คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เรียกร้องสถาบันตุลาการย่อมอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชน

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะสถาบันที่ใช้อำนาจตุลาการ หนึ่งในอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย เผยแพร่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับแต่มีการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศ คำสั่ง และกฎหมายที่จำกัดลิดรอน ตลอดจนละเมิดสิทธิประชาชนจำนวนมาก และเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่ารัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้ คสช. พยายามอาศัยอำนาจศาล ผลักภาระให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งต่างๆ ออกมาในทางจำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน รูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ในหลายกรณีพนักงาสอบสวนสามารถใช้ดุลพินิจปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีประกันได้ แต่พนักงานสอบสวนกลับเลือกที่จะใช้ดุลพินิจนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาล อันเป็นการผลักภาระให้ศาล รวมถึงเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนที่จะต้องหาหลักประกันมายื่นต่อศาลเพื่อให้ตนเองได้รับอิสรภาพระหว่างการสอบสวนและต่อสู้คดี หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยอำนาจศาลในการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ให้ประชาชนต้องปฏิบัติตาม โดยมีความมุ่งหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทหารซึ่งครองอำนาจมาเกือบสี่ปีแล้ว รวมถึงเรียกร้องสิทธิและการมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเอาผิดดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก และขั้นตอนอันดับแรกที่ถือได้ว่าเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือโดยมีเจตนาเพื่อสร้างภาระให้กับประชาชน คือการนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงมีความห่วงกังวลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตให้ฝากขังของศาล ตลอดจนดุลพินิจในการกำหนดวงเงินประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตลอดจนข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2548 ซึ่งให้ศาลใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก และการเรียกหลักประกันให้เป็นไปตามความเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งพึงได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ได้เข้าถึงความยุติธรรมและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ แต่บางกรณีมีข้อมูลปรากฏว่าศาลบางแห่งกลับใช้ดุลพินิจในการกำหนดวงเงินประกันตัวสูงกว่าที่ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ให้อำนาจไว้ นอกจากนี้กรณีที่ใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน ศาลส่วนใหญ่กลับวางแนวปฏิบัติว่าผู้ใช้ตำแหน่งประกันตัวต้องเป็นบิดา มารดา หรือญาติพี่น้องของผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งที่โดยความเป็นมนุษย์แล้วมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น แต่แนวปฏิบัติส่วนใหญ่ของศาลกลับปฏิเสธไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ซึ่งกรณีดังกล่าวผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นช่องทางหรือโอกาสที่เท่าเทียมให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนหรือไม่ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอจะประกันตัวสามารถได้รับการปล่อยชั่วคราวได้ ดังนั้น […]

ศาลอุทธรณ์เลื่อนอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 3 คดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหาร เหตุพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ

31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ศาลแขวงปทุมวัน ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 บรรยากาศในศาลวันนี้ เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังค์คอยถามคนที่เข้ามาในห้องพิจารณาว่าเป็นใคร มาจากไหน เกี่ยวข้องกับคดียังไง ถ้าบอกว่าเกี่ยวข้องกับฝ่ายจำเลย เจ้าหน้าก็จะให้ไปนั่งฝั่งเดียวกับจำเลย ทำให้ผู้ที่เข้ามาให้กำลังใจหรือมาสังเกตการณ์ต้องนั่วเบียดเสียดกัน ทั้งที่ที่นั่งอีกฝั่งค่อนข้างว่าง ผู้พิพากษาศาลแขวงออกนั่งบัลลังค์เวลาประมาณ 10.00 น. และได้แจ้งแก่นายอภิชาตและทนายความว่า ศาลอุทธรณ์ให้เลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา […]