Month: July 2019

แถลงการณ์ร่วมภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ

แถลงการณ์ร่วม ภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ           ตามที่ได้ปรากฏข่าวจากสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 เวลาประมาณ 17.30 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง ได้ออกตรวจพื้นที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ใหม่และพบชายต้องสงสัยสองคนขับรถจักรยานยนต์มา เมื่อเจ้าหน้าที่ขอให้หยุดเพื่อตรวจสอบ ชายต้องสงสัยกลับใช้ปืนยาวยิงเจ้าหน้าที่จนเกิดการต่อสู้กันขึ้น และนายจะจือ จะอ่อ อายุ 26 ปี ชาวบ้านห้วยไคร้ใหม่ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุมีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า หลังเกิดเหตุแม่ของผู้เสียชีวิตได้พยายามเข้าไปกอดร่างลูกชาย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้าย ทำให้ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์ไม่พอใจ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562  มีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรม และแสดงความวิตกต่อการวิสามัญฆาตกรรมดังกล่าว โดยได้อ้างว่า นายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้ค้ายาเสพติดและไม่มียาเสพติดไว้ในครอบครอง และมีพยานเห็นเหตุการณ์ว่าในระหว่างการจับกุมนายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้มีอาวุธปืน แต่อาวุธปืนนั้นถูกนำมาวางหลังจากนายจะจือ จะอ่อ ได้เสียชีวิตแล้ว จากกรณีดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการที่เจ้าหน้าที่รัฐสังหารบุคคลโดยไม่ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาล หรือเรียกว่าการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม (Extra-judicial Killing) […]

แนวทางปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านการใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายแร่ฉบับใหม่

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ การจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน มาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม และหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก ล้วนเป็นเนื้อหาใหม่ที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒[1] แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือ ‘กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ว่าจะต้องถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาตประทานบัตรสำหรับการทำเหมืองแร่ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รัฐมนตรี) เป็นผู้ออกประกาศร่วมกัน ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองและการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ก่อนด้วย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะหนักหรือสารพิษ และการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากสารเคมีหรือมลพิษที่เกิดจากการทำเหมืองของประชาชนในพื้นที่ก่อนและหลังการทำเหมืองด้วย นับว่าเป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างก้าวหน้าทีเดียวเมื่อเทียบกับกฎหมายแร่ฉบับเก่าหรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ถูกยกเลิกใช้บังคับไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะมีอัตราโทษเบาเกินไปเพียงแค่ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้ประกอบการที่ได้กำไรมหาศาลจากการประกอบกิจการเหมืองแร่และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ผลของมาตรา ๓๒ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องออกประกาศหลายฉบับ อาทิเช่น (๑) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๒) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๓) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษหรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๔) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอกสำหรับการทำเหมือง […]

คดีแม่ชัยภูมิ ป่าแสฟ้องเรียกค่าเสียหายกองทัพบก ศาลสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ศาลแพ่ง (ถ.รัชดาภิเษก) นัดชี้สองสถานในคดีระหว่าง นางนาปอย ป่าแส โดยนายไมตรี จำเริญสุขสกุล ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และ กองทัพบก จำเลย โดยฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 . ศาลมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพยานโจทก์ที่จะนำสืบทั้ง 9 ปาก มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด จึงจะต้องนำสืบพยานผ่านทางจอภาพ และโจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเงินค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นนั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการสืบพยานผ่านทางจอภาพ จึงมีเหตุจำเป็นที่จะส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และให้นัดพร้อมเพื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ทั้ง 9 ปาก ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กันยายน 2562 เวลา 09.00 น. . คดีนี้สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ บริเวณด่านตรวจบ้านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่าชัยภูมิมียาเสพติดไว้ในครอบครองกว่าสองพันเม็ด และมีพฤติการณ์จะขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ จึงเป็นเหตุต้องวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิในขณะนั้น . ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน […]

คู่มือประชาชน: เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs)

ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีเพศ อายุ ศาสนา หรือประกอบอาชีพใดก็ตามสามารถตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องปิดปากเพื่อให้ยุติการมีส่วนร่วมทางสังคม หรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้การยุติบทบาทการมีส่วนร่วม ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่อย่างตรงจุด อีกทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงได้จัดทำ คู่มือประชาชน เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) ฉบับนี้ขึ้น โดยเนื้อหาประกอบด้วย บทที่ 1 การฟ้องปิดปาก คืออะไร คำนิยาม วิธีตรวจสอบว่าคดีที่ถูกแจ้งความเป็นการฟ้องปิดปากหรือไม่ ความเสียหายและผลกระทบของคดีฟ้องปิดปาก บทที่ 2 วิธีป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องปิดปาก รู้สิทธิของตัวเอง พูดความจริง บทที่ 3 ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องปิดปาก  บทที่ 4 ร่วมพัฒนากลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก ข้อกังวลของกลไกป้องกันการฟ้องปิดปากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ร่วมสร้างกลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก     ดาวน์โหลด คู่มือฉบับย่อ คู่มือฉบับเต็ม

ใบแจ้งข่าวเรื่อง การส่งหนังสือเพื่อขอให้พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวนายอิสมะแอ หนิยุหนุ๊ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิง โดยมูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว

ใบแจ้งข่าว เรื่อง การส่งหนังสือเพื่อขอให้พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวนายอิสมะแอ หนิยุหนุ๊ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิง โดยมูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว                                                 ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ด้วยสมาคมฯ ได้รับแจ้งจากสมาชิกทนายความถึงปัญหาการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวในศาลจังหวัดนาทวี ของนายอิสมะแอ หรือดาแระ หนิยุหนุ๊  โดยนายอิสมะแอฯ ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลจังหวัดนาทวี  ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานวางเพลิงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๘ มูลเหตุคดีเกิดจากการประท้วงท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย เมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว และระหว่างประท้วงมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น                          มีชาวบ้านถูกฟ้องหลายคน โดยชาวบ้านที่ถูกฟ้องมาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่ในคดีนั้น มีการให้การว่า นายอิสมะแอมีส่วนร่วมในการชุมนุม เจ้าหน้าที่จึงยกคดีนี้ขึ้นมาดำเนินการอีกเนื่องจากคดีใกล้ขาดอายุความ เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด นายอิสมะแอได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนมาตลอด แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่คัดค้านการประกันตัว และตลอดกระบวนการในชั้นสอบสวนและพนักงานอัยการ นายอิสมะแอไม่ถูกควบคุมตัวและได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันตลอดมาและยืนยันให้การปฏิเสธและจะใช้สิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง แต่ทั้งที่นายอิสมะแอให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนและอัยการมาโดยตลอด ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นไม่มีประวัติการกระทำความผิดมาก่อน แต่เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนาทวีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ปรากฏว่าศาลจังหวัดนาทวีไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และทนายความได้ยื่นคำร้องถึง ๓ ครั้งก็ได้รับการปฏิเสธมาตลอด ดังนี้ ครั้งที่ ๑  ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินในราคาประเมินที่ดิน    ๗๖๒,๗๖๒  บาท  โดยศาลกำหนดวงเงินประกันตัวเป็นเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ […]