SLAPPs

Protecting Public Protest: The case of SLAPP Lawsuit

SLAPP cases in Thailand are typically employed by government officials and the private sector utilising both civil and criminal cases. Criminal defamation can result in punishment of 2 years imprisonment and a 100,000 baht fine. Sedition cases caring a punishment of 6 years imprisonment and a 200,000 baht fine. Other SLAPP charges including disrupting public order, trespassing, falsifying information and perjury have also has been used. 

สถานการณ์ฟ้องคดีปิดปากต่อนักปกป้องสิทธิชุมชนกับความคืบหน้าแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

จากวงเสวนาเรื่อง “สถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (ร่าง NAP)” โดยมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนร่วมองค์กรเครือข่าย ที่โรงแรมมิโด โฮเทล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 เพื่ออัพเดทสถานการณ์ทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยโดยเฉพาะในประเด็นด้านที่ดินและฐานทรัพยากรธรรมชาติ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และบรรษัทข้ามชาติและการลงทุนข้ามพรมแดน

คดีนักข่าว Voice TV ถูกบริษัทฟาร์มไก่ฟ้องหมิ่นประมาท กรณีทวิตข้อความเกี่ยวกับคดีแรงงานฟาร์มไก่ 14 คน

คดีนี้เป็นคดีที่นางสาวสุชาณี รุ่งเหมือนพร หรือ นางสุชาณี คลัวเทอ นักข่าวถูก บริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.118/2562 ต่อศาลจังหวัดลพบุรี ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดยมีมูลเหตุมาจากในระหว่างที่นางสาวสุชาณีฯ เป็นนักข่าวอยู่สำนักข่าว Voice TV และได้เผยแพร่ข้อความเพื่อประกาศข่าวสารในทวิตเตอร์ โดยเผยแพร่ข้อความต่อจากนายอานดี้ ฮอลล์ อดีตที่ปรึกษาเครือข่ายด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ในวันที่ 14 กันยายน 2560

กรณีนายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องหมิ่นประมาท

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 2 คดี ณ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากการตรวจสอบและปกป้องพื้นที่สาธารณะ “ดอนคำพวง” และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนปากมูลที่เรื้อรังมานาน คดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,หมิ่นประมาท และคดีที่สองเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 99/2562 ในข้อหาหมิ่นประมาท

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท เผยแพร่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 วันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในคดี บริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากับ นางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 Summary bullet point ● ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูกบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ● มูลเหตุคดีสืบเนื่องจาก นางสาวสุธารีได้เผยแพร่คลิปจากยูทูปซึ่งเป็นคลิปสัมภาษณ์อดีตลูกจ้างของบริษัทธรรมเกษตรฯซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ สัญชาติเมียนมาร์ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน ● บริษัทธรรมเกษตร จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ต่อ อดีตลูกจ้างของตนเอง แรงงานข้ามชาติ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว ที่สื่อสารประเด็นการละเมิดสิทธิต่อสาธารณะมาตั้งแต่ปี […]

คู่มือประชาชน: เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs)

ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีเพศ อายุ ศาสนา หรือประกอบอาชีพใดก็ตามสามารถตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องปิดปากเพื่อให้ยุติการมีส่วนร่วมทางสังคม หรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้การยุติบทบาทการมีส่วนร่วม ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่อย่างตรงจุด อีกทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงได้จัดทำ คู่มือประชาชน เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) ฉบับนี้ขึ้น โดยเนื้อหาประกอบด้วย บทที่ 1 การฟ้องปิดปาก คืออะไร คำนิยาม วิธีตรวจสอบว่าคดีที่ถูกแจ้งความเป็นการฟ้องปิดปากหรือไม่ ความเสียหายและผลกระทบของคดีฟ้องปิดปาก บทที่ 2 วิธีป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องปิดปาก รู้สิทธิของตัวเอง พูดความจริง บทที่ 3 ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องปิดปาก  บทที่ 4 ร่วมพัฒนากลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก ข้อกังวลของกลไกป้องกันการฟ้องปิดปากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ร่วมสร้างกลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก     ดาวน์โหลด คู่มือฉบับย่อ คู่มือฉบับเต็ม

แถลงการณ์ : ให้ทบทวนและยุติการดำเนินคดีแอดมินเพจและบุคคล 12 ราย กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศต่อนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า

ด้วยปรากฏรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มีการออกหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และคนแชร์ข้อมูลจากเพจดังกล่าวอีก 12 ราย ตามหมายจับศาลจังหวัดเกาะสมุย ที่ 65-77 /2561 ลงวันที่ 3 กันยายน 2561 ในฐานความผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ทำการไล่จับกุมบุคคลตามหมายจับดังกล่าวไปแล้ว 9 ราย และคาดว่าจะมีการนำส่งพนักงานสอบสวน สภ. เกาะสมุยภายในวันนี้ มูลเหตุที่นำมาสู่การถูกออกหมายจับ เนื่องจากเพจ CSI LA ได้เผยแพร่ข้อความที่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 เกี่ยวกับกรณีหญิงสาวอายุ 19 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ถูกข่มขืน ที่หาดทรายรี ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ระบุว่ากระแสข่าวดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ พร้อมทั้งระบุว่าจะมีการดำเนินคดีกับเพจคือ เพจสมุยไทม์ […]

1 2