admin

ความเห็นทางกฎหมายต่อความรับผิดของเจ้าหน้าที่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ตามที่โฆษกของคณะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (คสช.) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ สรุปใจความได้ว่า “ประชาชนกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากปะทะกันอาจบาดเจ็บสูญเสีย จะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึก ,ประกาศ ,และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในทุกพื้นที่ของประเทศ” (อ่านข่าวได้ที่ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5705250020022)  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ศทส.) เห็นว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และขัดต่อแนวคำพิพากษาของทั้งศาลปกครองและศาลทหาร  ที่เคยวินิจฉัยกรณีพิพาทที่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในสถานการณ์กฎอัยการศึกว่าหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ประชาชนที่เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องหน่วยงานให้ชดใช้ค่าเสียหายและแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ได้  หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองมีอยู่ว่า การใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษอย่างไร  ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล  และหากมีการฝ่าฝืนต่อหลักการข้างต้นก็ย่อมต้องมีความรับผิดอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ในรัฐสมัยใหม่ที่ยอมรับว่าประชาชนมีฐานะเป็นพลเมืองของรัฐเป็นประธานแห่งสิทธิและรัฐมีอำนาจจำกัดเท่าที่จำเป็นนั้น  การดำเนินการใด ๆ ของรัฐอันอาจไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง  ไม่เพียงเท่านั้นต่อให้มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว  การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองยังต้องเป็นไปโดยถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีเหตุผล  เมื่อพิจารณาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  จะพบว่ามีบทบัญญัติที่กำหนดยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไว้ในมาตรา ๑๖ ของ ซึ่งบัญญัติว่า “ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ […]

7 ปีที่รอคอย : มุมมองของเหยื่อซ้อมทรมานหลังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

  กรณีการซ้อมทรมานนายอิสมาแอ เตะ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บ่งชี้ว่าการซ้อมทรมานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย นายอิสมาแอถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เพียงเพราะมีพยานซัดทอดว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยในระหว่างการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ เขาได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งใช้ผ้าปิดตา ให้นั่งคุกเข่าหน้าอกแนบราบไปกับต้นขา แล้วใช้เก้าอี้วางครอบไปบนหลัง มีทหารนั่งอยู่บนเก้าอี้ และทหารคนอื่นๆ รุมเตะทำร้าย ใช้ยางในรถจักยานยนต์คล้องที่คอแล้วดึงขึ้น ทำให้หายใจไม่ออกและทรมาน ให้กินข้าวกลางฝนที่ตกหนัก ให้อยู่ในห้องที่เปิดแอร์เย็นจัดในขณะที่ตัวเปียก เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก ได้ตัดสินใจยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดสังกัดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานดังกล่าวเยียวยาความเสียหายแก่นายอามีซีและนายอิสมาแอจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “เราอยากให้กฎหมายดำเนินการลงโทษต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายร่างกายประชาชน และอยากให้คดีของเราเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้รัฐรับทราบว่าขณะนี้ในประเทศไทยยังคงมีการซ้อมทรมานอยู่แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงนามตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ(CAT) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ภาคใต้และทั้งประเทศยังคงมีกรณีของการซ้อมทรมาน จึงอยากให้เรื่องนี้รับทราบสู่สาธารณะว่าการซ้อมทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเกิดขึ้นจริง” นายอิสมาแอกล่าว การต่อสู้ของอิสมาแอและเพื่อนเกือบ 2 ปี จนนำไปสู่การได้มาซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสงขลา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน […]

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กองทัพบกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย กรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุม

วันนี้ (19 ตุลาคม 2559) เวลา 14.30 น. ศาลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.55-56/2555 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.1309-1310/2559ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับนายอามีซี มานากที่2 ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จากกรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 โดยคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. กรณีจากการที่เจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ได้ใช้กำลังเข้าตรวจค้นเพื่อจับกุมบุคคลที่เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบตามหมายจับของศาลในความผิดเกี่ยวกับเหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นไปเพื่อการระงับ ปราบปราม และรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 แต่การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทำการหรือร่วมกระทำการใดๆอันจะทำให้เกิดเหตุร้ายแรงหรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติรับรองไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1จับกุมและในขณะควบคุมตัวมีการทำร้ายร่างกายนายอิสมาแอ เตะ (ผู้ฟ้องคดีที่1) ปรากฎตามหลักฐานสำเนาเวชระเบียนสอดคล้องกับกับสำเนาภาพถ่ายที่บันทึกภายหลังจากการถูกปล่อยตัว การทำร้ายร่างกายในขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่1และสภาพความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีที่1ได้รับ กำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้แก่ผู้ฟ้องคดีที่1 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน

  ศาลปกครองสงขลามีนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 187/2552, 188/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ 235-236/2554 ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีที่นายอิสามาแอ เตะ และนายอามีซี นักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสงขลา คดีนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 โดยพิพากษาให้กองทัพบกรับผิดในผลแห่งการละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ชำระเงินแก่นายอามีซี จำนวน 250,000 บาท และนายอิสมาแอ เตะจำนวน 255,000 บาท เนื่องจากควบคุมตัวไว้เกินกำหนด 7 วันตามกฎอัยการศึกฯ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเรียกค่าเสียหายจากการละเลยล่าช้าของเจ้าหน้าที่รัฐ  กรณีการเสียชีวิตในเรือนจำของ นายอำพล ตั้งนพกุล 

  วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่งรัชดามีนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ พ 2256/2558 ระหว่าง นางรสมาลิน ตั้งนพกุล โจทก์ กับ กรมราชทัณฑ์ จำเลย กรณีนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” จำเลยในคดีอาญาซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพราะเหตุเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ละเลยเพิกเฉยต่อหน้าที่ในการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขัง จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้นางรสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยาอากง ได้มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องกรมราชทัณฑ์ต่อศาลปกครอง จากกรณีที่นายอำพลหรืออากงเสียชีวิตในระหว่างการเตรียมการเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษณ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์ โดยกำหนดให้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 2,225,250 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ต่อมาศาลปกครองได้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม และคดีนี้ศาลแพ่งรัชดาได้สืบพยานเมื่อวันที่ 2 – 5 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา รายละเอียดเพิ่มเติม http://prachatai.com/journal/2012/12/44270 https://www.facebook.com/naksit.org/photos/a.135675933167580.26339.115427115192462/1093239647411199/?type=3&theater […]

การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งของศาลปกครองในคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองในคดี หมายเลขดำที่ 1454/2553 ของศาลปกครองกลาง โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

1. เหตุผลที่ต้องมีมาตรการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองก่อนการพิพากษา เนื่องจากระบบกฎหมายยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า กระบวนการยุติธรรมมักใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะสามารถหาข้อยุติจนนำไปสู่ การมีคำพิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับคู่กรณีได้ แต่การฟ้องคดีปกครองประเภทขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (1) <1> กฎหมาย บัญญัติว่าระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ออกมา คำสั่งทางปกครองหรือกฎที่เป็นวัตถุแห่งคดีที่ออกโดยฝ่ายปกครองย่อมยังมีผล ใช้บังคับต่อไป <2> นั่นหมายความว่าความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่เกิดจากกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ยังคงมีอยู่และดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็จะพบว่า มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิเสรีภาพที่สำคัญคือ มาตรา 28 วรรคสอง <3> ซึ่งเป็นการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยองค์กรตุลาการ โดยการตีความรัฐธรรมนูญมาตรานี้ย่อมต้องตีความว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมหมายถึงการคุ้มครองสิทธิให้ทันกับเวลาและสภาพความเป็นจริงที่ต้องคุ้ม ครองด้วย หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการจึงต้องคำนึงถึงการคุ้มครอง สิทธิในสภาพความเป็นจริง จากสภาพพื้นฐานที่กล่าวมาจึงจำต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองชั่วคราว ไม่เช่นนั้นการพิจารณาคดีปกครองก็จะไม่ก่อให้เกิดผลในการคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนแต่อย่างใด <4> จึงสรุปได้ว่าเหตุผลที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการ พิพากษาไว้ในมาตรา 66 <5>คือ เพื่อให้การดำเนินคดีปกครองสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 วรรคสองได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ 2. […]

