เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง”

อย่าง ไรก็ตามเมื่ออัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีความเห็นสำหรับสองคดีนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คดีนางหน่อเฮหมุ่ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยสรุปได้ว่า “การ ที่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุในลักษณะไร่หมุนเวียนมาก่อน ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ที่จำเลยสามารถเข้าทำประโยชน์ ได้ ดังที่เคยเข้าทำประโยชน์ในลักษณะทำไร่หมุนเวียนมาก่อน จึงเป็นกระทำโดยสำคัญผิดเข้าใจว่าสามารถเข้าไปแผ้วถางทำไร่ในที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้ความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยจะขาดเจตนา แต่ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ได้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องออกจากพื้นที่ดังกล่าว” ซึ่งตรงกันข้ามกับคดีนายดิ๊แปะโพ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับ สรุปความได้ว่า “เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้พ่อแม่จำเลยจะได้ทำกินมาก่อนเป็นเวลานาน ก็ไม่อาจตกทอดแก่จำเลยได้ และจำเลยจะอ้างความไม่รู้กฎหมายมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ อีกทั้งมติ ค.ร.ม. 30 มิถุนายน 2541 ที่ผ่อนผันให้ทำกินระหว่างรอการพิสูจน์สิทธิ์ก็ไม่ใช่กฎหมาย พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้จำคุก ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญามีกำหนด 1 ปี และให้จำเลยออกจากที่เกิดเหตุ” ซึ่ง คำพิพากษาของศาลที่ออกมาในลักษณะแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้เกิดความคลุมเครือในทางกฎหมาย และสิทธิของประชาชน เมื่อย้อนกลับไปดูคำพิพากษาศาลฎีกาเดิม ก็เคยได้วินิจฉัยคดีที่มีลักษณะเช่นนี้ไว้หลายคดีเช่นกัน เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 5663/2533ซึ่งพิพากษาว่า “พยาน หลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยรู้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนา ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 , 31 ซึ่งตรงกันข้ามกับคำพิพากษาฎีกาที่ 5278/2535 ซึ่งพิพากษาว่า “จำเลย ยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่ไม่ได้ยื่นแสดงสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ถือว่าสละสิทธิ์ การที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินต่อไปจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา14 , 31

ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงเช่นนี้ ในทางกฎหมายหรือสิทธิของประชาชน จะถือว่าผลตามคดีใดที่จะถือเป็นมาตรฐานให้คนในสังคมใช้ตรวจสอบตนเองว่าอย่าง ไรถูก อย่างไรผิด ทั้งนี้ภาคประชาสังคมจำเป็นต้องตระหนักว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยที่รัฐจะต้องแก้ไข เพราะปรากฏว่ามีประชาชนไทยทั้งประเทศ จำนวนมากกว่าล้านคน (ข้อมูลจากสถิติการลงทะเบียนคนจน พ.ศ. 2545) ที่ได้อาศัยอยู่และทำกินอยู่ในเขตป่าโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ สำหรับภาคเหนือในปี พ.ศ. 2554 เฉพาะชุมชนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จังหวัด ที่มีจำนวน 287 ชุมชน36,225 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 1,390,000 คน ครอบครองเนื้อที่รวมประมาณ 1,644169 ไร่ซึ่งเมื่อเอาคำพิพากษาข้างตนมาเทียบแล้ว สถานะของการถือครองที่ดินของประชาชนเหล่านี้ เสมือนอยู่ท่ามกลางเส้นสีเทา หรืออาจกล่าวได้ว่ายังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน หรือไม่มีหลักประกันได้ว่าตนเองอยู่ในฐานะผู้บุกรุกป่าซึ่งผิดกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น เมื่อใครถูกกล่าวหาว่าบุกรุกป่าและเจ้าหน้าที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ที่ตรงนั้นเป็นเขตป่าและจำเลยไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำเลยจะต้องพิสูจน์ตนเองเพียงใดหรืออย่างไรจึงจะพ้นผิด หรือไม่มีความจำเป็นเพราะถึงอย่างไรก็ถือว่าผิดกฎหมายอยู่แล้ว

หากเป็นกรณีที่จำเลยครอบครองอยู่หลังประกาศเป็นเขตป่า ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าผิดกฎหมาย แต่จากข้อเท็จจริงของทั้งสองคดีนี้ เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยครอบครองทำกินมาก่อน ที่ทางราชการจะได้ประกาศเป็นเขตป่า ในลักษณะทำไร่หมุนเวียน ตามวิถีของชนเผ่ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ก็ยังพิพากษาว่ามีความผิดตามนัยยะของคำพิพากษาฎีกาที่ 3322/2535 นั้น เท่ากับในทางกฎหมายยอมรับว่า การดำเนินการประกาศเขตป่าประเภทต่างๆ ตามกฎหมาย แม้ดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการ และไม่เป็นธรรม ก็ยังอยู่เหนือกว่าข้อเท็จจริงตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม (The Rule of Law) และสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 66 และ 67

นอก จากนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ต่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้ ต้องออกจากพื้นที่พิพาท ทำให้ชาวบ้านทั้งชุมชนกังวลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านแม่อมกิเกินกว่า90% มี อาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งสภาพการถือครองที่ดินและการเพาะปลูก ก็เป็นเช่นเดียวกับจำเลยทั้งสองคดีนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าหากยึดเอาคำพิพากษาส่วนนี้เป็นบรรทัดฐาน ไม่ว่ากรณีใดๆ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าทางราชการได้ประกาศให้เป็นเขตป่าแล้ว และรัฐไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ให้ ชาวบ้านเหล่านี้ก็ไม่มีสิทธิ์ ซึ่งผลในทางหลักการก็จะย้อนกลับไปเป็นโทษแก่ประชาชนคนไทยกว่า2ล้านคน ทีจะต้องออกจากที่ดินของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ที่มีจำนวนมากกว่า1.3ล้านคน

สมมติว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ของประไทย ซึ่งมีอยู่ 5 ฉบับ เป็นไปตามนัยยะของคำพิพากษาฎีกาที่ 3322/2535 และคดีนายดิ๊แปะโพ คนทั้งหมู่บ้านแม่อมกิ 457 คน , ทั้งตำบลแม่วะหลวง 6,8852 คน , ราษฎรมากกว่า 70% ของอำเภอท่าสองยาง , มากกว่า 1.3 ล้านคนของภาคเหนือ จะมีฐานะเป็นผู้บุกรุกป่า ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา …… และประเทศไทยก็จะมีอาชญากรมากกว่า ล้านคน

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง”