จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

กรณีล่ามโซ่นายชาลี ดียู ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย : สถานะของระเบียบกับรัฐธรรมนูญ โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

แม้การทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เป็นที่รับรู้ในหมู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมากนัก ทั้งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ได้รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าวซึ่งไทยเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้ให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเมื่อวัน ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นมา รูปแบบของการทรมาน การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจให้รับสารภาพด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่ทำให้ปรากฏร่องรอยตามร่างกายและไม่ปรากฏร่องรอยตามร่างกาย เช่น การใช้น้ำหยดลงบนศรีษะอยู่ตลอดเวลา การบังคับให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เป็นเวลานานจน กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น ยังมีรูปแบบอื่นที่ถือเป็นการทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษโดยย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การจำตรวนนักโทษไว้ตลอดเวลา การคุมขังอยู่ในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัย การไม่ได้รับการรักษาพยาบาล หรือการขังเดี่ยว เป็นต้น กรณีของนายชาลี ดียู ชาวพม่าซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการทำงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งมีสถานะเป็นแรงงานข้ามชาติมีสิทธิอาศัยชั่วคราวและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามกฎหมาย แต่เนื่องจากเอกสารสูญหาย จึงถูกควบคุมตัวและส่งไปรักษารักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่ได้ล่ามโซ่นายชาลีไว้โดยอ้างว่ามีระเบียบกำหนดไว้ และเกรงว่านายชาลีจะหลบหนี แม้ภายในห้องของโรงพยาบาลจะมีลูกกรงเหล็กซึ่งมีลักษณะเป็นที่คุมขังอยู่แล้ว ก็ตาม ต่อมามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้เข้าให้การช่วยเหลือและประสาน งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ปลดโซ่ที่ล่ามไว้กับเตียง […]