บทสัมภาษณ์

นงเยาว์ กลับนุ้ย : บทสะท้อนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของคนจน

“ช่วยไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้” คำพูดทั้งน้ำตา ของป้านงเยาว์ นงเยาว์ กลับนุ้ย อายุ 64 ปี หนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนา สมาชิกสหพันธ์เกษตกรภาคใต้ 12 คน (ถูกออกหมายจับ 15 คน) ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ) นงเยาว์ ถูกออกหมายจับพร้อมชาวบ้านชุมชนน้ำแดง 15 คน และถูกตำรวจ สภ. ชัยบุรีเข้าไปจับกุมที่ชุมชนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน หลังจากนั้น วันที่ 21 เมษายน ก็มีชาวบ้านถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย หลังจากการจับกุม ญาติของผู้ถูกจับแต่ละรายและทนายความจากเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชนภาคใต้ ก็พยายามยื่นขอประกันตัวผู้ถูกจับกุม แต่การขอประกันตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการกำหนดอัตราหลักประกันตามจำนวนข้อหาและคดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีนี้มีการแยกดำเนินคดีเป็น 3 คดีตามจำนวนผู้ที่มาร้องทุกข์ และแต่ละคดีจะมีทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งข้อหา […]

เรื่องราวของเอกสารสิทธิ์และจอบเสียม

เมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทที่มีเงินทุนกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด เรื่องราวการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ณ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี นายเริงฤทธิ์ สโมสร สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เป็นหนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนาจาก 15 คน ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคดีนี้ที่https://naksit.net/th/?p=608 ) ทางทีม HRLA ได้ลงไปติดตามสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้พบกับนายเริงฤทธิ์ ซึ่งนายเริงฤทธิ์อาศัยอยู่ในชุมชนน้ำแดงมาระยะเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว และได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง… “จากปัญหาที่เกิด เรื่องปากท้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีที่ทำกิน เป็นเหตุผลที่ต้องเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ความรู้สึกของชาวบ้าน หลังจากที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็รู้สึกว่าเป็นครอบครัว เป็นชุมชน ตลอดระยะเวลาปีที่ 10 เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ทิ้งร้าง ไม่มีผู้ใดมาใช้ประโยชน์ ชาวบ้านที่เป็นชาวบ้านข้างเคียง ก็เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ที่ว่าน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ เพื่อที่จะให้ครอบครัวมีอาชีพ ซึ่งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินประเภทไหน รู้แต่ว่าเป็นป่า ป่าที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็ทยอยเข้ามาทีละครัวสองครัว เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน มาตลอดระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2551 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีใครเข้ามาแสดงสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของ กลุ่มชาวบ้านเองก็คาดไม่ถึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องของคดีความ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าชาวบ้านจน ๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่ ที่เค้าไม่ใช้ประโยชน์ แล้วจู่ […]

