Month: January 2019

การแย่งยึดที่ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 26 มกราคม 2562 ถ้าตัดเรื่องการเลือกตั้งที่มีความสำคัญมากต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตบ้านเมืองออกไป  เหตุเพราะมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งประกาศออกมาแล้ว  และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แล้ว  ปัญหาเร่งด่วนอันดับแรกคือปัญหาเรื่องมลภาวะในอากาศที่เผชิญกับฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในขณะนี้ จนถึงวันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานกระจายไปทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่หยุด  ขนาดเกิดวิกฤติถึงขั้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถึง 2-3 เท่า  และมีค่าเกินมาตรฐานต่อเนื่องตลอดเดือนมกราคม  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังไม่เสนอให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 9 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะ “คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ” คงกลัวความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจนอาจส่งผลกระทบทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ตก ขณะที่หลายหน่วยงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนต้องปรับเวลาทำงานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการออกมาเผชิญผลกระทบจากภาวะมลพิษในอากาศช่วงเช้ากันแล้ว  และมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยต้องลาป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้จากโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้  แต่อธิบดี คพ. ยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะยังไม่ประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์ของประเทศ นี่แหละสมองของระบบราชการในองคาพยพรัฐเผด็จการ  ที่หน่วยงานหนึ่งคือ […]

เชิญร่วมงาน เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น.

กำหนดการโครงการเสวนาวิชาการ “วิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด” วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น ณ ห้อง 211 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 08.00 น.                   ลงทะเบียน 08.30 – 08.45 น.      กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน                                โดย นายรัษฏา มนูรัษฏา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน             […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

  สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด   คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ […]

วงเสวนาคดีปกครองแก่งกระจานระบุคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหลีกเลี่ยงรับรองสิทธิชุมชน เสนอใช้ มติ ครม. 3 สิงหา 53 แก้ปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่า

 สิทธิชุมชนเป็นประเด็นที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้รับรองอย่างเต็มที่   และศาลยังไม่เข้าใจอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่าที่ควร  แต่ความก้าวหน้าของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้คือการวางมาตรฐานในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ  และได้ช่วยเน้นย้ำสถานะของมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 แม้จะประเด็นเล็กๆในคำพิพากษา แต่ก็น่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่าอนุรักษ์ได้พอสมควร วันที่ 8 มกราคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกับสภาทนายความ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด”  ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดูคลิปเต็มการถ่ายทอดสดการเสวนา) เวทีเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดินจำนวน 6 คนได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อปี 2554 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นที่ศาลบอกว่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดังกล่าวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม แต่เหตุใดพวกเขาถึงไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และจะทำอย่างไรให้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  และอื่นๆ ประเด็นเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่ปกป้อง คุ้มครอง เคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่อไป อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม […]

ทนายยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินการควบคุมตัวหญิงชาวซาอุฯโดยมิชอบ แต่ศาลยกฟ้องอ้างเหตุไม่มีหลักฐานทั้งที่ยังไม่ได้ไต่สวน

วันที่ 7 มกราคม 2562 ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและ NSP Legal Office ได้เข้าช่วยเหลือหญิงชาวซาอุดีอาระเบียถูกควบคุมตัวในประเทศไทย โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ศาลไต่สวนการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 กรณีสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ได้มีบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินคูเวตแอร์ไลน์ทำการควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน (Mr. Rahaf Mohammed Alqunun) หญิงอายุ 18 ปี ชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งได้หลบหนีจากครอบครัว เพราะการถูกบังคับให้แต่งงานและถูกทำร้ายอย่างหนัก โดยเธอได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรเลีย แต่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิปรากฎว่าเธอได้ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่ห้องพักในโรงแรมมิราเคิลทรานซิท อาคารระหว่างประเทศขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งถูกยืดเอกสารหนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน และเอกสารประจำตัวไปแล้วนำตัวไป ขณะนี้เธอยังถูกกักขังอยู่ในห้องพักโรงแรมดังกล่าว นางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูนได้แจ้งแก่ทนายความว่า เธอไม่ต้องการเดินทางไปยังประเทศคูเวตและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากหากถูกส่งตัวกลับไปจะมีภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต จากเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความเชื่อทางศาสนา อย่างไรก็ดีบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาควบคุมตัวเธอยืนยันจะดำเนินการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง นอกจากนี้ผู้นำในคณะรัฐบาลไทยได้ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงการต้องส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง  ทนายความได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล เพราะเห็นว่าพฤติการณ์การกักขังดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการขังโดยกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่จะส่งตัวเธอกลับไปยังประเทศต้นทาง อาจขัดต่อหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ รวมถึงหลักการห้ามผลักดันกลับหากบุคคลนั้นเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย […]

แถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางสาวราฮาฟ และต้องไม่ส่งกลับไปยังรัฐที่ทำให้เธอไม่ปลอดภัย

(English version below) สืบเนื่องจากการควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน (Ms. Rahaf Mohammed Alqunun) หญิงชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งได้หลบหนีจากครอบครัว เพราะไม่อยากแต่งงาน และได้ถูกทำร้ายอย่างหนักทางร่างกายและจิตใจ โดยได้เดินทางมาต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรเลีย แต่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิปรากฎว่ามีบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินคูเวตแอร์ไลน์มาควบคุมตัวเธอไปกักขังไว้ที่ห้องพักในโรงแรมมิราเคิล ทรานซิท สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งได้ยืดเอกสารหนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน และเอกสารประจำตัวไปแล้วนำตัวไป และไม่ยินยอมให้เธอเดินทางต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้เธอยังถูกกักขังอยู่ในห้องพักโรงแรมดังกล่าว นางสาวราฮาฟ ได้แจ้งแก่ทนายความที่เข้าให้การช่วยเหลือว่าเธอไม่ต้องการเดินทางไปยังประเทศคูเวตและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากหากถูกส่งตัวกลับไปจะมีภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต จากเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความเชื่อทางศาสนา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่า การควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน ถือเป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกายของบุคคล อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการสำคัญที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 9  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 และพฤติการณ์การควบคุมตัวดังกล่าว  ยังอาจเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวหรือลิดรอนเสรีภาพของบุคคลโดยอำเภอใจและไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย เพราะนางสาวราฮาฟ มิได้กระทำความผิดกฎหมายใดใดในประเทศไทยขณะที่ขอต่อเครื่องเดินทางไปประเทศที่สาม การที่ประเทศไทยโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะผลักดันนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน   ซึ่งแสวงหาที่ลี้ภัยเพราะต้องเผชิญกับอันตรายอันเกิดจากการไม่ยินยอมสมรสและเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนา  ให้กลับไปยังประเทศต้นทาง ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องต่อหลักการสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพของบุคคลในการนับถือศาสนา สิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกบังคับให้ทำการสมรสโดยปราศจากความยินยอมอย่างเต็มใจ และสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ […]

5 คดีสิทธิปี 2561 กับประเด็นที่กระบวนการยุติธรรมต้องทบทวนปี 2562

ในปี 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้ติดตามคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญอย่างน้อย 5 คดี  โดยคดีเหล่านี้มีประเด็นที่สะท้อนถึงปัญหาบางประการของกระบวนการยุติธรรมไทยได้เป็นอย่างดี เริ่มจากเดือนเมษายน 2561 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ที่ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น คดีนี้มีการตั้งข้อสงสัยว่าจำเลยทั้ง 4 ใช่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริงหรือไม่ และในคำพิพากษาของศาลก็ยังไม่กระจ่างเท่าใดนัก เพราะศาลให้น้ำหนักกับคำรับสารภาพของจำเลยเป็นสำคัญ ถัดมาปลายเดือนพฤษภาคม 2561 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาคดีอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารของ คสช. หน้าหอศิลป์เมื่อปี 2557 โดยศาลยังคงรับรองว่า คสช. มีอำนาจตามระบอบแห่งการรัฐประหาร และประกาศห้ามชุมนุมไม่ขัด ICCPR เดือนมิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งไต่สวนการชันสูตรพลิกศพหรือไต่สวนการตายกรณีเจ้าหน้าที่ทหารที่ด่านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ยิงนายชัยภูมิ ป่าแส  หลังจากนั้นคำถามถึงภาพจากกล้องวงจรปิดก็ดังขึ้นอีก พร้อมคำตอบกลับของกองทัพว่าข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดถูกบันทึกทับไปแล้ว เดือนเดียวกันนั้น 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่เผาบ้านและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดิน  โดยศาลพิพากษารับรองว่าบ้านบางกลอยบนและใจแผ่นดินคือชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถจะให้กลับไปอยู่ที่เดิมได้ เพราะมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว อีกทั้ง ศาลยังบอกว่ากระปฏิบัติการเผาบ้านและทำลายทรัพย์สินโดยเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิด จึงให้กรมอุทยานฯชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี 6 คน เฉลี่ยรายละประมาณ 50,000 บาท […]

คดีอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหาร

คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 วัน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2558 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 7/2557  ชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวานในบ้านเมือง   ไม่เลิกชุมนุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก  และขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามหน้าที่ตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้  ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา 216 และมาตรา 368  เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 […]