วิสามัญฆาตกรรม

ทำความรู้จัก…คดีวิสามัญฆาตกรรม

การวิสามัญฆาตกรรม คือ การตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีการใช้ถ้อยคำนี้ในกฎหมายหลักอีกต่อไป แต่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปก็ยังมีการใช้คำว่าวิสามัญฆาตกรรมอยู่ และคำนี้ยังคงปรากฏในระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน เช่น ในระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 เป็นต้น
เมื่อเกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมขึ้น คดีจะถูกแบ่งออกเป็น 3 สำนวนที่พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ คือ คดีชันสูตรพลิกศพ คดีที่ผู้ตายตกเป็นผู้ต้องหา และคดีที่เจ้าหน้าที่ตกเป็นผู้ต้องหา/คดีวิสามัญฆาตกรรม

เรียนรู้กระบวนการทางกฎหมายในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เสียชีวิตหรือวิสามัญฆาตกรรมไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งกรณีวิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน มีขั้นตอนหรือกระบวนการทางกฎหมายมากมายในการพิสูจน์ความจริงของความตาย รวมถึงพิสูจน์ความจริงในความบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ตายด้วย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐหลายส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จึงอยากชวนทุกท่านมาเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

แจ้งข่าว : 16 ก.ย. 62 ศาลนัดพร้อมคดีครอบครัวชัยภูมิ ป่าแส ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกองทัพบก ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 16 กันยายน 2562 ศาลกำหนดนัดพร้อมเพื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ทั้ง 9 ปาก เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญสื่อมวลชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีในศาลตามวันและเวลาดังกล่าว

ข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดวิสามัญชัยภูมิ ป่าแสหายไป ใครต้องรับผิดชอบ?

ใครต้องรับผิดชอบ เมื่อข้อมูลกล้องวงจรปิดอันเป็นพยานหลักฐานสำคัญในกรณีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส หายไป? ความจริงที่ความคลุมเครือของเหตุการณ์เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ทำให้เกิดคำถามมากมายตามมาว่าในวันดังกล่าวเกิดอะไรขึ้นกันแน่?  ดังนั้น ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุจึงถือเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะช่วยทำให้ความจริงกระจ่างขึ้น ความพยายามในเรียกร้องให้เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทั้งสาธารณะชน ทนายความ ครอบครัว และภาคส่วนต่างๆ โดยมีการพยายามทวงถามถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องขอให้เปิดเผยบันทึกภาพดังกล่าวออกมา รวมทั้งขอให้ศาลเรียกข้อมูลดังกล่าวมาพิสูจน์ในชั้นไต่สวนการตาย แต่ก็ไม่เป็นผล ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลบันทึกภาพดังกล่าวแต่อย่างใด ไม่ว่าจะในทางสาธารณะ หรือแม้กระทั่งในชั้นศาล วันที่ 18 มิถุนายน 2561  เครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส  ได้ขอเข้าพบพลเอกเฉลิมชัย สิทธิสารท ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อยื่นหนังสือขอให้ทางกองทัพส่งข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดของวันที่เกิดเหตุให้กับทนายความและญาติเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการใช้สิทธิในการเยียวยาทางกฏหมายต่อไป ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้รับจดหมายตอบกลับจากสำนักงานเลขานุการกองทัพบก โดยเนื้อความในหนังสือตอนหนึ่งระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 […]