สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

ส่องร่างแก้รัฐธรรมนูญ 60 จุดยืนแต่ละร่างในเรื่องกระบวนการยุติธรรม

การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในครั้งนี้พบว่า ร่างเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งจากกลุ่มนายไพบูลย์ นิติตะวัน กลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และกลุ่มนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้มีการให้ความสนใจกับการเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมพอสมควร โดยเฉพาะในร่างเสนอโดยกลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอีกประการหนึ่งในการเปิดวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญพิเศษเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและมีการลงมติ ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 ที่จะถึงนี้ 

หมายเรียก หมายจับ กฎหมายไม่อนุญาตให้ออกพลาดบ่อย

พนักงานตำรวจออกหมายเรียกผู้รับหมายมาให้ถ้อยคำหรือเอกสาร ถือเป็นเรื่องปกติเพราะกฎหมายได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ ควบคุมการดำเนินการออกหมายเรียกและหมายจับของเจ้าหน้าที่ ให้การปฏิบัติตามหน้าที่เป็นไปตามหลักการและความยุติธรรม ไม่ “พลาด”หรือเผลอไปละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

ถกถามเรื่องการปฏิรูปศาลในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม

บันทึกเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน”   ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนมากมายแสดงออกทางการเมือง ออกมาชุมนุมบนท้องถนนหรือสถานที่ต่างๆ และการชุมนุมทางการเมืองกลายมาเป็นความผิดทางกฎหมาย หรือในสถานการณ์ที่มีการออกหมายจับหรือหมายค้นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในกรณีต่างๆ และการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกบริเวณศาล หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น ทำให้ตุลาการหรือศาลเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการถกเถียงกันโดยทั่วไปว่า ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองนี้ ศาลควรจะมีบทบาทอย่างไร ในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดงานเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 เพื่อวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และทบทวนบทบาทของอำนาจตุลาการในฐานะเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน และขอบเขตของฐานความผิดละเมิดอำนาจศาล ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองของ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) และรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน   คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวเปิดงาน พร้อมตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันตุลาการท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน “ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ถ้านับช่วงอายุของตนเอง (30+) ช่วงระหว่างปี […]

รัฐธรรมนูญไทยกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  : “สิทธิ” VS “แนวนโยบายแห่งรัฐ”

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาเกิดกระแสเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งหลายฝ่ายในสังคมต่างเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ด้วยรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