กรณีล่ามโซ่นายชาลี ดียู ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย : สถานะของระเบียบกับรัฐธรรมนูญ โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

กรณีล่ามโซ่นายชาลี ดียู ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย : สถานะของระเบียบกับรัฐธรรมนูญ โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

แม้การทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เป็นที่รับรู้ในหมู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมากนัก ทั้งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ได้รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าวซึ่งไทยเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้ให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเมื่อวัน ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นมา

รูปแบบของการทรมาน การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจให้รับสารภาพด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่ทำให้ปรากฏร่องรอยตามร่างกายและไม่ปรากฏร่องรอยตามร่างกาย เช่น การใช้น้ำหยดลงบนศรีษะอยู่ตลอดเวลา การบังคับให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เป็นเวลานานจน กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น ยังมีรูปแบบอื่นที่ถือเป็นการทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษโดยย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การจำตรวนนักโทษไว้ตลอดเวลา การคุมขังอยู่ในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัย การไม่ได้รับการรักษาพยาบาล หรือการขังเดี่ยว เป็นต้น

กรณีของนายชาลี ดียู ชาวพม่าซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการทำงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งมีสถานะเป็นแรงงานข้ามชาติมีสิทธิอาศัยชั่วคราวและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามกฎหมาย แต่เนื่องจากเอกสารสูญหาย จึงถูกควบคุมตัวและส่งไปรักษารักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่ได้ล่ามโซ่นายชาลีไว้โดยอ้างว่ามีระเบียบกำหนดไว้ และเกรงว่านายชาลีจะหลบหนี แม้ภายในห้องของโรงพยาบาลจะมีลูกกรงเหล็กซึ่งมีลักษณะเป็นที่คุมขังอยู่แล้ว ก็ตาม

ต่อมามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้เข้าให้การช่วยเหลือและประสาน งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ปลดโซ่ที่ล่ามไว้กับเตียง เพราะนายชาลีไม่อยู่ในสภาพที่จะหลบหนีได้และต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังต้องการใช้สิทธิเรียกร้องจากกองทุนเงินทดแทนด้วย ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงยอมปลดโซ่นายชาลี

แม้นายชาลีจะเป็นแรงงานข้ามชาติ มิได้ถือเป็น “ปวงชนชาวไทย” แต่ย่อมได้รับการคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์ เพราะรัฐธรรมนูญฯคุ้มครองสิทธิในชีวิตร่างกายและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน มิได้คุ้มครองเฉพาะประชาชนไทยเท่านั้น และข้อเท็จจริงยังปรากฏชัดว่านายชาลีไม่อยู่ในสภาพที่จะหลบหนีหรือทำอันตราย ต่อผู้ใดได้ การล่ามโซ่จึงเป็นมาตรการและการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นมาตรการที่เกินจำเป็น ขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ;

การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายโดยอ้างถึงระเบียบหรือ แนวปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นไปในทางจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีฐานะเหนือกว่าหลักการพื้น ฐานการคุ้มครองปกป้องสิทธิรัฐตามธรรมนูญ โดยการตีความและการบังคับใช้กฎหมายลำดับรองเป็นไปที่ไม่ต้องคอยสำรวจตรวจตรา ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เท่ากับว่าการใช้และการตีความกฎหมายถูกทำให้เป็นอิสระจากเจตนารมณ์แห่งรัฐ ธรรมนูญ ก่อให้เกิดปัญหาการใช้และการตีความกฎหมายที่ลักลั่น ไม่สอดคล้องกันทั้งระบบ และเป็น “อัตวิสัย” ของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่มีอำนาจตีความและบังคับใช้กฎหมาย

ลักษณะดังกล่าวข้างต้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การกระทำในลักษณะดังกล่าว ไม่เฉพาะกรณีของนายชาลี ดียู แรงงานข้ามชาติชาวพม่าเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาอย่างมากในสังคมไทย ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญยังมิได้ถูกนำมาบังคับใช้หรืออ้างอิงก็มิพักต้องเอ่ยถึงหลัก การหรือการปฏิบัติตามอนุสัญญาหรือกติการะหว่างประเทศใดๆ อีกต่อไป

ท้ายที่สุด หากเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมยังใช้และตีความ กฎหมายลำดับรองโดยไม่คำนึงถึงหลักการต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ แล้ว รัฐธรรมนูญคงเป็นเพียงกฎหมายสูงสุดที่อยู่บนพานและมีสถานะด้อยกว่ากฎหมาย ลำดับรอง ระเบียบหรือแนวปฏิบัติต่างๆ ในแง่การบังคับใช้

ในทางกลับกันหากการบังคับใช้กฎหมายที่คำนึงถึงหลักการต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญประกอบการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมทำให้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบมากขึ้น เป็นลำดับ