สภาทนายความ

แถลงการณ์ เรียกร้องสภาทนายความแสดงบทบาทในการพิทักษ์ความเป็นอิสระแห่งวิชาชีพ

แถลงการณ์ เนื่องในวันทนายความ สภาทนายความต้องแสดงบทบาทอย่างเข็มแข็งในการพิทักษ์ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของทนายความ รวมทั้งร่วมปกป้องหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา พบว่ามีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติเพื่อจัดการกับผู้เคลื่อนไหวที่เห็นต่างจากคณะรัฐประหาร หรือจัดการกับชาวบ้านหรือบุคคลที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วม เรียกร้องและตรวจสอบรัฐ โดยมีการเลือกใช้กฎหมายหรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร อาทิ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ หรืออื่นๆ เพื่อจัดการกับประชาชนที่ไม่ยอมเชื่อฟัง และที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความเป็นธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้การบังคับใช้กฏหมายค่อนข้างเป็นไปโดยอำเภอใจและไร้เหตุผลที่ถูกต้อง ดังเราจะเห็นการเรียกคนเข้าค่ายทหารหรือสถานีตำรวจโดยปราศจากความผิด การตั้งข้อหาแปลกประหลาดพิศดารเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ ร้ายกว่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีทนายความอย่างน้อย 2 รายเท่าที่เรามีข้อมูล ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี คือ กรณีทนายเบญจรัตน์ มีเทียน ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีโดยเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อตอบโต้กลับจากการที่เธอได้รับมอบอำนาจจากลูกความซึ่งตกเป็นจำเลยในกรณี “ขอนแก่นโมเดล” ให้แจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารเหล่านั้ และกรณีทนายศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความให้กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งเธอถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ […]