สิทธิในการชุมนุม

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

    ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ […]