SLAPP

วิชาชีพทนาย: ผู้ใช้กฎหมายรักษาความยุติธรรมกับการตกเป็นเป้าหมายในการฟ้องกลั่นเเกล้ง

กรณีนายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ ถูกนายทุนที่ดินใน จังหวัดลำพูนแจ้งความดำเนินคดี ฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ พร้อมกับชาวบ้านบ้านสันตับเต่า อีก 2 ราย ข้อหาเบิกความเท็จ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พยานหลักฐานที่นายทุนกล่าวหายังไม่มีน้ำหนักที่จะสามารถส่งฟ้องได้ นัดครั้งที่ผ่านมาจึงถือเป็นนัดเรียกพบ โดยกำหนดนัดครั้งต่อไปคือวันที่ 15 มีนาคม 2562 ต่อมาวันนี้ (14 มีนาคม 62) พนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน แจ้งมายังทนายสุมิตรชัยว่า สำนวนคดีเบิกความเท็จและนำสืบพยานเท็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐาน ของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน ดังนั้นการนัดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในวันที่ 15 มีนาคม 2562 นี้ จึงขอเลื่อนการแจ้งข้อกล่าวหาไปไม่มีกำหนด (ข้อมูลจาก Facebook ศูนย์ข้อมูลพิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ข้อสังเกตต่อกรณี การเเจ้งความดำเนินคดีกับทนายสุมิตรชัย ในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ เเละชาวบ้าน 2 ราย ข้อหาว่าความเท็จ กรณีดังกล่าวนี้สามารถบอกอะไรกับสังคมได้พอสมควร  ประการแรก กรณีที่นายทุนที่ดิน ผู้เข้าเเจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สภ.เมืองลำพูน […]

เส้นทาง “เดิน..เทใจให้เทพา” ภายใต้กฎหมายชุมนุมสาธารณะ

เราจะไปยื่นหนังสือต่อนายก ปกป้องบ้านของเรา เราเดินกันไปอย่างสงบ แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้  ผมมาเดินตั้งแต่วันแรก ไม่เคยคิดว่าจะโดยจับ จำเลยหมายเลข 13 เจ้าหน้าที่ประกบผมสามคน เขาจับแขนผม บอกว่าขอเชิญตัว ผมบอกว่า ผมบอกว่าผมขอเดินไปเอง เขาให้ผมไปขึ้นรถตู้ ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรผมเลย จำเลยหมายเลข 1 ในทางหลักการแล้ว เราถือว่าเสรีภาพในการชุมนุม  เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย เพราะหลักการพื้นฐานประการหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยคือ หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งเสรีภาพในการชุมนุมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองและนโยบายสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นไปยังตัวแทน และยังเปิดพื้นที่ในถกเถียงแลกเปลี่ยน การโน้มน้าวจิตใจของผู้คนในสังคมให้มีเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านข้อเสนอของตน และที่สำคัญเสรีภาพในการชุมนุมยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองของประชาชนคนด้อยอำนาจเพื่อให้เข้าถึงสิทธิทางการเมือง เข้าทรัพยากร และเข้าถึงสิทธิเสรีภาพอื่นๆอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในมุมมองของรัฐที่ไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยและค่อนไปทางอำนาจนิยม มักจะมองว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเป็นการก่อความวุ่นวาย ทำให้เกิดความไม่สงบ และเป็นพวกไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง รัฐจึงต้องหาวิธีจัดการ เสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and  Political Rights (ICCPR)) ข้อ 21 ที่ระบุว่า “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดยทันที

เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2561 ตามที่กลุ่มประชาชนในนาม “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ได้มีการจัดการชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการรัฐประหารของ คสช. เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปลายปี 2561 และให้ คสช. หยุดสืบทอดอำนาจ การชุมนุมเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 และมีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 แต่ได้ถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าตำรวจหลายกองร้อยทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ และในที่สุดช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการจับกุมแกนนำการชุมนุมและผู้ชุมนุม และแกนนำบางส่วนตัดสินใจเข้ามอบตัว รวมแล้วมีผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 14 คน โดยถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และสถานีตำรวจนครบาลพญาไทนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว และมีความเห็นว่าการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองของประชาชน และเป็นเรื่องที่ชอบธรรมในสังคมที่เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย โดยสิทธิประการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น รัฐควรที่จะเคารพสิทธิที่จะแสดงออกถึงเจตจำนงอย่างเสรีของประชาชน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และผู้ที่แสดงออกถึงเจตจำนงดังกล่าวไม่ควรถูกดำเนินคดี การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และอยู่ในขอบข่ายของการชุมนุมโดยสงบตามที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 34 และ 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย […]