“คุณัญญา สองสมุทร”กับเส้นทางอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หากนับจากรุ่นแรกที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ.2556) โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)ได้รับอาสาสมัครเข้าโครงการจำนวน 8 รุ่นแล้ว โครงการนี้ได้ปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนแล้วส่งต่อคนออกมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวทั้งในบทบาทนักกฎหมายและทนายความ ส่งผลให้แวดวงนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าที่เคยเป็น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นยังมีประสบการณ์ทำงานไม่มากนัก แต่การที่ได้ทำงานกับทนายความรุ่นพี่ๆที่คอยส่งต่อความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับรุ่นน้องๆอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่ามุมมองแนวคิดการทำงานเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือยังคงมีอยู่ในสังคมไทยไม่ได้สลายหายไปตามสายลม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีจุดเริ่มจากการปลูกฝังแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนจากโครงการอาสาสมัครนักฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเหล่าอดีตอาสาสมัครในหลายๆรุ่นของโครงการดังกล่าวร่วมด้วยช่วยกันชักชวนนักกฎหมายและทนายความที่มีประสบการณ์และมีแนวคิดการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อก่อร่างสร้างพื้นที่ห้องทดลองงานด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยหวังเอาไว้ว่าสักวันวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นในสังคมไทย แม้จะมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องทุ่มทั้งกำลังกายและกำลังใจในปริมาณที่มากโขให้กับสิ่งๆนั้นพวกเขาก็เต็มใจที่ทุ่มแรงกายและใจ ผลสำเร็จอาจไม่ได้มาเพียงชั่วข้ามคืนเป็นเรื่องที่ต้องดูกันยาวๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ๆเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต นั่นเองที่ทำให้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) หรือแม้กระทั่งมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)เอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของพลังคนรุ่นใหม่ที่จะสานต่อภารกิจให้ลุล่วง จึงเลือกที่จะให้พื้นที่กับนักกฎหมายรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาเรียนรู้และทำงานในเส้นทางสายสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอๆ แม้จะมีเบี้ยมีทุนไม่มากมายนักแต่ด้วยหัวจิตหัวใจทำให้โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ล่วงเข้าสู่รุ่นที่ 8แล้ว ที่ผ่านมาทำให้เกิดคนทำงานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนในจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมบ้างแล้ว และหวังว่ามันจะเพิ่มจำนวน(พร้อมคุณภาพ)มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต หากเป็นเช่นนั้นจริงความหวังคงไม่ไกลเกินจริงมากนัก ในปีนี้ “นางสาวคุณัญญา สองสมุทร” คือคนที่ได้โอกาสใช้พื้นที่ของการเป็นอาสาสมัครเข้าทำงานร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) เธอไม่ได้เข้ามาจากการโหวตทาง sms จากทางบ้านแต่อย่างใด เธอบอกกับเราว่าเธอมาพร้อมใจที่อาสาทำดี จริงเท็จประการใดลองไปทำความรู้จักกับตัวตนและความคิดของเธอในฐานะ “อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน” ไปกันเลย !!! HRLA: ช่วยแนะนำตัวให้เราได้รู้จักที่ไปที่มาของตัวคุณ Volunteer: ชื่อคุณัญญา สองสมุทร ชื่อเล่น หนึ่ง ปัจจุบันหนึ่งอายุ 28 ปี หนึ่งเป็นคนจังหวัดระนอง เรียนชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดระนอง ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์ […]

พรทิพย์ หงชัย : กฎหมายชุมนุมฯ ทำให้เสียงของผู้เดือดร้อนเงียบลง

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 สิทธิและสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆของประชาชนถูกจำกัดมากกว่าในยุครัฐบาลปกติ นอกจากรัฐบาลทหารจะมีกองกำลังที่ใหญ่โตในมือเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทหารนำมาใช้และค่อนข้างได้ผลก็คือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็คือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถูกตราออกมาได้โดยง่ายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุครัฐบาลปกติ แม้จะมีการพยายามผลักดันกฎหมายเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถจะตราออกมาได้ง่ายๆ ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. อย่างกว้างขว้างในการออกคำสั่งใดๆก็ได้ในนามของการรักษาความสงบและการปฏิรูปประเทศ และที่ผ่านมาก็มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าวออกคำสั่งต่างๆที่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายมาใช้บังคับมากมาย โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กฎหมายเหล่านี้ ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล คสช. โดยตรง และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและทุนที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา พรบ. ชุมนุมฯ ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง เมื่อ สภ.วังสะพุง […]

ไพโรจน์ พลเพชร : เราต้องยืนยันว่าเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ไม่ว่าในรัฐบาลไหน

วันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ 10 เอนจีโอ/นักเคลื่อนไหวชุมนุมและปีนรั้วเข้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงปี 2550 คดีนี้เราเรียกกันสั้นๆติดปากว่า “คดีปีนสภา” ความเป็นมาของคดีนี้ก็คือ ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่กี่วัน  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการเร่งรีบพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมาก โดยร่างกฎหมายหลายฉบับมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  ทำให้กลุ่มบุคคลและองค์กรภาคเอกชนหลายร้อยคน ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อแสดงความถึงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งคัดค้านการพิจารณาออกกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ประชาชนหลายร้อยคน นัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้ารัฐสภา และได้มีการปีนเข้าไปในอาคารรัฐสภา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม 10 คน ประกอบด้วย 1) นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 2) […]

