เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง” อย่าง ไรก็ตามเมื่ออัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีความเห็นสำหรับสองคดีนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คดีนางหน่อเฮหมุ่ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยสรุปได้ว่า “การ ที่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุในลักษณะไร่หมุนเวียนมาก่อน ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ที่จำเลยสามารถเข้าทำประโยชน์ […]