แถลงการณ์ หยุดดำเนินคดีกับทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาชีพ

แถลงการณ์ การดำเนินคดีกับทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาชีพ ถือเป็นการแทรกแซงการดำเนินคดีที่เป็นธรรมและขัดขวางการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนอย่างร้ายแรง ภายหลังจากการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะมีกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบากด้วยเช่นกัน การดำเนินคดีถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีทนายความอย่างน้อย 2 รายที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี หนึ่งในนั้นคือนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความให้กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ประกอบมาตรา 83 ทั้งนี้ นางสาวศิริกาญจน์ ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ 14 นักศึกษาจากรถยนต์ของเธอ เมื่อช่วงกลางดึกวันนี้ 27 มิถุนายน 2558 แต่เธอและทีมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนไม่ยินยอม เนื่องจากการตรวจค้นวัตถุพยานตามกฎหมายจะต้องกระทำในที่เกิดเหตุ หรือต้องมีหมายศาล และเธอได้เข้าแจ้งความฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นี้จึงเป็นเหตุให้ต่อมาเธอถูกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน โดยในวันนี้ (27 กรกฎาคม) เธอจะเดินทางเข้าพบพนักงานอัยการตามหมายเรียกส่งตัวผู้ต้องหาเพื่อทำการสั่งคดี สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ทนายความมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรม (the right to access to justice) และการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (the right […]

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือที่เรียกว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากการกระทำนั้นเป็นการดำเนินการโดยรัฐ แสดงว่ารัฐนั้นกำลังไม่ปฏิบติตามหน้าที่ในการที่จะเคารพ ปกครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ให้ดำเนินคดีกับ นายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ สามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ โดยกล่าวหาว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ และนำเอกสารรายงานฯ ดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ https://voicefromthais.wordpress.com/ ทั้งนี้ ทั้งสามคนจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 มิถุนายน 2559 นี้ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีกับสามนักสิทธิมนุษยชนมีความไม่ถูกต้องในหลายประการ ซึ่งหากปล่อยให้การดำเนินคดีลักษณะยังคงอยู่ต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องสิทธิอีกหลายคนในอนาคต โดย สุมิตรชัย หัตถสาร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความเห็นถึงความไม่ถูกต้องในการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามในหลายประการ […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ จากกรณีที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสารและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับนายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากการเผยแพร่ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2557-2558” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่าน โดยทั้งสามจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ปัตตานี ตามหมายเรียกในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 นี้ (วันพรุ่งนี้) ซึ่งองค์กรสิทธิฯที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ขอให้กำลังใจกับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามคน และมีความเห็นต่อกรณีการแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว ต่อไปนี้ ประการแรก การจัดทำรายงานเป็นไปตามหลักวิชาการและมีมาตรฐาน กล่าวคือ การจัดทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558 เป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย หลายภาคส่วน โดยมีกระบวนการดำเนินการที่เป็นวิชาการภายใต้หลักการสากลที่เรียกว่า “Istanbul Protocol” ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nation Fund for […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ แต่การรณรงค์ก่อนประชามติกลับเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากการแสดงออกในทางโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้รัฐบาล คสช. ได้บังคับใช้มาตรา 61 วรรคสองพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 และข้อ 12. ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 อย่างกว้างขวางเพื่อปิดกั้นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ซึ่งการจับกุมนักกิจกรรม นักศึกษาและผู้สื่อข่าวรวม 5 รายที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน องค์กรสิทธิฯ นักกฎหมาย ทนายความและนักกิจกรรมที่มีรายชื่อปรากฏท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลต่อสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. เสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ เสรีภาพในการแสดงออก เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีภาพดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ และนำมาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองดังที่ คสช. กล่าวอ้างเป็นเหตุในการเข้ายึดอำนาจ […]

1 28 29 30 31 32