ความจริงคนละชุด โดย ไพโรจน์ พลเพชร

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ชุมนุมก็ตาม คุณค่าชีวิตจะต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีสิทธิ์อ้างประชาธิปไตยเพื่อเอาชีวิตเข้าไปทำลายชีวิต ขณะเดียวกันไม่ใช่เอาอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาสังคมแล้วทำลายชีวิต เพราะว่านี่คือคุณค่าที่สำคัญที่สุด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ประชาธิปไตยก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน หน้าที่ในการปกป้องสังคมก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ที่รัฐอ้างว่าเป็นหน้าที่ต้องปกป้องความสงบสุขเรียบร้อย ก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน กฎหมายจัดการไม่ได้ ตำรวจจัดการไม่ได้ รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วสังคมนี้จะอยู่กันอย่างไร มีคนวิตกแบบนี้ และนี่เป็นแรงขับดันทำให้พลังอำนาจทหารที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเป็นไปได้สูง ดังนั้นต้องถามว่าแล้ว นปช.ต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า ทำไมต้องการอย่างนั้น หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการอย่างนั้นหรือ ถ้าเราไม่ต้องการ เราต้องการรักษาประชาธิปไตยใช่ไหม เราจะต้องไม่ทำให้ไปสู่ทางนั้น แน่นอนว่าเขาจ้องอยู่ เราก็ไม่ต้องสร้างเงื่อนไข หลังเหตุการณ์นองเลือดวันที่ 10 เมษา ดูหมือนสังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้จากความสูญเสีย เช่นเดียวกับที่ไม่เคยถอดบทเรียนในอดีตของการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาการเมือง เพราะจนถึง วันนี้ทั้งสองฝ่ายยังส่งสัญญาณว่ากำลังจะเดินไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง และครั้งนี้สังคมก็กำลังจะอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม ภาวะเงื่อนไขเช่นนี้ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ตั้งคำถามกับนักประชาธิปไตยฝ่าย นปช.และรัฐบาลว่ายังจะเลือกเดินทางนี้อีกหรือ สองฝ่ายขาดความชอบธรรม “ที่จริงมันเตือนกันมาตลอด แต่มันก็ไปจนได้ ก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องทางสังคมก็พูดอยู่สองเรื่องใหญ่ๆ เรียกร้องอันแรกก็คือว่าจะต้องใช้แนวทางสันติทั้งสองฝ่าย หมายความว่ารัฐบาลก็ต้องใช้มาตรการแบบสันติวิธี การกำกับการควบคุมผู้ชุมนุมก็ใช้แบบสันติ ขณะเดียวกันผู้ชุมนุมก็ต้องใช้แนวทางสันติ และดูเหมือนจากวันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นมา ในช่วงแรกที่จริงมันก็เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น รัฐบาลก็มีตัวแทนอย่างคุณกอร์ปศักดิ์ นปช.ก็มีหมอเหวงเพื่อประสานงานในการจัดการชุมนุม ประสานงานบริหารการชุมนุม ซึ่งถามว่าในอดีตที่ผ่านมามันมีไหม […]

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือที่เรียกว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากการกระทำนั้นเป็นการดำเนินการโดยรัฐ แสดงว่ารัฐนั้นกำลังไม่ปฏิบติตามหน้าที่ในการที่จะเคารพ ปกครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ให้ดำเนินคดีกับ นายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ สามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ โดยกล่าวหาว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ และนำเอกสารรายงานฯ ดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ https://voicefromthais.wordpress.com/ ทั้งนี้ ทั้งสามคนจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 มิถุนายน 2559 นี้ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีกับสามนักสิทธิมนุษยชนมีความไม่ถูกต้องในหลายประการ ซึ่งหากปล่อยให้การดำเนินคดีลักษณะยังคงอยู่ต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องสิทธิอีกหลายคนในอนาคต โดย สุมิตรชัย หัตถสาร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความเห็นถึงความไม่ถูกต้องในการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามในหลายประการ […]

1 2