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

การคุกคามผู้ทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือที่เรียกว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” คือการทำลายระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากการกระทำนั้นเป็นการดำเนินการโดยรัฐ แสดงว่ารัฐนั้นกำลังไม่ปฏิบติตามหน้าที่ในการที่จะเคารพ ปกครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ให้ดำเนินคดีกับ นายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ สามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ โดยกล่าวหาว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้ ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ และนำเอกสารรายงานฯ ดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ https://voicefromthais.wordpress.com/ ทั้งนี้ ทั้งสามคนจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 มิถุนายน 2559 นี้ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อสู้คดีตามกระบวนการต่อไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีกับสามนักสิทธิมนุษยชนมีความไม่ถูกต้องในหลายประการ ซึ่งหากปล่อยให้การดำเนินคดีลักษณะยังคงอยู่ต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องสิทธิอีกหลายคนในอนาคต โดย สุมิตรชัย หัตถสาร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความเห็นถึงความไม่ถูกต้องในการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามในหลายประการ […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ จากกรณีที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสารและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับนายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากการเผยแพร่ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2557-2558” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่าน โดยทั้งสามจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ปัตตานี ตามหมายเรียกในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 นี้ (วันพรุ่งนี้) ซึ่งองค์กรสิทธิฯที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ขอให้กำลังใจกับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามคน และมีความเห็นต่อกรณีการแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว ต่อไปนี้ ประการแรก การจัดทำรายงานเป็นไปตามหลักวิชาการและมีมาตรฐาน กล่าวคือ การจัดทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558 เป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย หลายภาคส่วน โดยมีกระบวนการดำเนินการที่เป็นวิชาการภายใต้หลักการสากลที่เรียกว่า “Istanbul Protocol” ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nation Fund for […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ แต่การรณรงค์ก่อนประชามติกลับเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากการแสดงออกในทางโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้รัฐบาล คสช. ได้บังคับใช้มาตรา 61 วรรคสองพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 และข้อ 12. ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 อย่างกว้างขวางเพื่อปิดกั้นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ซึ่งการจับกุมนักกิจกรรม นักศึกษาและผู้สื่อข่าวรวม 5 รายที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน องค์กรสิทธิฯ นักกฎหมาย ทนายความและนักกิจกรรมที่มีรายชื่อปรากฏท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลต่อสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. เสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ เสรีภาพในการแสดงออก เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีภาพดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ และนำมาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองดังที่ คสช. กล่าวอ้างเป็นเหตุในการเข้ายึดอำนาจ […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม “ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ […]

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]

ข้อวิพากษ์ทางกฎหมาย เบื้องต้น ต่อกรณีคำพิพากษาฎีกาจำคุก 4 เดือน แกนนำผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดย สุรชัย ตรงงาม

คดีนี้ ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นหัวหน้าคณะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี การคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ของสภาทนายความ ติดตามข้อมูล ร่วมสอบข้อเท็จจริง กับหน่อย จินตนา แก้วขาว ตั้งแต่ปี 2544 แต่มิได้เป็นทนายความ ว่าความในคดีนี้โดยตรงครับ แต่ขอเสนอข้อเท็จจริงจากสำนวนและความเห็นทางกฎหมายดังนี้ คดีนี้อัยการฟ้องว่า จิตนาแก้วขาว มีความผิดในข้อหาบุกรุก โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปศาลชั้นต้น ยกฟ้องไม่เชื่อพยานโจทก์ โดยอ้างอิง ถึงเจตนาการใช้สิทธิของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้คนดีถูกรังแกโดยใช้กลไกตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เพราะเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชื่อถือ การเบิกความในศาลที่แตกต่างจากชั้นสอบสวนอาจเป็นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลจินตนา ศาลฎีกา พิพากษาลดโทษจำคุก 4 เดือน เพราะเข้ามอบตัว โดยไม่รอลงอาญา โดยศาลเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชิ่อถือ เหมือนศาลอุทธรณ์ ส่วนประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกา ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตุใหญ่ๆอย่างน้อย 2 ข้อ 1 ประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกานั้น ศาลฎีกา ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างชัดแจ้งว่า ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย อย่างไร เช่น นอกประเด็น […]

1 2 3