกประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ.ชัยภูมิ ในปี 2516 โดยเด่นกับภรรยาได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินด้วยการปลูกสร้างสวนป่าโคกยาวและปลูกยูคาลิปตัส จนกระทั่งปี 2528 เจ้าหน้าที่ป่าไม้และกองกำลังทหารพรานได้อพยพครอบครัวของเด่น และชาวบ้านคนอื่น ๆ ออกจากพื้นที่ทำกิน โดยสัญญาว่าจะจัดสรรที่แห่งใหม่ให้รายละ 15 ไร่ แต่พื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้กลับมีเจ้าของอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงอยู่ในสภาพไร้ที่ดินทำกิน นายเด่น คำแหล้ ร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิที่ดินทำกินมานับแต่นั้น กระทั่งกระบวนการแก้ไขปัญหาเข้าสู่ปี 2548 คณะทำงานตรวจสอบพื้นที่โดยมี ธนโชติ ศรีกุล ปลัดอาวุโสอำเภอคอนสาร เป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถือครองทำประโยชน์ที่ดิน และการสำรวจรังวัดพื้นที่ มีมติว่าสวนป่าโคกยาวได้สร้างผลกระทบขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ และให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเป็นการต่อไป ต่อมาคณะอนุกรรมการสิทธิที่ดินและป่าในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงตรวจสอบพื้นที่และได้รายงานผลการละเมิดสิทธิ โดยมีมติว่าการปลูกสร้างสวนป่าโคกยาวได้ละเมิดสิทธิในที่ดินของผู้เดือดร้อน และให้ยกเลิกสวนป่าโคกยาว ทั้งนี้ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจะได้ข้อยุติ ให้ผู้เดือดร้อน สามารถทำกินในระหว่างร่อง แถวของสวนป่าไปพลางก่อน ต่อมาพื้นที่พิพาทสวนป่าโคกยาว […]

ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความด้านสิทธิฯ ผู้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐแจ้งความถึง 3 คดีสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ

ภายหลังจากการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะมีกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบากด้วยเช่นกัน  การแจ้งความดำเนินคดีถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คือหนึ่งในทนายความที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ศิริกาญจน์ ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ 14 นักศึกษาจากรถยนต์ของเธอ เมื่อช่วงกลางดึกวันนี้ 27 มิถุนายน 2558 แต่เธอและทีมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนไม่ยินยอม เนื่องจากการตรวจค้นวัตถุพยานตามกฎหมายจะต้องกระทำในที่เกิดเหตุ หรือต้องมีหมายศาล และเธอได้เข้าแจ้งความฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นี้จึงเป็นเหตุให้ต่อมาเธอถูกดำเนินคดี โดยปัจจุบัน ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ถูกแจ้งความดำเนินคดีแล้ว 3 คดี ได้แก่ คดีที่ 1 พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ได้แจ้งความดำเนินคดีข้อหากระทำความผิดฐานซ่อนเร้นพยานหลักฐานและทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา 142 และมาตรา 368 ประมวลกฎหมายอาญา จากการที่ .ศิริกาญจน์ทำหน้าที่ทนายความปกป้องสิทธิของลูกความโดยการไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าค้นรถของตนโดยไม่มีหมายค้นเพื่อยึดโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาทั้ง 14 คน ซึ่งฝากทีมทนายความไว้ก่อนเข้าเรือนจำในคืนวันที่ 26 มิ.ย. 2558 คดีนี้มีนัดฟังคำสั่งอัยการว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อศาลแขวงดุสิตหรือไม่ในวันที่ 17 ม.ค. 2560 ซึ่นี้เป็นการเลื่อนรอบที่ 4 แล้ว คดีที่ 2 […]

ใบแจ้งข่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในคดีลอบสังหาร นายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค8 ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย ในคดีลอบสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ และยกคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมเนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก จากพยานหลักฐานและการนำสืบดังกล่าวจึงไม่ส่ามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค8 ได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในเรื่องของประจักษ์พยานรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย และจากนั้นเดินไปขึ้นท้ายรถจักรยานยนต์ของคนร้ายอีกคนเพื่อหลบหนี […]

หลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายใช้ บุญทองเล็ก อีกครั้งกับการลอยนวลพ้นผิด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ คดีนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้มือปืนที่ก่อเหตุยิงนายใช้ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์. เนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ ส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  คดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ล่วงหน้า ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ โดยพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 […]

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

ความสำเร็จภายใต้กฎหมายความมั่นคง โดย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า ได้ประกาศผลความสำเร็จในการทำงานเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงด้วยวิธีการอบรมแทนการดำเนินคดี ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีผู้จบหลักสูตรการอบรมมาแล้วสองคน คือ นายรอยาลี บือราเฮง และนายยาซะ เจะหมะ ทั้งสองคนเป็นผู้ต้องหาและได้รับสารภาพในความผิดที่ถูกกล่าวหา โดยยอมรับว่ากระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยินยอมเข้ารับการอบรมตามมาตรา ๒๑ แทนการถูกดำเนินคดี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นการสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้หลายคนที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้มีช่องทางหรือหาทางออกให้กับตัวเอง กฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ฉีกแนวกว่ากฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับมาแล้ว ทั้งกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเปิดพื้นที่ให้ผู้กระทำความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงแต่กลับใจได้มีโอกาสเข้ามอบตัว หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่าผู้ต้องหานั้นๆกระทำไปเพราะหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งเห็นว่าการกลับใจของผู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ในกรณีอย่างนี้ หากผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.) เห็นชอบ ก็สามารถส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล และหากศาลเห็นสมควร เมื่อสอบถามผู้ต้องหาแล้วสมัครใจเข้าร่วมอบรม ก็อาจสั่งให้ผู้ต้องหานั้นเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดไว้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนแทนการถูกดำเนินคดี ผลในทางกฎหมายในกรณีนี้ คือ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นอันระงับไป ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ต้องหาเอง เจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นต้องการให้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือผู้ที่มีหมายจับ ไม่ว่าจะเป็นหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินหรือตามป.วิอาญาได้เข้าสู่กระบวนทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อความไม่สงบ อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างบรรยากาศหรือเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความเห็นต่างได้มีโอกาสเข้ามาให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นความปรารถนาดีของรัฐที่มีต่อฝ่ายที่หลงผิดและเข้าสู่ขบวนการ ไม่ว่าที่ยังอยู่ในพื้นที่หรือที่กำลังหลบหนีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ยุติทั้งความคิดและการกระทำ เท่ากับว่ารัฐได้เปิดหนทางให้แล้ว และหากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการนี้ก็มีโอกาสที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ในกรณีที่ไม่มีอาชีพ ทางการก็อาจหาอาชีพให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอให้ยุติการก่อเหตุรุนแรง หยุดสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ร่วมกันพัฒนาชาติและสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป แต่ข้อสรุปนี้จะเป็นความคาดหวังที่ยังห่างไกลความจริงของรัฐหรือไม่ […]

ความจริงคนละชุด โดย ไพโรจน์ พลเพชร

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ชุมนุมก็ตาม คุณค่าชีวิตจะต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีสิทธิ์อ้างประชาธิปไตยเพื่อเอาชีวิตเข้าไปทำลายชีวิต ขณะเดียวกันไม่ใช่เอาอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาสังคมแล้วทำลายชีวิต เพราะว่านี่คือคุณค่าที่สำคัญที่สุด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ประชาธิปไตยก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน หน้าที่ในการปกป้องสังคมก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ที่รัฐอ้างว่าเป็นหน้าที่ต้องปกป้องความสงบสุขเรียบร้อย ก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน กฎหมายจัดการไม่ได้ ตำรวจจัดการไม่ได้ รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วสังคมนี้จะอยู่กันอย่างไร มีคนวิตกแบบนี้ และนี่เป็นแรงขับดันทำให้พลังอำนาจทหารที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเป็นไปได้สูง ดังนั้นต้องถามว่าแล้ว นปช.ต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า ทำไมต้องการอย่างนั้น หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการอย่างนั้นหรือ ถ้าเราไม่ต้องการ เราต้องการรักษาประชาธิปไตยใช่ไหม เราจะต้องไม่ทำให้ไปสู่ทางนั้น แน่นอนว่าเขาจ้องอยู่ เราก็ไม่ต้องสร้างเงื่อนไข หลังเหตุการณ์นองเลือดวันที่ 10 เมษา ดูหมือนสังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้จากความสูญเสีย เช่นเดียวกับที่ไม่เคยถอดบทเรียนในอดีตของการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาการเมือง เพราะจนถึง วันนี้ทั้งสองฝ่ายยังส่งสัญญาณว่ากำลังจะเดินไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง และครั้งนี้สังคมก็กำลังจะอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม ภาวะเงื่อนไขเช่นนี้ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ตั้งคำถามกับนักประชาธิปไตยฝ่าย นปช.และรัฐบาลว่ายังจะเลือกเดินทางนี้อีกหรือ สองฝ่ายขาดความชอบธรรม “ที่จริงมันเตือนกันมาตลอด แต่มันก็ไปจนได้ ก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องทางสังคมก็พูดอยู่สองเรื่องใหญ่ๆ เรียกร้องอันแรกก็คือว่าจะต้องใช้แนวทางสันติทั้งสองฝ่าย หมายความว่ารัฐบาลก็ต้องใช้มาตรการแบบสันติวิธี การกำกับการควบคุมผู้ชุมนุมก็ใช้แบบสันติ ขณะเดียวกันผู้ชุมนุมก็ต้องใช้แนวทางสันติ และดูเหมือนจากวันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นมา ในช่วงแรกที่จริงมันก็เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น รัฐบาลก็มีตัวแทนอย่างคุณกอร์ปศักดิ์ นปช.ก็มีหมอเหวงเพื่อประสานงานในการจัดการชุมนุม ประสานงานบริหารการชุมนุม ซึ่งถามว่าในอดีตที่ผ่านมามันมีไหม […]

1 27 28 29 30 31 32