ข่าวสิทธิมนุษยชน

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กองทัพบกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย กรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุม

วันนี้ (19 ตุลาคม 2559) เวลา 14.30 น. ศาลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.55-56/2555 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.1309-1310/2559ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับนายอามีซี มานากที่2 ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จากกรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 โดยคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. กรณีจากการที่เจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ได้ใช้กำลังเข้าตรวจค้นเพื่อจับกุมบุคคลที่เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบตามหมายจับของศาลในความผิดเกี่ยวกับเหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นไปเพื่อการระงับ ปราบปราม และรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 แต่การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทำการหรือร่วมกระทำการใดๆอันจะทำให้เกิดเหตุร้ายแรงหรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติรับรองไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1จับกุมและในขณะควบคุมตัวมีการทำร้ายร่างกายนายอิสมาแอ เตะ (ผู้ฟ้องคดีที่1) ปรากฎตามหลักฐานสำเนาเวชระเบียนสอดคล้องกับกับสำเนาภาพถ่ายที่บันทึกภายหลังจากการถูกปล่อยตัว การทำร้ายร่างกายในขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่1และสภาพความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีที่1ได้รับ กำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้แก่ผู้ฟ้องคดีที่1 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน

  ศาลปกครองสงขลามีนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 187/2552, 188/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ 235-236/2554 ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีที่นายอิสามาแอ เตะ และนายอามีซี นักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสงขลา คดีนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 โดยพิพากษาให้กองทัพบกรับผิดในผลแห่งการละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ชำระเงินแก่นายอามีซี จำนวน 250,000 บาท และนายอิสมาแอ เตะจำนวน 255,000 บาท เนื่องจากควบคุมตัวไว้เกินกำหนด 7 วันตามกฎอัยการศึกฯ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเรียกค่าเสียหายจากการละเลยล่าช้าของเจ้าหน้าที่รัฐ  กรณีการเสียชีวิตในเรือนจำของ นายอำพล ตั้งนพกุล 

  วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่งรัชดามีนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ พ 2256/2558 ระหว่าง นางรสมาลิน ตั้งนพกุล โจทก์ กับ กรมราชทัณฑ์ จำเลย กรณีนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” จำเลยในคดีอาญาซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพราะเหตุเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ละเลยเพิกเฉยต่อหน้าที่ในการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขัง จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้นางรสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยาอากง ได้มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องกรมราชทัณฑ์ต่อศาลปกครอง จากกรณีที่นายอำพลหรืออากงเสียชีวิตในระหว่างการเตรียมการเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษณ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์ โดยกำหนดให้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 2,225,250 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ต่อมาศาลปกครองได้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม และคดีนี้ศาลแพ่งรัชดาได้สืบพยานเมื่อวันที่ 2 – 5 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา รายละเอียดเพิ่มเติม http://prachatai.com/journal/2012/12/44270 https://www.facebook.com/naksit.org/photos/a.135675933167580.26339.115427115192462/1093239647411199/?type=3&theater […]

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือที่เรียกว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากการกระทำนั้นเป็นการดำเนินการโดยรัฐ แสดงว่ารัฐนั้นกำลังไม่ปฏิบติตามหน้าที่ในการที่จะเคารพ ปกครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ให้ดำเนินคดีกับ นายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ สามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ โดยกล่าวหาว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ และนำเอกสารรายงานฯ ดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ https://voicefromthais.wordpress.com/ ทั้งนี้ ทั้งสามคนจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 มิถุนายน 2559 นี้ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีกับสามนักสิทธิมนุษยชนมีความไม่ถูกต้องในหลายประการ ซึ่งหากปล่อยให้การดำเนินคดีลักษณะยังคงอยู่ต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องสิทธิอีกหลายคนในอนาคต โดย สุมิตรชัย หัตถสาร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความเห็นถึงความไม่ถูกต้องในการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามในหลายประการ […]

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

ทบทวนการใช้กลไกทางกฎหมายกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ 2 ปีการหายไปของบิลลี่ กับความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2557 ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้  แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว  ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า”  หรือ“ยุทธการตะนาวศรี”  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า100ปีแล้วขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เรายังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป หลังจากที่บิลลี่ถูกบังคับให้หายตัวไป ครอบครัวของเขา รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้พยายามเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ 2 ปีผ่านไป การดำเนินการเหล่านั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการที่จะสืบหาตัวบิลลี่ที่สูญหายไปและนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เขาหายไปมารับโทษอย่างเหมาะสม การสืบสวนสอบสวนเริ่มต้นขึ้น เมื่อนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่  […]

ศาลสั่งสอบนายชัยวัฒน์ หัวหน้าอุทยานแก่งกระจาน กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

ล่าสุดวันนี้ เวลาประมาณ 15.30 นาฬิกา ศาลจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่ส่วนคำร้องกรณีนายบิลลี่หายตัวไป โดยศาลสั่งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม ลือฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.6 (เขามะเร็ว) มาสอบพยานเพิ่มเติม ในวันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 13.30 นาฬิกา โดยกรณีนี้สืบเนื่องมาจาก เช้าวันนี้ (24 เมษายน 2557) คณะทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พร้อมด้วยภรรยาของนายบิลลี่ หรือ นายพอละจี รักจงเจริญ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขอไต่สวนกรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ เพื่อขอศาลเรียกหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวมาไต่สวนให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายบิลลี่ และขอให้ปล่อยตัวทันที ทั้งนี้ นายบิลลี่ เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี  ได้หายตัวไปหลังจากถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และไม่ทราบชะตากรรมจนถึงปัจจุบัน ในช่วงบ่าย ศาลได้พิจารณาไต่สวนคำร้องและพยานฝ่ายผู้ร้องแล้วเห็นว่า กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า นายพอละจีอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานหรือไม่ เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีหมายเรียก นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม […]

17 เม.ย. 57 นัดส่งตัวนักข่าวภูเก็ตหวานขึ้นศาล หลังถูกกองทัพเรือฟ้องหมิ่นฯ ลุ้นประกันตัววันนั้น

17 เมษายน 2557 เวลา 9.30 น. อัยการจังหวัดภูเก็ต นัดหมายให้ นายอลัน มอริสัน และนางสาวชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์ “ภูเก็ตหวาน” ไปพบที่ศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาล ในคดีที่กองทัพเรือร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 สำนักข่าวภูเก็ตหวานเผยแพร่ “รายงานพิเศษเรื่อง : ทหารไทยได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์ผู้อพยพทางเรือ” ซึ่งอ้างอิงแหล่งข้อมูลมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานชิ้นนี้มีการกล่าวพาดพิงว่าเจ้าหน้าที่กองทัพเรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตให้ดำเนินคดีทั้งสองคนฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) คดีนี้ นักข่าวทั้งสองคนยืนยันพร้อมจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยต้องการให้คดีนี้เป็นกรณีศึกษาการละเมิดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน โดยใช้การดำเนินคดีพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย  เนื่องจากกฎหมายนี้ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่โจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการเจาะระบบ เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองไม่ยอมรับการใช้กฎหมายนี้กับสื่อมวลชน จึงไม่ต้องการใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเพื่อยื่นขอประกันตัวและยินยอมที่จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยขอให้กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นผู้ประกันตัว และประสานขอความช่วยเหลือจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล  ล่าสุดศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามันมูลนิธิอันดามันได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้ใช้สลากออมสินสำหรับใช้ยื่นประกันตัวในวันที่ 17 เม.ย.นี้ โดยยังต้องรอลุ้นว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ก่อนหน้านี้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)  และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย และเรียกร้องให้มีการถอนฟ้องคดีนี้

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ย้ำตัดอำนาจศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (20 ธ.ค.53) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิฯได้เข้าพบเพื่อขอให้ยกเลิกบท บัญญัติซึ่งตัดอำนาจศาลปกครองตามร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ….ต่อสำนักงานกฤษฎีกา เนื่องจากร่างดังกล่าวอาจทำให้ขัดรัฐธรรมนูญเหตุและจะทำให้ประชาชนเข้าไม่ ถึงสิทธิ เครือข่ายฯมีความเห็นร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดมีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชากาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าเครือข่ายฯและองค์กรสิทธิอีกหลายองค์กร ได้เข้าพบ นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ผู้ อำนวยการสำนักกฎหมายปกครองสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อยื่นหนังสือแสดง ความเห็นคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ…..ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าร่างดังกล่าวได้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการ กระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ออกไป โดยการนิยามคำว่า “ศาล” ให้หมายถึงศาลยุติธรรมตามมาตรา 4 ซึ่งจะทำให้ขัดต่อมาตรา 223 รัฐธรรมนูญ เพราะคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง อีกทั้งมูลหนี้ละเมิดทางปกครองไม่ใช่มูลหนี้ละเมิดทางแพ่งอย่างที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าใจเพราะละเมิดทางปกครองมีที่มาจากการอาศัยอำนาจรัฐใน การกระทำการไม่ใช่การกระทำละเมิดทางแพ่งทั่วไป การตัดเขตอำนาจศาลปกครองจึงถือเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการก่อ ตั้งศาลปกครอง ย้ำหากให้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาประชาชนจะเข้าไม่ถึงสิทธิ นางสาวพูนสุข ยังกล่าวว่าการโอนอำนาจในการพิจารณาคดีละเมิดจากศาลปกครองไปยังศาลยุติธรรม จะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมต้องอาศัยทนายความในการดำเนินคดี ระบบการพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา ทั้งที่คู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกัน อาจทำให้ความสามารถในการหยิบยกประเด็นซึ่งถูกละเมิดขึ้นมาต่อสู้และโอกาสใน การเข้าถึงพยานหลักฐานน้อยลง ในขณะที่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองเป็นระบบไต่สวน ซึ่งเปิดโอกาสให้ศาลสามารถแสวงหาข้อเท็จจริงได้กว้างขวางกว่าระบบกล่าวหาของ ศาลยุติธรรม หากคดีละเมิดต้องถูกโอนไปยังศาลยุติธรรมจริงจะทำให้หลายคดีไม่สามารถเรียก ร้องความเป็นธรรมได้ เผยปัญหาไม่ได้เกิดจากกฎหมายแต่เกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่กล้าบังคับคดีทางปกครอง สำหรับสาเหตุในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นเพราะหน่วยงานรัฐมีปัญหาในการ เรียกชำระเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำความผิด ซึ่งหน่วยงานได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เอกชนไปตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 แล้ว แต่ไม่สามารถไปบังคับเอาคืนได้ทำให้สูญเสียงบประมาณปีละหลายพันล้านบาท สาเหตุที่ไม่สามารถบังคับคดีได้มีหลายประการ ทั้งความไม่ชัดเจนของกลไกการบังคับคดี ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และไม่มีบุคคลากรด้านกฎหมายในองค์กร […]

1 12 13 14